วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความโง่ของพวกล้มเจ้า เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง






คือพวกล้มเจ้ามันโง่ ตอนแรกจะมีพวกล้มเจ้าหน้าโง่มันตีความว่า ความพอเพียง คือ ความล้าหลัง ไม่พัฒนา ต้องอยู่แบบอดอยากยากจน ปฏิเสธเทคโนโลยี นั่นคือการตีความแบบโง่ ๆ

พวกล้มเจ้ามันโง่ แปลคำว่า พอเพียง คือ อดอยาก ??

อดอยาก บ้านมึงสิ แปลว่า พอเพียง

คำว่า พอเพียง คือ พอมี พอกิน พอเก็บ พอใช้ พอดี พอมีเหลือก็เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โว้ยไอ้พวกโง่

และความพอเพียงของมหาเศรษฐี ก็ไม่เท่ากับ ความพอเพียงของคนจน

----------------------

เศรษฐกิจพอเพียง กับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

อย่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรานั้น ไม่เคยปฏิเสธเรื่องความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

ซึ่งผลงานหลาย ๆ อย่างของในหลวงที่ได้ปรากฏ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในหลวงของเราทรงสนใจความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทั้งฝนเทียม หรือที่เราเรียกตอนหลังว่า ฝนหลวง (หรือฝนของในหลวง) เพราะในหลวงทรงทำพระราชทานให้คนไทยทุกปี

อย่างเช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือ แนวคิดแกล้งดิน หรือ คลองลัดโพธิ์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำจากกระแสน้ำไหลได้ หรือ เรื่องปรับปรุงดินทรายด้วยหญ้าแฝก หรือ การพัฒนาไบโอดีเซล หรือการพัฒนาปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ต่อยอดมาจากแบคทีเรีย EM ของญี่ปุ่น

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แม้บางอย่างในหลวงอาจไม่ได้ทรงลงไปค้นคว้าวิจัยเอง แต่พระองค์ก็ทรงสนับสนุน ส่งเสริม และแนะนำให้นักวิชาการไทยไปศึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอด ด้วยเงินส่วนพระองค์ที่มาช่วยสนับสนุน

สิ่งเหล่านี้คือการคิดค้นพัฒนาต่อยอดจนประสบความสำเร็จของในหลวงเราทั้งสิ้น ซึ่งยังมีอีกมากมาย ที่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า แนวเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ไม่ได้ปฏิเสธวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แต่แนวเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด หรือนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้อย่างชาญฉลาด อย่างลงตัว อย่างพอดี โดยไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี

อย่างเช่นเรื่อง ฝนเทียม ซึ่งแม้ในหลวงจะไม่ได้ทรงเป็นผู้คิดค้นคนแรกของโลกก็จริง แต่คนแรกที่คิดค้นฝนเทียมในโลก ก็ยังไม่สามารถมาปรับใช้ได้จริง ยังเป็นเพียงการทดลองเบื้องต้นเท่านั้น

ส่วนในหลวงคือผู้ที่นำเรื่องฝนเทียมมาต่อยอด มาคิดค้นคว้าวิจัยพัฒนาเพื่อหาวิธีการที่ดีขึ้น สูตรผสมที่ดีขึ้นหรืออาจจะดีที่สุดเพื่อให้การทำฝนเทียมได้ผลสำเร็จมากที่สุดในประเทศไทย ใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ที่แม้หลายประเทศที่เจริญกว่าไทยยังต้องขอมาเรียนรู้เทคนิคการทำฝนหลวง

ในหลวงเป็นเพียงผู้นำฝนเทียมมาใช้ในไทยเป็นพระองค์แรก มีเว็บบางเว็บจะอยากจะยกย่องในหลวงว่า เป็นบิดาของฝนเทียม จะเขียนสั้น ๆ แบบนี้ไม่ได้ แต่ต้องเขียนเต็ม ๆ ว่า พระบิดาแห่งฝนหลวงไทย จะต้องมีคำว่า ไทย ต่อท้ายด้วยเสมอ

ในหลวงทรงจดสิทธิบัตรการเทคนิคการทำฝนหลวงทั้งในประเทศ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

หนังสือสิทธิบัตรฝนหลวง จดที่สหภาพยุโรปเลขที่ EP 1 491 088 A1


หากอยากรู้รายละเอียดเรื่องสิทธิบัตรฝนหลวง เชิญอ่านได้ที่นี่ คลิก!!

เหมือนเช่นที่เราเคยยกย่องพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ทรงเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย หรือเช่น รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เป็นต้น




เปรียบเสมือน โธมัส อันวาเอดิสัน ผู้คิดค้นประดิษฐ์หลอดไฟอันโด่งดังนั้น ก็ไม่ได้คิดเรื่องหลอดไฟเป็นคนแรก แต่ผู้คนต่างก็ยกย่องเอดิสันอย่างมาก เพราะเอดิสันต่อยอดให้หลอดไฟใช้ได้จริง ใช้ได้ง่ายขึ้นในชีวิตประจำวัน นั่นเพราะวิทยาศาสตร๋และการค้นคว้าวิจัย ย่อมไม่มีคำว่าสิ้นสุด

ดังนั้นเราก็ต้องยกย่องทั้งผู้ที่คิดค้นคนแรก และผู้ที่นำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติเช่นกัน

หรืออย่างบิลเกตต์ สตีฟจ๊อบส์ หรือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค ก็ไม่ได้เป็นคนคิดคอมพิวเตอร์เป็นคนแรก ไม่ได้เป็นคนคิดโทรศัพท์มือถือคนแรก ไม่ได้เป็นคนคิดอินเตอร์เน็ตคนแรก แต่คนทั้งโลกต่างก็ยกย่องทั้งสามคนว่า เป็นคนสำคัญที่สร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

----------------

หลักการพึ่งพาตนเอง

คือ เมื่อพวกล้มเจ้าพอหาทางทำลายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงไม่ได้ ก็เปลี่ยนแนวใหม่คือ ไปขุดหาว่า ใครคือคิดค้นเรื่องความพอเพียงเป็นคนแรก ซึ่งพวกล้มเจ้าได้อ้างว่า นายจอร์น ซีมัวร์ ชาวอังกฤษ ว่าเป็นคนที่คิดค้นเรื่องทฤษฎีพอเพียงเป็นคนแรก ในหนังสือชื่อ Self-sufficiency ในปี 1961 ซึงที่จริงจะต้องแปลว่า "การพึ่งตนเอง"




ซึ่งจริง ๆ แล้ว ถ้าเราไปหาความหมายคำว่า Self-sufficiency ในวิกิพีเดีย ก็มีคนที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการพึ่งพาตนเองก็มีอยู่ด้วยกันหลายคนมากมาย และมีมาก่อน นายจอห์น ซีมัวร์ เสียอีก

ตามนี้

ผู้ที่มีอิทธิพลในแนวคิดการพึ่งพาตนเอง



เห็นที่ผมขีดเส้นใต้สีแดงไหมครับ จะเห็นมีชื่อนายจอห์น ซีมัวร์ และมีพระนามในหลวงของเราอยู่ด้วย และมีอีกหลาย ๆ คน ที่รู้จักแนวการพึ่งพาตนเองมาเป็นร้อยปีแล้ว ถ้าสนใจก็ลองไปหาอ่านที่วิกิพีเดียได้ครับ

ที่จริงเรื่องความพอเพียงนั้นก็มีอยู่แล้วในหลักการพระพุทธศาสนา นั่นคือ หลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หลักทางสายกลางหรือหลักความพอดี นั่นเอง

ซึ่งจริง ๆ แล้วหลักการพึ่งพาตนเอง ก็มีอยู่ในคำสอนเกือบทุกศาสนาในโลกนั่นแหละ และก็เป็นวิถีชีวิตของผู้คนมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว

แต่ที่คนเรายุคนี้มาเพี้ยน ก็เพราะไปหลงเป็นทาสเทคโนโลยีมากไปโดยไม่รุ้จักประมาณตน หรือที่เกษตรกรในโลกทุกวันนี้ที่มาเพี้ยนทีหลัง ก็เพราะไปหลงเชื่อเรื่อง การปฏิวัติสีเขียว ของสหรัฐอเมริกา จนทำให้พึ่งพาแต่ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าศัตรูพืช หลงลืมแนวคิดการพึ่งพาตนเองในการทำเกษตรกรรมไปหมด

--------------

พระราชดำรัสความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2541

"... คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียงคือทำเป็น Self-Sufficiency ม้นไม่ใช่ความหมายแบบที่ฉันคิด

ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า

แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”






---------------

“อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือ ระบบพอเพียง เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น SELF-SUF-FICIENCY (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า SELF-SUFFICIENCY คือSELF-SUFFICIENCYนั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ถ้าหลักการพึ่งพาตนเอง ในภาษาอังกฤษ คือ Self-sufficiency ที่ฝรั่งเขียนนั้น เป็นแนวคิดที่จะแคบลงมาหน่อย เป็นแนวคิดเฉพาะตัว เฉพาะบุคคลมากกว่า

จะว่าไปแล้ว การพึ่งตนเอง ถ้าในภาษาไทยก็เป็นแค่สับเซ็ตหนึ่งของ ความพอเพียง เท่านั้น เพราะการพึ่งตนเอง บางทีคนที่พึ่งพาตนเองก็อาจยังไม่เข้าใจความพอเพียงก็ได้ หมายถึง รู้จักพึ่งตนเอง แต่กลับไม่รู้จักพอเพียง

ส่วนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรา ภาษาอังกฤษคือ Sufficiency Economy หรือ Philosophy of Sufficiency Economy เห็นไหมครับว่า แค่ภาษาอังกฤษก็แตกต่างกันแล้ว


เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นแนวคิดดระดับประเทศที่สำหรับใช้สอนคนจำนวนมาก เป็นผลในวงกว้างกว่า หรือเป็นเสมือนแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่แค่เรื่องเฉพาะตนเท่านั้น ซึ่งในหลวงของเรานำมาสอนคนไทยทั้งประเทศให้ทำตาม ตั้งแต่ปี 2517 เป็นครั้งแรก

ซึ่งในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ได้เน้นคำว่า "ทางสายกลาง" ซึ่งทางสายกลาง ก็คือแนวทางในพุทธศาสนานั่นเอง

สรุปง่าย ๆ นะครับ ในหลวงเราคือผู้คิดเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ก็คิดขึ้นในลักษณะต่อยอด มาจากหลักทางสายกลางในพระพุทธศาสนาอีกทีหนึ่ง



-------------

ความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี 2517 โดยเริ่มต้นจากพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้…”   
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม   2517)


และพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2517 พระองค์ทรงได้เน้นย้ำ “พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบ”

แม้จะได้ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่อง “พอมี พอกิน” มาตั้งแต่ปี 2517 และได้ทรงพระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา แต่ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐบาลหรือภาคธุรกิจเอกชน ก็มิได้ตระหนักในคำเตือนของพระองค์ 

โดยในปี 2539 ก็ได้ทรงเตือนอีกครั้งหนึ่งให้มี “ความรอบคอบ”และ “อย่าตาโต” แต่ก็ไม่ได้เกิดผลในการนำไปปฏิบัติ

จนกระทั่งเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสที่คนไทยจำใส่เกล้ากันได้จนถึงปัจจุบันที่ว่า “การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน  แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง”

ซึ่งนับได้ว่าเป็นที่มาของเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน


--------------


ระดับของเศรษฐกิจพอเพียง
(จาก http://www.sufficiencyeconomy.com)

จนถึงวันนี้ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง ก็ยังเข้าใจว่า พอเพียง คือ การพึ่งตนเอง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Self-sufficiency

แต่คำว่า พอเพียง ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตรงกับคำว่า Sufficiency Economy นั้น มีความหมายกว้างกว่าแค่การพึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน

ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่มีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันดำเนินงานในเรื่องต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายและการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ โดยประสานความร่วมมือกับภายนอก เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า 

ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่แค่เพียงเรื่องของการพึ่งตนเองโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร และมิใช่แค่เรื่องของการประหยัด แต่ยังครอบคลุมถึงการข้องเกี่ยวกับผู้อื่น การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 
แท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

(1) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่หนึ่ง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ที่เน้นความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น ความต้องการในปัจจัยสี่ของตนเองและครอบครัวได้ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกลมเกลียว และมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิตด้วยการประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็น จนสามารถดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งทางกายและใจ

(2) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สอง เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ที่เน้นความพอเพียงในระดับกลุ่มหรือองค์กร คือ เมื่อบุคคล/ครอบครัว มีความพอเพียงในระดับที่หนึ่งแล้ว ก็จะรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมกันดำเนินงานในด้านต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน

(3) เศรษฐกิจพอเพียงระดับที่สาม เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ที่เน้นความพอเพียงในระดับเครือข่าย คือ เมื่อกลุ่มหรือองค์กร มีความพอเพียงในระดับที่สองแล้ว ก็จะร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อการสร้างเครือข่าย มีการติดต่อร่วมมือกับธนาคารและบริษัทต่างๆ ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต การตลาด การจำหน่าย และการบริหารจัดการ เพื่อการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในด้านสวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา ให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย



การจำแนกเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่เริ่มต้นจากหลักของการพึ่งตนเอง โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาตนเองไม่ได้หรือต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา (Dependent) เป็นการพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็ง เป็นอิสระ (Independent)

แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน จนนำไปสู่การพึ่งพิงอิงกัน (Inter-dependent) สงเคราะห์เกื้อกูล ร่วมมือกัน และประสานกับโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี


(รายละเอียดเรื่องปรัชาญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปอ่านได้อีกหลายเรื่องที่ http://www.sufficiencyeconomy.com/ )

----------------

บทสรุปถึงความโง่ของพวกล้มเจ้า

แล้วไอ้พวกล้มเจ้ามันยังเปรียบเทียบเรื่องแนวคิดพอเพียงว่า คนคิดค้นคนแรกที่เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า ส่วนคนเผยแพร่ เปรียบเสมือนแค่พระสงฆ์ 

ซึ่งพวกล้มเจ้ามันอ้างว่า มันจะขอยกย่องพระพุทธเจ้า แล้วมันยังกล่าวหาว่า ในหลวงเราแอบอ้างทำเป็นว่าเป็นคนคิดค้นความพอเพียง


จากรูป พวกล้มเจ้าคือ ความเห็น 3 คนล่าง


ผมขออธิบายประเด็นแรกว่า พวกล้มเจ้าอ้างว่าให้เครดิตแก่พระพุทธเจ้านั้น แต่ไม่ค่อยให้เครดิตพระสงฆ์นั้น นี่คือการคิดแบบพวกไม่นับถือศาสนาพุทธโดยแท้ เพราะถ้าพวกนี้นับถือศาสนาพุทธ จะไม่แสดงความเห็นเยี่ยงนี้

และที่สำคัญผู้ที่ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจริง ๆ ล้วนแต่จะรักในหลวงทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมากมาย ต่างยกย่องในหลวงของเราทั้งสิ้น


ประเด็นต่อมา ที่แสดงว่า พวกล้มเจ้ามันรู้ไม่จริง  เพราะในหลวงของเราไม่เคยแอบอ้างว่า พระองค์ทรงคิดค้นหลักความพอเพียง แต่ทั่วโลกต่างยกย่องในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติก็ได้ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงไปแล้ว

และจริง ๆ การนำมาทฤษฎีต่าง ๆ นำมาเปรียบเทียบกับธรรมะของพระพุทธองค์ คงมาเปรียบกันไม่ตรงเท่าไหร่นัก

เพราะธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือสิ่งที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่ต้องมีการพัฒนาต่อยอดมากกว่านี้ แตกต่างจากวิทยาศาสตร์หรือทฤษฎีของนักปรัชญาต่าง ๆ ที่ต้องค้นพบในสิ่งที่วิทยาศาสตร์สงสัยต่อไปได้เรื่อย ๆ วิทยาศาสตร์ต้องต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด

อย่างในพุทธศาสนา เราจะมีพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ต่างนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามานำเสนอ มาอธิบายในแนวทางต่าง ๆ ของพระแต่ละรูปเอง เพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งหมดก็ยังยึดอยู่ในหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนมาทั้งสิ้น

เราจึงได้ยกย่องพระอีกหลาย ๆ รูปเช่นหลวงปู่มั่น ท่านพุทธทาส เป็นต้น

อีกอย่าง ถ้ามีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ทรงประกาศศาสนา ก็จะไม่มีพระสงฆ์มาเผยแพร่คำสอนต่อ ๆ ไปอีก  เราจะเรียกว่าพระพุทธเจ้าประเภทนี้ว่า  พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะถ้าไม่มีพระสงฆ์คอยเผยแพร่คำสอน ก็จะไม่มีศาสนาพุทธมาให้พวกเราได้รู้จักในวันนี้ พวกที่คิดว่าจะไม่ยกย่องพระสงฆ์ที่เผยแพร่คำสั่งสอน แบบที่พวกล้มเจ้ามันพยายามจะบอก นั่นคือความโง่โดยแท้



ส่วนเรื่องแนวทางความพอเพียง กินง่าย อยู่ง่าย เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ อยู่อย่างสมถะนั้น อย่างเช่นในพุทธศาสนานิกายเซนก็ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติมาเป็นพันปีแล้ว นั่นก็คือแนวคิดพอเพียงในพุทธศาสนาเช่นกัน

ฉะนั้น ไม่มีใครคิดค้นความพอเพียงเป็นคนแรกหรอก ก็อย่างที่ผมบอก ความพอเพียงมีอยู่แล้วในแทบทุกศาสนา มีอยู่แล้วในวิถีชีวิตบรรพบุรุษของผู้คนทุกชาติเคยปฏิบัติมานั่นแหละ

แต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและเงินตรา รวมถึงเทคโนโลยีที่มาเร็วมาก ก็เลยทำให้ผู้คนหลงลืมหรือละทิ้งหลักความพอเพียงที่มีแต่ดั้งเดิมไป

การที่ในหลวงนำเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาทรงแนะนำคนไทย เจตนาพระองค์ไม่ได้ต้องการอวดอ้างความเก่ง แต่พระองค์ทรงทำเพราะหวังดีต่อประชาชนของพระองค์ทุกคน

แต่ที่เห็นเด่นชัดมากที่สุด ก็คือเรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ในหลวงทรงแนะนำให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

1.มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน

2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี

3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้

และเพราะในหลวงทรงส่งเสริมและพัฒนาการใช้ดินและการเกษตรแก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน จึงทำให้สหประชาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันดินสากล" เพื่อยกย่องเชิดชูในหลวงของเรา

ถามว่า การจัดโซนพื้นที่ในทฤษฎีใหม่ เคยมีมาก่อนหรือไม่ ?

ความจริงเรื่องแบ่งพื้นที่ในการเกษตรมีมานานแล้วตั้งแต่บรรพบุรุษไทย หรือที่เราเรียกว่า เกษตรประณีต เกษตรสวนผสม เพียงแต่ยังไม่มีใครมาขบคิดให้ชัดเจนว่า แบ่งพื้นที่แบบไหนจะได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับพื้นที่เกษตรที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ได้ประโยชน์สูงสุด

ซึ่งต่อมา ก็มีนักวิชาการเกษตรแนวพอเพียงได้นำหลักคิดในเรื่องนี้ไปต่อยอด เป็น นา 1 ไร่ ได้ 1 แสน เป็นต้น


คลิกอ่าน ที่นี่คือต้นกำเนิด เกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการแรก

คลิกอ่าน พวกไม่จงรักภักดี ตอน 7 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง


----------------

(อัพเดทบทความเพิ่มเติม 22 ต.ค. 57)

จะเรียกในหลวงว่า พระบิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงได่ไหม ?

โดยส่วนตัวในบทความนี้ผมจะไม่เรียกในหลวงว่า พระบิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมก็ไม่เคยได้ยินใครเรียกในหลวงแบบนั้นด้วย

ซึ่งใน คห.ส่วนตัวของผม คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทำชีวิตให้พอเพียง เพราะมีแต่คนชอบฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินเกินตัวทั้งสิ้น จนหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งสูงมากเป็นประวัติการณ์ในช่วง 2-3ปีมานี้ จนถึงัจจุบัน

ดังนั้นผมคิดเองว่า ในหลวงก็ทรงไม่อยากให้ใครมาเรียกพระองค์เช่นนั้นเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยยังล้มเหลวในเรื่องความพอเพียง

แต่พอดีเกิดมีคนถามว่า แล้วถ้าจะเรียกพระบิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง ได้ไหม ?

ในเมื่อมีคนถาม ผมก็ต้องตอบ..




ตัวอย่างเช่น โธมัส อันวา เอดิสัน เป็นบิดาแห่งหลอดไฟ เพราะเขาคือผู้คิดค้นหลอดไฟที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของผู้คนได้อย่างสะดวกสบายเจ้าแรกในโลก

แต่ยุคปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นเจ้าของรางวัลโนเบลชาวญี่ปุ่นผู้คิดค้นหลอด LED ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งหลอดไฟสมัยใหม่ หรือบิดาแห่งหลอกแอลอีดี

บิดาแห่งหลอดไฟสมัยใหม่ คลิกลิงค์นี้
หรือบางคนก็เรียกว่า บิดาแห่งหลอดไฟ LED คลิกลิงค์นี้


คลิกอ่าน รู้ให้จริงเรื่องโครงการของในหลวง

คลิกอ่าน คนไทยอย่าเป็นลูกที่ดื้อของในหลวง

คลิกอ่าน ใครคือตัวต้นเหตุที่ทำให้เกษตรกรไทยยากจน






11 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะค

    ตอบลบ
  2. นี่ก็คือความโง่ของคลั่งเจ้าสินะ

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. อีควายยยยยย มึงก็ไปจับปลาในคลองแดกเอาสิ

    ตอบลบ
  5. ไปเอาชื่อคนอื่นมาประจาน หน้าด้าน แน่จริงเผยชื่อมึงมาไอควาย

    ตอบลบ
  6. ถามจริงทุกวันนี้มึงทำอะไรที่พอเพียงบ้างยัง ไหนบอกมา เอาที่พอเพียงจริงๆนะ ไม่ใช่ฐานะยากจนเป็นคนชั้นต่ำแล้วบอกว่าพอเพียง

    ตอบลบ
  7. มีแต่ข้อมูลบิดเบือน

    ตอบลบ
  8. บอกให้พอเพียงทั้งๆที่เป็นคำพูดจากผู้ที่รวยที่สุดในประเทศ Bruh

    ตอบลบ
  9. แต่อย่าลืมนะคะที่นี่ประเทศไม่ได้เอื้ออำนวยให้พอเพียงอะไรคือคนรวยสอนคนจนให้พอเพียงเปลี่ยนจากสอนให้พอเพียงไปปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไม่ดีกว่าหรอ

    ตอบลบ
  10. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนะคะ ไม่ใช่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถ้ารักในหลวงควรจะรู้ศัพท์ที่ใช้มากกว่านี้นะคะ ขอบคุณที่กล้าเสนอข้อมูล แต่ข้อมูลคุณเพี้ยน การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญนะคะ

    ตอบลบ
  11. คือบิดาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงเขาชื่อว่า "เซโนฟอน" ค่ะซึ่งแนวคิดนี้มีมา2000กว่าปีแล้วค่ะร.9ก๊อปมาค่ะ

    ตอบลบ