วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีการเลือกตั้งเป็นโมฆะ







บทความนี้สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว คือบทความเรือง ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ยื่นการเลือกตั้งเป็นโมฆะต่อศาลหรือไม่ ?

ซึ่งพวกนักวิชาการแดงจะบอกว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจยื่นเรื่องนี้ตามรธน. มาตรา 245

เพราะการจัดการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ใช่ส่วนของกฎหมาย ซึ่งถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า กกต. ดำเนินการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินก็ต้องไปยื่นเรื่องนี้ที่ศาลปกครอง ไม่ใช่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ


ผมจึงขออธิบายความเพิ่มเติมอีกนิดต่อจากบทความที่แล้ว

"ผมมองว่า กกต. ชุดนี้ได้จัดการเลือกตั้งครั้งนี้ตามหน้าที่ดีแล้ว เพียงแต่เกิดปัญหาที่ทำให้จัดการเลือกตั้งภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรไม่ได้

ซึ่งผมมองว่า นี่คืออีกช่องทางที่ผู้ตรวจการแผ่นดินทำได้คือ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ.57 จะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์

การเลือกตั้ง กับ พระราชกฤษฎีการเลือกตั้ง เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ เพราะมีผลสืบเนื่องกัน

เพราะผลของการเลือกตั้งคือ การรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งต้องถูกต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสมบูรณ์ทุกขั้นตอนก่อน ถึงจะรับรองสมาชิกภาพ ของ สส. ได้

เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปถูกจัดขึ้นไม่สมบูรณ์ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงส่งผลให้พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไป จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย

นี่คือการคิดแบบซับซ้อนขึ้น ซึ่งพวกนักกฎหมายสมองธรรมดา ๆ อย่างพวกนักกฎหมายแดงมักจะไม่ค่อยยอมจะเข้าใจง่าย ๆ  ครับ

เพราะนักกฎหมายสมองธรรมดา จะตีความพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง 2ก.พ. ว่า ได้ออกมาสมบูรณ์แล้ว

จำไว้นะครับ พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไป จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปเสร็จสิ้นไปแล้วด้วย นี่คือสิ่งที่ศาล รธน. อยากจะบอก

ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายทั่วไป ถ้ามีผู้กระทำผิดกฎหมายนั้นๆ ก็เอาผิดกับผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่กฎหมายนั้นๆ ก็ยังบังคับใช้ได้ต่อไป

แต่กรณีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไป แตกต่างจากกฎหมายทั่วไป คือ

ถ้าจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องไปยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งทั่วไปฉบับนั้นลงไปด้วย เพื่อให้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ขึ้นแทน!!

การเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ เป็นผลให้พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งฉบับนั้นต้องเป็นโมฆะด้วย

เพราะถ้าไม่ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาวันเลือกตั้งเก่าให้โมฆะไป ก็จะไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ เพราะจะเกิดการซ้ำซ้อนกัน

---------------------

ซึ่งคำอธิบายของผม ก็ตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถึงเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถรับเรื่องนี้จากผู้ตรวจการแผ่นดินมาพิจารณาได้ ตามรูปนี้





ส่วนเนื้อหาคำตัดสินการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะ ไปอ่านได้ที่ข่าวนี้


http://www.thairath.co.th/content/pol/412314







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น