วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560

บทบาทของหลวงศุภชลาศัยช่วงปฏิวัติ กับการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ





พระตำหนักวินด์เซอร์ แต่ชาวไทยสมัยนั้นมักจะเรียกว่า “วังใหม่” หรือ “วังกลางทุ่ง” เสียมากกว่า จนกลายเป็นชื่อตำบลวังใหม่ ในเวลาต่อมา


เป็นที่กังขาและสงสัยมานานกว่า 80 ปี ในหมู่ประชาชนในยุคนี้ว่า

ทำไมรัฐบาลของพวกคณะราษฎร อย่าง รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยหลวงศุภชลาศัย ถึงได้สั่งทุบวังประทุมวัน หรืออีกชื่อคือวังวินด์เซอร์ ทิ้งเพื่อสร้างสนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้นมาแทนได้ ?

ไอ้คนสั่งทุบ พวกมันคิดได้ไงวะ ?

ทั้ง ๆ ที่เมื่อพ.ศ. 2479 ปีที่รัฐบาลจอมพล ป. สั่งรื้อพระราชวังวินด์เซอร์ที่มีเนื้อที่โดยรอบวังประมาณ 1,000 ไร่นั้น ซึ่งโดยรอบวังวินเซอร์ ส่วนใหญ่เป็นทุ่งว่างเปล่าที่สามารถสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติที่มีเนื้อที่แค่ 114 ไร่ ได้อย่างสบาย ๆ (ปัจจุบันเหลือ 77 ไร่) โดยไม่ต้องทุบพระราชวังวินเซอร์ทิ้งเลยด้วยซ้ำ ทำให้ต้องเสียงบประมาณสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และต้องเสียพระราชวังที่สวยงามที่ควรจะอยู่คู่กับประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ช่างน่าเสียดายจริง ๆ

ไอ้คนสั่งทุบ พวกมันคิดได้ไงวะ ?

วังวินเซอร์ รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างขึ้นเพื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารืพระองค์แรกแห่งสยามประเทศ จึงสร้างด้วยวัสดุชั้นดีระดับเดียวหรือใกล้เคียงกับพระที่นั่งอนันตสมาคม แม้พระองค์จะไม่เคยจะเสด็จมาประทับเพราะสิ้นพระชนม์ไปก่อน แต่วังวินด์เซอร์ก็ถือว่ามีคุณค่าทางศิลปะและประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้พอสมควร

ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานวังวินด์เซอร์และที่ดินโดยรอบยกให้เป็นกรรมสิทธิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระตำหนักวินด์เซอร์ ก็ได้กลายเป็นตึกสำหรับการเรียนหลายคณะของจุฬาฯ

หากวังวินด์เซอร์ที่แสนสวยงามยังอยู่มาจนวันนี้ คงจะตั้งตระหง่านอย่างสง่าที่บริเวณแยกปทุมวันให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและชื่นชม แต่กลับต้องถูกทุบทิ้งลงจากคำสั่งบัดซบของคณะบุคคลที่ชื่อว่า คณะราษฎร เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้สวยงามอะไรเลยมาแทนที่

ไอ้คนสั่งทุบ พวกมันคิดได้ไงวะ ?

คงไม่มีใครเขาคัดค้านการสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติและสนามกีฬาแห่งชาติหรอกครับ แต่คนเขาสงสัยกันว่าที่ว่างแถวนั้นมีมากมายเหลือเฟือ ดันไม่คิดไปสร้างสนามกีฬา ดันเจาะจงจะต้องมาทุบวังวินเซอร์ทิ้งซะนี่

แบบนี้เขาเรียกพวกคนพาลสันดานหยาบเท่านั้นที่คิดได้ แม้แต่นิสิตจุฬาฯ ในสมัยนั้นก็ร่วมคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล

รูปสนามศุภชลาศัยในยุคแรกหลัง พ.ศ. 2500  ดูเหมือนจะมีอัฒจันทร์ไม่ครบทุกฝั่ง ดูไม่สวยงามอะไรเลย เฉกเช่นทุบปราสาทมาทำสนามฟุตบอล !


พื้นที่ให้เช่าของจุฬาฯ ปัจจุบันประกอบด้วย
- พื้นที่เขตพาณิชย์ บริเวณสยามแสควร์ และบริเวณก่อสร้างห้างสรรพสินค้าใหญ่  รวมพื้นที่ 385 ไร่
- พื้นที่ให้ราชการยืมและเช่าใช้ ส่วนนี้มีการใช้พื้นที่ไปทั้งสิ้น 131 ไร่

----------------------

หลวงศุภชลาศัย คือผู้ส่งหนังสือคณะราษฎรข่มขู่รัชกาลที่ 7 ทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนคร

วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อการปฏิวัติสำเร็จลงเรียบร้อยแล้ว คณะราษฎรมีคำสั่งให้นาวาตรีหลวงศุภชลาศัย (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็น 1 ในคณะราษฎร นำเรือรบหลวงสุโขทัยออกจากบางนาเดินทางไปพระราชวังไกลกังวล หัวหิน โดยด่วน เพื่ออัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัติคืนสู่พระนคร

รูปเรือรบหลวงสุโขทัย


ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าภารกิจของนาวาเอกหลวงศุภชลาศัยที่เขียนไว้ในหนังสือ " ประชาธิปไตย ๔๒ ปี " ที่ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันปฏิวัติครั้งนั้นด้วยความภาคภูมิใจ !? (ภูมิใจพ่องสิ)  ดังนี้

หลังจาก ร.ล. สุโขทัย จอดทอดสมอที่หัวหิน ทหารเรือประจำเรือโบตได้เข้าประจำที่พร้อมแล้ว เพื่อกรรเชียงนำทีมของเราไปถึงชายหาดเบื้องหน้านั้น และก่อนที่ข้าพเจ้าและคณะจะก้าวลงไป ข้าพเจ้าได้เรียกประชุมนายทหาร ประกาศสั่งการไว้ว่า

 " ณ เบื้องหน้าที่ชายหาดหน้าพระราชวังนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าว่าจะมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าและทีมที่ไป ดังนั้นในทันทีที่ข้าพเจ้าหากเป็นอันตรายด้วยการถูกยิง ถูกจับ หรือถูกอะไรก็ตาม อันมิใช่เป็นการปรากฏการณ์ของผู้ที่จะนำสาส์นของผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารและการอัญเชิญเสด็จนิวัติแล้ว ข้าพเจ้าจะโยนหมวกขึ้นสู่เบื้องบนเป็นสัญญาณ ดังนั้นต้นปืนจะต้องส่องกล้องจับตาดูข้าพเจ้าตลอดเวลา หากได้เห็นหมวกของข้าพเจ้าถูกโยนขึ้นเบื้องสูงเหนือศีรษะแล้ว ให้ต้นปืนสั่งการแก่ปืนใหญ่ทุกกระบอกในเรือให้หันเข้าซัลโวพระราชวังไกลกังวลทันที

นี่เป็นก้าวแรกเมื่อข้าพเจ้าและคณะได้เหยียบขึ้นถึงทรายเม็ดแรกของชายหาดเบื้องหน้าพระราชวังนั้นแล้ว ในระยะที่สองคือ เมื่อข้าพเจ้าผ่านเขตอันตรายเข้าไปเฝ้าถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โดยสวัสดิภาพแล้ว หากเวลาได้ผ่านเลย ๑๒ น. ไปแล้วแม้เพียงวินาทีเดียว ข้าพเจ้ายังไม่นั่งเรือโบตกลับมาถึงเรือ ให้ปืนใหญ่หัวเรือระดมยิงสถานีหนองแกทิศใต้พระราชวัง และให้ปืนท้ายทลายชะอำด้านเหนือและปืนกราบอีกสองกระบอก ให้ซัลโวตัวพระราชวังไกลกังวลอย่างเต็มเหวี่ยง มิพักต้องคำนึงถึงข้าพเจ้าและคณะแต่ประการใด คำสั่งอันนี้ของข้าพเจ้าเป็นคำสั่งเด็ดขาด อาณัติสัญญาณก็ดี เวลาก็ดี ต้นปืนจะต้องปฏิบัติตามนี้โดยเคร่งครัด"


เฮ่อ.. คิดได้นะ ถ้าตนเองยังไม่กลับมาแม้เพียงแค่วินาทีเดียว ก็สั่งให้ทหารระดมยิงใส่พระราชวังไกลกังวลแบบไม่ยั้งทันที

เอาเถอะ กระทำการปฏิวัติมันต้องเหี้ยมไว้ก่อน แต่ผลที่ตามมาจนถึงรุ่นลูกหลานเขาจะระดมด่าพวกท่านเอง

ส่วนหนังสือข่มขู่รัชกาลที่ 7 ของคณะราษฎร ที่หลวงศุภชลาศัยนำไปทูลเกล้าฯ ถวายแก่รัชกาลที่ 7  เพื่อทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนคร มีเนื้อหาบัดซบดังนี้

“พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้วยคณะราษฎร ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินไว้ได้แล้ว และได้เชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ มีสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น ไว้เป็นประกัน

ถ้าหากคณะราษฎรนี้ถูกทำร้ายด้วยประการใด ๆ ก็จะต้องทำร้ายเจ้านายที่คุมไว้เป็นการตอบแทน

คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันใหญ่ยิ่งก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปโดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน 1 ชั่วนาฬิกา นับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรก็จะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
พ.อ.พระยาทรงสุรเดช
พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์”

แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธที่จะเสด็จกลับพระนครโดยเรือรบหลวงสุโขทัยด้วยเหตุผล “เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าถูกเขาจับไป” ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ต้องรักษาไว้ให้ “เป็นการสมพระเกียรติยศ” ในฐานะพระมหากษัตริย์

โดยวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับถึงพระนครโดยรถไฟขบวนพิเศษ

-------------------



ในปี พ.ศ. 2478 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้น มีดำริที่จะก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้น และได้พิจารณาที่ดินทำสัญญาเช่า ณ ตำบลวังใหม่จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรื้อถอนพระตำหนักวินด์เซอร์ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างโดยรอบออก

ซึ่งการก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติเสร็จสิ้นและได้ย้ายสถานทำการของโรงเรียนพลศึกษากลางและกรมพลศึกษามายังสถานที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2481

มีพวกร่านบางคนโชว์โง่บอกว่า ชื่อ สนามศุภชลาศัยฯ เป็นแค่ชื่อเล่นเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อจริงหรือชื่ออย่างเป็นทางการของสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้ง ๆ ที่ความจริง ชื่อ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ คิอชื่ออย่างเป็นทางการนานแล้วครับ

เพราะเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษา(ในสมัยที่หลวงศุภชลาศัย ยังเป็นใหญ่ในรัฐบาล) ได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็น "สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบันนิยมเรียกสั้นๆ เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือสนามกีฬาแห่งชาติ

รูปด้านหน้าสนามศุภชลาศัย จะมีชื่อ ศุภชลาศัย ติดอยู่



----------------------


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระตำหนักวินด์เซอร์ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร  ที่บริเวณแยกปทุมวันเพื่อให้ใกล้กับวังสระปทุมของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ผู้เป็นสมเด็จพระชนนี (หรือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

ด้วยความอาลัยของแม่ที่ต้องสูญเสียพระโอรสไป ดังนั้นวังวินด์เซอร์ก็เปรียบเสมือนเป็นอนุสรณ์ของพระโอรส เมื่อแม่มองไปไกล ๆ ได้เห็นหลังคาวังก็ทำให้คลายความคิดถึงลงได้บ้าง

แต่เมื่อรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ยืนยันจะทุบวังวินด์เซอร์ให้ได้เช่นนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็ทรงทำได้เพียงประทับอยู่ที่เฉลียงวังสระปทุม ฟังเสียงคนทุบวังลูกอยู่ทุกวัน ด้วยหัวอกคนเป็นแม่ พระองค์ถึงกับทรงตรัสกับนางข้าหลวงผู้ใกล้ชิดว่า

“ได้ยินเสียงเขาทุบวังลูกฉันทีไร มันเหมือนกับกำลังทุบใจฉันอย่างนั้น” น้ำเสียงของพระองค์สั่นน้ำพระเนตรคลอด้วยความอัดอั้นตันใจ เล่ากันว่าถ้าไม่จำเป็นพระองค์จะไม่เสด็จผ่านไปทางที่ดินผืนนั้นเลย

สำหรับผม ใหม่เมืองเอก มองว่า การที่รัฐบาลจอมพล ป. แทนที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งชาติในบริเวณทุ่งว่างใกล้เคียงได้ แต่กลับไม่ทำเช่นนั้น ผมว่า คงเป็นเจตนาเลวโดยเฉพาะครับ เหมือนตั้งใจกลั่นแกล้ง แถมยังทูลเชิญรัชกาลที่ 8 ให้เสด็จไปเปิดสนามกีฬาแห่งชาตินี้อีกด้วยนะ (เหมือนใช้อำนาจทูลเชิญเพื่อเย้ยหยัน)

"ทั้งทุบ ทั้งรังแก ทั้งเย้ยหยัน" ความเลวในเรื่องนี้ผมขอยกให้เป็นผลงานของจอมพล ป. กับหลวงศุภชลาศัย รับไว้ก็แล้วกัน

----------------------

มีพวกร่านบางคน มันถามว่า ทีทุบวังเพชรบูรณ์ สร้างห้างสรรพสินค้า หรือทุบวังบูรพาภิรมย์ เพื่อสร้างห้างและโรงหนังล่ะ ทำไมไม่โวยกัน ?

ขอตอบว่า วังเหล่านั้น มันเป็นกรรมสิทธิส่วนบุคคลของลูกหลานเจ้าของวังนั้น ๆ ซึ่งเขาย่อมมีสิทธิจะเก็บรักษาไว้หรือไม่ มันก็เรื่องของเขา

แต่กรณีวังวินด์เซอร์ นั้นซึ่งเป็นทั้งสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าของชาติ ได้เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐไปแล้ว กลับทุบให้เสียของ เพราะรัฐบาลในขณะนั้นดันคิดไม่เป็น หรือเจตนาจะคิดกลั่นแกล้งมิทราบได้ แทนที่จะไปสร้างสนามกีฬาตรงจุดอื่นที่ยังมีที่ดินว่างเยอะแยะ แต่ดันไม่ไปสร้าง

เสมือนเจตนาจะทำร้ายน้ำพระทัยของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโดยเฉพาะ ด้วยอำนาจบาตรใหญ่ของพวกบ้าอำนาจยังไงอย่างนั้นจริง ๆ

เห็นพวกร่านมันถามว่า ไหน ๆ มีรูปไหมว่า ตอน พ.ศ.2479 เป็นทุ่งโล่งมีที่ว่างจะสร้างสนามกีฬา

ตอบง่ายมาก ตอนนั้นสยามสแคว์ก็ยังไม่มี มาบุญครองเซ็นเตอร์ก็ยังไม่มี ลองย้อนกลับไปอ่านช่วงต้นของบทความมีข้อมูลบอกว่า เฉพาะที่ดินจุฬาฯ ที่ให้เอกชนเช่าที่มีเนื้อที่ตั้ง 300 กว่าไร่เห็นไหม !?

ที่ดินที่ให้เอกชนเช่าพวกนั้นทางจุฬา ฯ ให้เช่าหลังมีสนามศุภฯ แล้วทั้งนั้น คิดสิคิด!!

---------

เห็นเขาว่า ตอนนี้เว็บ Change.org เขากำลังรณรงค์เปลี่ยนชื่อ สนามศุภชลาศัย ให้มาเป็นชื่อของเจ้าของที่ดินดั้งเดิมแทน คือชื่อ สนามมหาวชิรุณหิศ

ใครจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ก็เอาที่สบายใจแล้วกันครับ

สำหรับผมยังไม่ขอออกความเห็นใด ๆ เพราะมันควรเป็นวิจารณญาณส่วนบุคคลของแต่ละท่านเอง

คลิกอ่าน พลโทประยูร ภมรมนตรี เนรคุณทูลกระหม่อมบริพัตร หรือไม่


วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560

เหตุผลที่ควรอนุญาตให้คนนั่งหลังแคปของรถกระบะได้





ขณะนี้มีปัญหาว่า คนไทยจำนวนมากที่เป็นเจ้าของรถกระบะ หรือมีรถกระบะในครอบครัว เพิ่งจะรู้กันว่า ที่นั่งตรงแคปไม่สามารถนั่งได้เพราะผิดกฎหมาย

ก่อนอื่นขอเล่าเท้าความคร่าว ๆ ว่า แต่เดิมรถกระบะมีเพียงรถกระบะตอนเดียว ไม่มีพื้นที่แคปด้านหลังคนขับ และรถกระบะประเภทนี้ต้องจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกและสามารถนั่งในรถได้เพียง 2 คนเท่านั้น คือคนขับ กับคนนั่งข้างคนขับ

ต่อมาทางผู้ผลิตรถกระบะ ก็เลยเกิดไอเดียเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับคนขับรถกระบะและผู้โดยสารด้านข้างให้สามารถปรับเบาะเอนได้สบายขึ้น จึงเพิ่มพื้นที่ด้านหลังเบาะที่นั่งเพื่อจะได้บรรทุกข้าวของสัมภาระในตัวรถได้มากขึ้น และช่วยให้สามารถปรับเบาะนั่งเอนได้มากขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย

ซึ่งในทางกฎหมาย รถกระบะตอนเดียว กับ รถกระบะมีแคป ก็คือ รถชนิดเดียวกัน ต้องจดทะเบียนประเภทเดียวกัน

ส่วนตัวแทนจำหน่ายรถกระบะมองเห็นโอกาสและลู่ทางในการขาย จึงไปทำเบาะในพื้นที่แคปขึ้นมา เพื่อจะทำให้ผู้โดยสารนั่งในบริเวณแคปได้

ส่วนทางบริษัทผู้ผลิตรถกระบะเขาหัวหมอ เขารู้ในเรื่องข้อกฎหมายอย่างดี เขาจึงไม่ยอมโฆษณาว่า พื้นที่แคปสามารถให้คนนั่งโดยสารได้ เพราะมันผิดกฎหมาย

บริษัทรถยนต์เขาจะโฆษณาแค่ว่า เพิ่มพื้นที่ห้องโดยสาร เพื่อความสะดวกสบายและเพิ่มพื้นที่ในการวางสัมภาระในตัวรถได้มากขึ้น

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เลยแข่งขันการพัฒนาให้พื้นที่แคปของรถกระบะกว้างมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่มาซื้อรถกระบะ ก็เหมือนถูกหลอกทางอ้อมว่า บริเวณแคปสามารถนั่งได้ เพราะเวลาไปซื้อรถกระบะมีแคปมักมีเบาะที่นั่งเสริมแถมมาด้วย

ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง เขาว่ากันว่า เบาะที่นั่งเสริมพวกนี้พวกตัวแทนจำหน่ายสั่งทำเพิ่มเอง (อุปกรณ์เสริม) เป็นของแถม เพราะที่นั่งแคปไม่ได้ผลิตมาจากบริษัทผู้ผลิตรถกระบะโดยตรง เหตุเพราะบริษัทรถยนต์เขาแม่นกฎหมาย เขาไม่พลาดให้โดนเล่นงานในข้อกฎหมาย

หากบริษัทผู้ผลิตรถกระบะบอกตรง ๆ ว่า บริเวณแคปนั่งไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย ย่อมจะกระทบยอดขายรถแน่นอน

แต่ทั้งหมดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มันได้ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดไปเองว่า บริเวณแคปของรถกระบะสามารถนั่งโดยสารได้

--------------------

เหตุผลที่ควรอนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งแคปได้

ผมคงไม่ลงรายละเอียดในข้อกฎหมายนะครับ เพราะถ้าตามกฎหมายจริง ๆ คือนั่งบริเวณแคปไม่ได้ เพราะรถกระบะมีแคปก็เหมือนรถกระบะตอนเดียว คือมีผู้โดยสารได้แค่ 2 คนเท่านั้น และต้องจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกป้ายทะเบียนขาวตัวหนังสือสีเขียวเท่านั้น

หากอนุญาตให้คนนั่งที่แคปได้ ก็อาจต้องไปจดทะเบียนใหม่เป็นป้ายดำหรือไม่ ?

แต่มันก็ติดปัญหาข้อกฎหมายไปถึงผู้ผลิตรถกระบะอีก เพราะผู้ผลิตรถกระบะเขาผลิตรถออกมาในนามรถกระบะบรรทุก เพราะมันมีผลต่อการคิดฐานภาษีรถด้วย

ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาของรัฐบาลว่า ถ้าจะอนุญาตแล้วจะต้องไปหาทางแก้ไขกฎหมายแค่ไหน

ส่วนเหตุผลที่ควรจะอนุญาตให้ผู้โดยสารนั่งโดยสารที่แคปได้ก็คือ

1. หากเกิดการชนด้านหน้า บริเวณแคปก็จะปลอดภัยกว่าบริเวณที่นั่งด้านหน้า เพราะด้านหน้ามีเครื่องยนต์และที่นั่งคนขับและที่นั่งข้างคนขับซับแแรงกระแทกได้ก่อนถึงบริเวณแคป

2. หากเกิดการชนด้านหลัง บริเวณแคปก็จะมีท้ายกระบะซึ่งมีความยาวซับแรงกระแทกไว้ก่อนถึงบริเวณแคป

จาก 2 ข้อแรก ถ้าคุณผู้อ่านไปหาดูคลิปการทดสอบการชนของรถกระบะมีแคปด้วยความเร็ว 50-60 กม./ชม. ทั้งการชนทางด้านหน้าและการชนทางด้านหลังดูในยูทูปได้ครับ

ซึ่งผลการทดสอบปรากฎว่า บริเวณที่นั่งแคปได้รับผลกระทบน้อยกว่าที่นั่งคนขับและที่นั่งข้างคนขับเสียอีกครับ

3. หากรัฐจะอนุญาตให้มีผู้โดยสารที่บริเวณแคปได้จริง ๆ ก็ควรให้มีการปรับปรุงที่นั่งบริเวณแคปให้มั่นคงแข็งแรง และติดเข็มขัดนิรภัยให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบคุณกฤษณะ ละไลที่ต้องพิการเพราะคนนั่งบริเวณแคปลอยมากระแทกด้านหลังของเขา เพราะที่นั่งแคปไม่มีเข็มชัดนิรภัยในช่วงเกิดอุบัติเหตุ

ส่วนปัญหาเรื่องต่อไปรถกระบะมีแคปมีที่นั่งได้เป็น 4 ที่นั่งแล้ว รถพวกนี้จะต้องไปจดทะเบียนอย่างไร เพราะคงจดทะเบียนเป็นรถบรรทุกแบบเดิมก็คงไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลต้องนำไปพิจารณาต่อไป

ส่วนบทความนี้เขียนเพื่อจะสนับสนุนการอนุญาตให้นั่งบริเวณแคปได้เท่านั้น เพราะบริเวณแคปมันไม่ได้อันตรายกว่าที่คิดกันไป


เพราะในต่างประเทศเขาอนุญาตให้นั่งบริเวณแคปได้ และมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยอย่างครบครัน





ปัญหาของบ้านเราตอนนี้คือ ปัญหาในข้อกฎหมาย คือ ถ้าอนุญาตให้นั่งบริเวณแคปได้ ต่อไปรถกระบะมีแคปพร้อมที่นั่งอาจต้องไปจดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลป้ายทะเบียนสีขาวตัวหนังสือสีดำหรือไม่ ซึ่งจะมีภาษีประจำปีแพงกว่าป้ายทะเบียนรถบรรทุกที่เคยจดเดิม ๆ กันมาครับ

คนไทยมักเป็นประเภทไม่อยากจ่ายภาษีแพง แต่อยากได้ความสะดวกครบครัน ทำนองนี้แหละ เลยยอมละเมิดกฎหมายกันจนเป็นปกติ

คลิกอ่าน จากสี่แยกวังหินถึงนั่งท้ายรถกระบะ ดัชนีชี้วัดวินัยคนไทย