วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จำนำข้าวจะถูกหรือแพง เจ้าสัวซีพีก็ตีกินได้หมด







เมื่อสัก 2-3 ปีก่อน เจ้าสัวธนินท์เดินสายโชว์วิสชั่นเรื่อง นโยบาย 2 สูง ที่เกี่ยวกับการขึ้นค่าแรง ขึ้นราคาสินค้าการเกษตร ทำแล้วประเทศไทยจะเจริญ

และเจ้าสัวซีพี ก็ยังได้ออกรายการของสรยุทธ พูดถึงข้อดีอย่างนั้นอย่างนี้ของนโยบาย 2 สูง

แถมเจ้าสัวยังแนะนำว่า ให้ไทยกว้านซื้อข้าวจากคู่แข่งทั้งเวียดนาม อินเดีย มาเก็บไว้ด้วยสิ เพื่อจะได้กำหนดราคาตลาดเอง (โห เงินภาษีชาตินะโว้ย ไม่ใช่เงินซีพี)

ถ้ามันจะดีอย่างเจ้าสัวว่าจริง แล้วทำไมเครือเจริญโภคภัณฑ์ ไม่ไปกว้านซื้อมาเก็บไว้เองเลยวะ ?

นโยบาย 2 สูงของเจ้าสัวซีพี สนับสนุนการขึ้นค่าแรง และปล่อยให้ราคาสินค้าแพงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องราคาข้าว เจ้าสัวอ้างว่า ถ้ากดราคาข้าวให้ราคาถูก ชาวนาจะไม่อยากทำนาอีก ไทยจะเหมือนฟิลิปปินส์ที่ปลูกข้าวไม่พอกิน

และแล้วรัฐบาลเพื่อไทยก็ได้ทำตามเจ้าสัวซีพี คือ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และรับซื้อข้าวทุกเมล็ดจากชาวนาในราคาตันละหมื่นห้า

หลังจากนั้น ต้นทุนการปลูกข้าวของชาวนาก็ขึ้นพรวด ๆ ทุกอย่าง ทั้งค่าพันธุ์ข้าว ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงในนา ค่าเช่าที่นา เพิ่มขึ้นเท่าตัวเกือบจะทุกอย่าง

เจ้าสัวซีพีเลยรับทรัพย์เต็ม ๆ เพราะซีพีขายทั้งพันธุ์ข้าว ขายปุ๋ย ขายยาปราบแมลงศัตรูพืช ได้ราคาดีมากๆ

ทำให้ล่าสุดเจ้าสัวซีพีได้เป็นอภิมหาเศรษฐีติด 1 ใน 100 ของโลกเป็นครั้งแรกโดยอยู่ในอันดับที่ 58 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ติดแค่อันดับร้อยกว่าๆ อยู่หลายปี ซึ่งเดี๋ยวนี้เจ้าสัวซีพีก็กลายเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในอาเซียนด้วย

แต่แล้วโครงการจำนำข้าวผ่านมา 2 ปี รัฐบาลขาดทุนยับ แต่ซีพีกำไรเพียบ !!

รัฐบาลขายข้าวไม่ออก จนมีข่าวลือว่า โกดังเก็บข้าวของรัฐบาล ข้าวสารที่มาจากโกดังรัฐบาลมีสารเคมีกันมอดแมลงเพียบ

ซึ่งอาจจะทำให้คนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งมากขึ้น จากการบริโภคข้าวสารที่มีสารตกค้าง

----------------------

ซีพี ตีกินถือโอกาสโฆษณา ข้าวสารซีพีไม่มีสารตกค้าง

พอมีข่าวหลุดออกมาว่า ไทยแลนด์ได้นำเข้าสารเคมีเพื่อรักษาคุณภาพข้าวในโกดังมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากแบบมากจนผิดปกติ

ก็เลยเกิดข่าวลือว่า สารเคมีเหล่านี้คงนำมาใช้รมข้าวในโกดังรัฐบาลแน่ ๆ เพราะข้าวเหลือค้างโกดังเพียบ !!

และข่าวลือนั้นทำให้เกิดความหวาดกลัวว่า ข้าวสารบรรจุถุงจะมีสารเคมีตกค้าง ทำให้คนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น

ข่าวลือนี้ทำภาพลักษณ์ข้าวสารไทยเสียหายมาก จนขนาดสหรัฐอเมริกาถึงกับออกคำสั่งกักกันข้าวไทยไว้ตรวจสอบสารตกค้างก่อนนำออกจำหน่าย

แต่ไม่ว่าข้าวไทยจะเกิดปัญหาอย่างไร ซีพีก็สามารถตีกินใช้วิกฤติเป็นโอกาสโฆษณาข้าวตราฉัตรว่า ไร้สารตกค้าง

ตามนี้




เฮ่อ.. เจ้าสัวซีพีครับ หัดเห็นใจชาวนาบ้างเถอะ ราคาจำนำข้าวก็ลดลงแล้ว ซีพีล่ะ จะลดราคาปุ๋ย ยา พันธุ์ข้าวบ้างรึยัง

อายุเจ้าสัวก็มากแล้วนะ !!


คลิกอ่าน ความล้มเหลวของข้าวไทย ในฟิลิปปินส์






วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความล้มเหลวของข้าวไทย ในฟิลิปปินส์







ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ก็ได้ดูรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนไปด้วย

ช่วงแรก ยิ่งลักษณ์มาสาธยายเรื่องความจำเป็นที่ต้องลดราคาจำนำข้าวลง แต่ผมดูแล้ว ก็ยังมั่นใจว่า เรามีนายกรัฐมนตรีที่โง่ที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมา คือยิ่งลักษณ์พูดหลุดมาประโยคนึงคือ ต้องสอนให้เกษตรกรเพิ่มปุ๋ย เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อจะได้ราคาดีขึ้น

เพียงเท่านี้ก็รู้ถึงความด้อยสติปัญญาของนายกหญิงคนแรกของไทยแล้ว การเพิ่มผลผลิต่อไร่เป็นสิ่งที่รัฐต้องส่งสริมช่วย แต่ดันบอกเพิ่มปุ๋ย นี่แหละ คือความโง่ของยิ่งลักษณ์

เพราะที่ผ่านๆ มา ชาวนาไทย ใช้ปุ๋ยมากกว่าชาวนาชาติอื่น ๆ แต่กลับได้ผลผลิตน้อยกว่าชาวนาลาวด้วยซ้ำ ยิ่งเวียดนามยิ่งไม่ต้องพูดถึง ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทยมาก

พอตอนนี้รัฐบาลประกาศลดราคาจำนำข้าวลงเหลือหมื่นสอง ชาวนาก็โวยว่า ทำไมรัฐบาลไม่ไปลดราคาปุ๋ย ลดราคายา ลดราคาพันธุ์ข้าว ลดค่าเช่าที่นา ลดค่าแรงลงด้วยสิ ?

แถมค่าจ้างโรงสี ค่าดำเนินการ ทำไมรัฐบาลไม่ไปลดลงบ้าง แต่ดันมาลดราคาจำนำข้าวลง คือชาวนาไทยต้องกลายเป็นแพะรับบาปไป ทั้ง ๆ ที่มันคือความผิดของรัฐบาลโดยตรงแท้ ๆ 

ช่วงต่อมา นายวราเทพ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐบมนตรี มันออกมาพูดว่า ที่กล่าวหาว่า โครงการจำนำข้าวขาดทุนปีละ 2.6 แสนล้านนั้นไม่เป็นความจริง เพราะขาดทุนแค่ 1.3แสนล้านต่อปีเท่านั้น

เหอะ ๆ ไอ้นี่แม่งก็โง่ ที่ผ่านมาฝ่ายค้านและมู้ดดี้ เขาบอกว่า โครงการจำนำข้าวไทยขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท เขาหมายถึงรวมตัวเลขขาดทุนทั้งหมดที่ผ่านมา ไม่เห็นมีใครบอกว่า ขาดทุนปีละ 2.6 แสนล้านบาทสักหน่อย

ซึ่งเมื่อนายวราเทพ ไปดูตัวเลขเอง ก็สรุปออกมาเองว่า ปีแรก 54/55 ขาดทุนมากถึง 1.3 แสนล้านบาท

ดังนั้น หากรวม 2 ปี ต้องขาดทุนไม่ต่ำกว่า 2.6แสนล้านแน่ ๆ

ยิ่งไอ้ที่เหลืออีก 17 ล้านตัน ที่ค้างราคาสูงที่หมื่นห้าอยู่นั่น ถ้าขายไม่ออก ยิ่งจะเจ๊งมากกว่า 3 แสนล้านแน่นอน

-----------------------

ข้าวไทยแพ้ข้าวเวียดนามในฟิลิปปินส์

พวกชั่วมักชอบปกปิดบิดเบือนฉันใด ขายข้าวจีทูจี มันก็ต้องปกปิดบิดเบือนฉันนั้น

ที่ผ่าน ๆ มาหลายสิบปี ฟิลิปปินส์เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ซื้อข้าวจากไทยทุกปี ไทยเป็นเจ้าตลาดข้าวในฟิลิปปินส์

แต่ตั้งแต่มีโครงการรับจำนำข้าวที่ราคาแพงกว่าราคาตลาดโลกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไทยเราเสียแชมป์ส่งออกข้าวไปฟิลิปปินส์ในบัดดล

ข่าวแรก ฟิลิปปินส์หันไปซื้อข้าวเขมรเพิ่ม แถมเวียดนามชนะไทยในการประมูลขายข้าวในฟิลิปปินส์



ประเทศไหน ๆ เวลาเขาขายแบบข้าวจีทูจี เขากล้าที่จะบอกราคาที่เขาขายได้ ปริมาณที่ขายได้มีจำนวนเท่าไหร่

แต่นายบุญทรง รมว.พาณิชย์ของไทย กลับบอกว่า ไทยข้าวข้าวจีทูจีได้ แต่กลับบอกไม่ได้ว่าขายให้ใครไป ขายในราคาเท่าไหร่ และขายไปปริมาณมากแค่ไหน กลับอ้างอย่างเดียวว่าบอกไม่ได้

ถ้าใครเชื่อนายบุญทรง ก็ฟายแดง ล่ะครับ 555

สรปข่าวแรกว่า ในปี 2556 ช่วงกรกฎาคม - กันยายน ฟิลิปปินส์เริ่มนำเข้าข้าวเขมรเพิ่มขึ้น ส่วนเวียดนามขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ มากถึง 187,000 ตัน

--------------------

ฟิลิปปินส์ ซื้อข้าวจากเวียดนามมากที่สุด

ส่วนฟิลิปปินส์ซื้อจากไทยน้อยที่สุด






สังเกตจากตัวเลขการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์

ปี 2555 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนาม มูลค่ามากถึง 318.77 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็น ร้อยละ 81.54 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด

แล้วข้าวไทยล่ะ ?

ในปี 2554 ไทยเคยส่งข้าวไปฟิลิปปินส์มีมูลค่า 59.02ล้านเหรียญ  แต่พอมีโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว

ในปี 2555 ไทยส่งข้าวไปฟิลิปปินส์เหลือมูลค่าแค่ 6.03 ล้านเหรียญเท่านั้น !!


-----------------

ราคาข้าวไทยในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับคู่อินเดียและเวียดนาม


ปัจจุบันประเทศคู่แข่งข้าวรายสำคัญของไทย ทั้งอินเดียและเวียดนาม ได้แข่งกันลดราคาขายข้าวในตลาดโลกอย่างหนัก

โดยราคาข้าวสารขาว 5% ของอินเดียขายที่ตันละ 445 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 400 เหรียญสหรัฐ

ส่วนเวียดนาม ข้าวขาว 5% ตันละ 370 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 365 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 360 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 350 เหรียญสหรัฐ

ขณะที่ข้าวไทย  ข้าวขาว 5% ตันละ 532 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 10% ตันละ 525 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 15% ตันละ 530 เหรียญสหรัฐ ข้าวขาว 25% ตันละ 527 เหรียญสหรัฐ

ข้าวไทยขายแพงกว่าข้าวชาติอื่น ตกตันละ 100 กว่าเหรียญทั้งสิ้น

แล้วใครเขาอยากจะซื้อข้าวไทยกินล่ะครับ จริงมะ ?

ดังนั้น ข้าวไทยที่ยังค้างโกดังอีก 17 ล้านตัน ก็รอเสื่อม รอเจ๊งได้เลยครับ

------------------

แล้วเมื่อไม่มีใครซื้อข้าวไทย แล้วผู้ส่งออกข้าวไม่เจ๊งเหรอ ?

ผุ้ส่งออกข้าวของไทยไม่เจ๊งหรอกครับ เพราะพวกเขาหันไปซื้อข้าวชาติอื่นไปขายในตลาดโลกแทนเหมือนกัน โดยเฉพาะข้าวเขมร ผู้ส่งออกไทยหันไปซื้อข้าวเขมรกันเยอะแล้วครับ

นายโชคชัย เศรษฐีวรรณ อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า

"ผู้ส่งออกข้าวไทยบางรายกำลังเจรจาซื้อข้าวจากเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนามและปากีสถานเพื่อส่งออกให้แก่ลูกค้า เนื่องจากนโยบายจำนำข้าว 1.5 หมื่นบาทต่อตันของรัฐบาลไทยมีราคาสูงกว่าตลาดโลกมากทำให้การส่งออกข้าวของไทยลำบากขึ้น โดยข้าวที่ซื้อมาจะเน้นส่งออกไปยังจีนเป็นหลักเนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ โดยราคาข้าวขาว 5% ที่มีราคาซื้อขายในตลาดโลกนั้นข้าวของไทยจะอยู่ในระดับ 520-530 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนข้าวจากเวียดนามซึ่งจะมีราคาต่ำที่สุดจะอยู่ในระดับ 390 ดอลลาร์ต่อตัน หรือจะต่ำกว่าไทยประมาณ 120-150 ดอลลาร์ต่อตัน"

“ยอดการส่งออกข้าวในหลายๆ ประเทศน่าติดตามอย่างมาก โดยเฉพาะปากีสถานที่ก้าวมาอยู่ในระดับ 4 ของการส่งออกข้าวในตลาดโลกแล้ว รวมถึงพม่าที่สามารถส่งออกไปจีนได้เกือบ 1 ล้านตัน และกัมพูชาก็มียอดการส่งออกที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด” นายโชคชัยกล่าว


คลิกอ่าน เกษตรกรไทยเต็มใจให้หลอก หรือโง่ซ้ำซาก






วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เกษตรกรไทยเต็มใจให้หลอก หรือยังโง่ซ้ำซาก ?







ช่วงหลายวันที่ผ่านมา มีข่าวชาวสวนมังคุดภาคตะวันออกประท้วงราคามังคุกตกต่ำ เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ เพราะปีนี้ผลผลิตมังคุดออกมามาก ต้นทุนก็เกือบ 10 บาทต่อกิโลอยู่แล้ว

ต่อมาก็มีข่าวช่อง7 สี รายงานว่า ชาวนาทางภาคอีสานไม่เห็นด้วยกับการลดราคาจำนำข้าวลง

ทั้งสองกรณีได้บอกอะไรได้หลายอย่าง คือ

ทำไมชาวสวนต้องเร่งปุ๋ย เร่งยา เร่งผลผลิตให้มังคุดออกมาเยอะ ๆ ด้วย ?

นั่นเพราะ ชาวสวนเข้าใจว่า ถ้าได้ผลผลิตมากยิ่งดี จะได้ขายได้เยอะ ๆ นี่คือความโง่เรื่องแรก

เพราะยิ่งผลผลิตเยอะมากเท่าไหร่ ราคากลับยิ่งตกลง เพราะชาวสวนทุกสวนต่างเร่งให้สวนตัวเองมีผลผลิตต่อไร่สูง ๆ ซื้อยา ซื้อปุ๋ยเร่งให้ได้ผลผลิตดก

นี่โง่หรือฉลาด ?

การที่เร่งปุ๋ย เร่งยา ที่นับวันๆ ราคาปุ๋ยยายิ่งแพงขึ้น ๆ ประโยชน์ที่ได้คือพวกขายปุ๋ยขายยา ที่กำหนดราคาเองได้ แต่เกษตรกรกำหนดราคาผลผลิตเองไม่ได้

พอเกษตรกรปลูกไปแล้ว ยิ่งใช้ยา ใช้ปุ๋ยเยอะ ๆ ได้ผลผลิตเยอะ ๆ ราคาก็ยิ่งตก ต้นทุนการผลิตกลับยิ่งสูง !!

เพราะมันเป็นเรื่องของปริมาณมากเกินความต้องการ ราคามันก็ต้องตกลงเป็นเรื่องธรรมดา ตามหลักอุปสงค์อุปทาน

แล้วจะไปเร่งให้ผลผลิตมันออกเยอะ ๆ ไปทำไม ?

ป้าไสว ทัศนียเวช เจ้าของสวนทุเรียนดังเมืองนนท์ เคยพูดไว้ว่า "ทุเรียน นนท์ คาดหวังไม่ได้ว่าปีนี้จะออกมากออกน้อย บางต้นบางปีไม่ออกดอกเลยก็มี ทุเรียนนนท์เป็นการปลูกเอารสชาติ ไม่ใช่ปริมาณ"

(เมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อน ผมได้ดูสกู็ปทางทีวีช่องอะไรจำไม่ได้เกี่ยวกับชาวสวนผลไม้ที่ไม่ใช้ปุ๋ย ใช้ยา แถมได้ผลผลิตดกด้วย และเขาก็ส่งผลไม้ออกนอก เพราะยุโรปชอบผลไม้ปลอดสารเคมีทางการเกษตร)

ที่ศรีลังกา กล้วยหอมลูกใหญ่กว่ากล้วยบ้านเรากว่า 2 เท่า ถามว่าเขาใช้ปุ๋ยหรือไม่ ?

คำตอบคือ เปล่าเลย เขาปลูกแบบธรรมชาติ ๆ ปล่อยมันเติบโตเองนี่แหละ แต่พอขุดดินที่นั่นตรวจดู โอ้โห ไส้เดือนเพียบ

ไส้เดือนนี่แหละ ผู้ผลิตปุ๋ยชั้นดีที่สุดของโลก แต่พอเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยใช้ยา ไส้เดือนหนีหายไปจากแผ่นดินไทยหมด

สรุปว่า เกษตรกรไทยยังโง่ตกเป็นเหยื่อของบริษัทปุ๋ยและยาฆ่าแมลงและวัชพืชต่อไป

-------------------------

พอนายกิตติรัตน์ ณ. ระนอง เผยว่า อาจลดราคาจำนำข้าวลง

ก็มีข่าวช่อง 7 สี ทำสกู๊ปสัมภาษณ์ชาวนาอีสานทันทีว่าเห็นด้วยหรือไม่ ?

คลิกที่นี่เพื่อชมคลิปข่าว !!

ชาวนาหลายจังหวัดทางอีสานบอก ไม่เห็นด้วย เพราะต้นทุนการปลูกข้าวสูงขึ้นมาก จากราคาปุ๋ย ราคายา ราคาเมล็ดพันธุ์พืชที่แพงขึ้นมามาก ถ้าลดราคาจำนำลง ชาวนายิ่งแย่แทบไม่ได้อะไร

เพราะปกติจำนำข้าวตันละหมื่นห้า ชาวนาเกี่ยวเสร็จจำนำทันที ความชื่นสูง จะได้ตันละประมาณ11,000-12,000 เท่านั้น หากลดราคาจำนำลงไปเหลือสัก 12,000 ต่อตัน ชาวนาคงได้เงินตันละไม่ถึงหมื่น

เป็นไงครับ สุดท้ายราคาจำนำที่แพง ชาวนากลับได้ผลประโยชน์นิดเดียว แต่บริษัทค้าปุ๋ยยาและพันธุ์ข้าวกลับขายได้ราคาแพงตามใจชอบ




ผมเคยทราบมาว่า ในเขตทำนาที่ไม่มีระบบชลประทาน ถ้าพบปัญหาน้ำแล้ง ชาวนาก็ต้องยิ่งเร่งปุ๋ยมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ข้าวออกรวง เพราะถ้าน้ำน้อยข้าวจะไม่ออกรวง

เพราะชาวนาได้คำนวณแล้วว่า ถึงจะต้องซื้อยาซื้อปุ๋ยเพื่อเร่งผลผลิตมากขึ้น ก็ยังพอเหลือกำไรบ้าง เลยทำให้ชาวนาที่อยู่นอกระบบชลประทานต่างเร่งปุ๋ยยามากกว่าปกติ

สุดท้ายข้าวไทยจึงมีสารเคมีปนเปื้อนมาก แล้วชาวนาก็ป่วยมากขึ้นจากการได้รับสารเคมีเหล่านี้ แถมดินก็ยิ่งเสีย ต้นทุนตรงนี้ชาวนา สิ่งแวดล้อม รับไปเต็ม ๆ เป็นต้นทุนที่รัฐบาลชั่ว ๆ ไม่ได้คิดถึง

ส่วนคนไทยที่บริโภคข้าวก็พลอยรับเคราะห์ตามไปด้วย และที่แย่ไปกว่านั้น พวกพนักงาน ธกส. นี่แหละ เป็นตัวแทนขายปุ๋ยยาเลยล่ะครับ

นี่คือ ความห่วยจากโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แท้ ๆ

เพราะหากโครงการจำนำข้าวดีจริง ต้องมีแต่เพิ่มราคาจำนำให้มากขึ้น แต่การลดราคาจำนำลง คือหลักฐานที่บ่งชี้ช้ดเจนว่า โครงการนี้ล้มเหลว !!

ยิ่งทำชาติยิ่งพัง แถมชาวนากลับยิ่งจนลง เพราะราคาจำนำลดลง  = ถอยหลังลงคลอง

และรัฐบาลนี้มักพูดความจริงด้านเดียวที่ว่า โครงการจำนำข้าวช่วยฉุดราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น ข้าไทยขายได้ราคาดีขึ้น

แต่สิ่งที่รัฐบาลนี้ปกปิดคือ ราคาข้าวต่อต้นแม้จะสูงขึ้น แต่ไทยกลับขายข้าวได้เงินน้อยลง !! (เพราะข้าวไทยขายไม่ออกไงครับ)


คลิกอ่าน ใครคือตัวต้นเหตุความยากจนของเกษตรไทย ?





วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แผนชั่ว เหตุรัฐบาลยิ่งลักษณ์กระสันอยากลดดอกเบี้ยลง 1 %






ก่อนการประชุม คณะกรรมการ กนง. ค่าเงินบาทของไทยก็ได้อ่อนค่าลงไปแตะที่ 30.20 บาทต่อดอลล่าห์สหรัฐ โดยที่ทาง ธปท. และกนง. ยังไม่ได้ใช้มาตรการใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง

ซึ่งค่าเงินบาทที่ 30 บาทกว่า ๆ ต่อดอลล่าห์ ก็เป็นค่าที่เหมาะสมตามสภาพเศรษฐกิจ แต่ถ้าจะให้ค่าเงินบาทอ่อนไปแตะที่ 31 บาท ตามคำเรียกร้องของผู้ส่งออกที่เห็นแก่ตัว ก็ถือว่าไม่สมควร

เพราะสันดานผู้ส่งออกไทยมักไม่เคยเลิกเห็นแก่ตัว เพราะจริง ๆ แล้ว ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30 บาทกว่า ๆ ก็ควรจะพอใจได้แล้ว

ผู้ส่งออกในประเทศอื่น ๆ เขาก็ปรับตัวปรับสภาพกับความผันผวนของค่าเงินได้กันทั้งนั้น จะมีแต่ผู้ส่งออกไทยนิสัยเสีย คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คิดแต่จะให้ชาติเสียเงินไปพยุงค่าเงินจนเจ๊งเมื่อปี 2540 มาทีนึงแล้ว

คิดแต่จะให้ลดดอกเบี้ยของผู้ออมในประเทศ เพื่อให้ค่าเงินบาทอ่อนเพื่อผลประโยชน์ตัวเองฝ่ายเดียว

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ของไทยเขาปรับสภาพได้ทั้งนั้นแหละ คงมีแต่ผู้ส่งออกบางรายและคนในสภาอุตสาหกรรมบางคนที่ร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อหวังผลบางอย่างเท่านั้น ที่ปากยังอ้างว่า ไม่พอใจกับค่าเงินบาทที่อยู่ระดับ 30 บาทกว่า ๆ ต่อดอลล่าห์

และในที่สุด กนง.ก็ได้ยอมลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 %

หากลดมากกว่านี้หนี้ภาคครัวเรือนที่กำลังพุ่งขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ก็จะยิ่งพุ่งมากขึ้นไปอีก เพราะคนจะไม่คิดอยากออมเงิน

ส่วนนายกิตติรัตน์ รมว.คลัง ก็ยังไม่พอใจในอัตรานี้ เพราะนายกิตติรัตน์ยังต้องการให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงมากถึง 1 %

---------------------------

คนแก่โดนปล้น !!

ดอกเบี้ยนโยบายเดิมอยู่ที่ 2.75 % แต่คนแก่จำนวนมากที่ฝากเงินกินดอกเบี้ย ส่วนมากก็จะได้ดอกเบี้ยที่ 3 %

เพราะธนาคารมักให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะยาวสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายเล็กน้อย

สมมุติคนแก่คนนึง ฝากเงินไว้สัก 2 ล้านบาท หวังกินดอกเบี้ยยามบั้นปลายชีวิต เคยได้ดอกเบี้ยปีละ 6 หมื่นบาท (สามารถคืนภาษีได้ทีหลัง)

ถ้าเกิดมีการลดดอกเบี้ยลงสัก 1 % ตามที่รัฐบาลอยากให้เป็น

คนแก่คนนั้นก็จะเหลือดอกเบี้ยแค่ 4 หมื่นบาทต่อปีเท่านั้น จะหายไปถึง 2 หมื่นบาท !!

นี่เท่ากับเป็นการรังแกคนแก่ เพื่อหวังช่วยผู้ส่งออกหรือไม่ ?


---------------------

นายทุนอสังหา ได้กู้เงินไปเก็งกำไรที่ดินได้สบายขึ้น

การลดดอกเบี้ยยังส่งผลให้ พวกนายทุนอสังหาฯ สามารถกู้เงินจากธนาคารไปหว่านซื้อที่ดินเก็บไว้เพื่อการเก็งกำไรได้จำนวนมาก แถมยังเสียดอกเบี้ยได้น้อยลง

อย่างเช่น การที่จะมีโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าความเร็วสูงเกิดขึ้นในอนาคตนั้น

เหล่าบรรดานายทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็กำลังหาทางกว้านซื้อที่ดินเส้นทางผ่านเพื่อรองรับโครงการเหล่านี้

แล้วถ้าดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง พวกนายทุนก็ยิ้มว่า จะได้ประหยัดดอกเบี้ยได้เยอะ

ทั้งเอสซีแอสเสท และ แสนสิริ กลุ่มอสังหาฯ พวกนี้รู้แน่ว่า ที่ดินตรงไหนที่เหมาะแก่การกว้านซื้อดักไว้ก่อน กลุ่มอสังหาพวกนี้แหละ ที่จะได้รับผลประโยชน์เต็มๆ จากการลดดอกเบี้ยของธนาคารลง

นอกจากนี้ยังทำให้โครงการอสังหา ที่ทำเสร็จรอขายไว้อยู่แล้วก็จะขายดียิ่งขึ้น เพราะดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงนี่แหละครับ

ประชาชนที่ไม่อยากกินดอกเบี้ยต่ำๆ จากธนาคารอีก ก็อาจถอนเงินเอามาลงทุนด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์แทน

เพราะขึ้นชื่อว่า นายทุนย่อมไม่ชอบให้คนออมเงิน แต่ชอบให้คนใช้จ่ายมาก ๆ เพราะพวกนายทุนได้ประโยชน์อย่างมากจากการที่คนจับจ่ายเงิน

รัฐบาลนายทุน จึงชอบกระตุ้นให้คนไทยจ่ายเงิน โดยอ้างเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบังหน้า 

คลิกที่รูปเพื่ออ่านข่าวนี้ !!



-------------------------


ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์กระสันอยากลดดอกเบี้ยลง 1 % ?

ส่วนสาเหตุที่สำคัญที่สุด ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์อยากให้ลดดอกเบี้ยลงมากถึง 1 % นั้นก็๋คือ

เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์เตรียมจะออกพันธบัตรในโครงการเงินกู้แก้ปัญหาเรื่องน้ำ 3.5แสนล้าน และโครงการเงินกู้2.2ล้านบาท เพื่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งแบบปกติและแบบความเร็วสูง ขายให้ประชาชน

หากดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในระดับ2.75 % ก็จะทำให้รัฐบาลต้องให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสูงกว่านั้น ซึ่งอาจสูงถึง 4 % เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อพันธบัตร

แต่ถ้าสามารถทำให้ดอกเบี้ยนโยบายลดลงเหลือที่ 1.75 % ตามที่รัฐบาลต้องการได้นั้น

ก็จะทำให้รัฐบาลอาจปล่อยพันธบัตรออกมาด้วยอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ คือที่ 2.5 - 3 % ก็เพียงพอที่จะล่อให้ประชาชนแห่ถอนเงินออมออกจากธนาคาร เพื่อมาซื้อพันธบัตรเงินกู้ในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลแทนได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

นี่เท่ากับรัฐบาลกำลังหวังผลทางการตลาดของตลาดพันธบัตรเงินกู้ ด้วยการอ้างเรื่องค่าเงินบาทแข็งมาบังหน้าเพื่อกดดันธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยนโยบายนั่นเองครับ

แปลง่ายๆ คือ รัฐบาลไม่อยากจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรในอัตราสูง และต้องการให้มีคนไทยแห่มาซื้อพันธบัตรเงินกู้กันมาก ๆ แทนการฝากเงินในธนาคาร เพื่อสนองโครงการประชานิยมของรัฐบาลนั่นเอง

เพราะรัฐบาลนายทุนและพวกนายทุนพวกพ้องต่างหวังว่า โครงการกู้ทั้ง 2 โครงการนั้นจะสำเร็จโดยเร็ว เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่พวกตัวเองมหาศาล หากมีคนมาซื้อพันธบัตรกันน้อยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โครงการก็ย่อมสำเร็จล่าช้า ที่ดินที่กว้านซื้อเก็งกำไรไว้ก็จะขายออกช้า

แต่ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังไม่ลดลงตามที่รัฐบาลนายทุนกระสันอยากจะได้

ก็คงต้องรอดูต่อไปว่า มันจะทำอย่างไรต่อ ..


คลิกอ่าน เศรษฐาใหญ่ยาว จน ยิ่งลักษณ์น้ำแตก