วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ยื่นการเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะต่อศาลหรือไม่






ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจยื่นเรื่องการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?


ในขณะที่ผมกำลังเขียนบทความนี้

วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้นัด ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ไปให้ปากคำเกี่ยวกับเหตุผลในการส่งเรื่อง การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลรักษาการเพื่อไทย รวมถึงนักวิชาการฝ่ายแดง จะอ้างว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินให้ทำเช่นนี้ได้

ทีนี้เราต้องมาดูก่อนว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ใช้อำนาจหน้าที่ตรงไหนในการส่งเรื่องการเลือกตั้งเป็นโมฆะ

รัฐธรรมนูญ 2550  ในมาตรา245

มาตรา ๒๔๕ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้

(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

(๒) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๒๔๔ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงได้อาศัยอำนาจตาม รธน. .ในมาตรา 245 ข้อ 1 เพื่อยื่นเรื่องแก่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ซึ่งพวกนักวิชาการแดงเถือก พยายามจะแถว่า เรื่องนี้ไม่เข้าเกณฑ์ เพราะการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ไม่เข้าข่ายกฎหมายที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะนำไปยื่นต่อศาล รธน. ได้

แต่ในความเป็นจริง การเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง รวมทั้งการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ก็ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภาและให้จัดการการเลือกตั้งทั่วไป

ซึ่งพระราชกฤษฎีกา ก็ถือเป็นกฎหมายชนิดหนึ่งเช่นกัน

เพราะ นิยามของพระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี

-------------------------

ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ. 2557 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจมีการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลายมาตรา เช่น ขัด มาตรา 108 คือไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรได้ , การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในช่วงเลือกตั้ง อาจทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ

(ส่วนประเด็นเพราะอะไรถึงจัดการเลือกตั้งภายในวันเดียวไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ใครมีหน้าที่รับผิดชอบก็ไปฟ้องร้องเอาผิดกันไป ซึ่งต้องแยกเป็นคนละประเด็นกัน)

ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงเห็นว่า จากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา พระราชกฤษฎีกาจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ. 2557 จึงอาจมีปัญหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปแล้ว

แม้ตอนที่ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปนั้น ตอนแรกที่ประกาศจะไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่ต้องดูผลของการเลือกตั้งที่ตามมาต่อไปด้วย

แต่ผลจากการเลือกตั้งทั่วไปที่ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งภายในวันเดียวได้ ก็ย่อมส่งผลให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ส่งผลให้พระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป 2 ก.พ.  ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไปด้วย


ผู้ตรวจการแผ่นดินก็จึงส่งเรื่องการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย

เรื่องนี้มันอาจแตกต่างซับซ้อนมากกว่ากฎหมายทั่วไปไปบ้าง เพราะพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง กับผลต่อเนื่องของการจัดการเลือกตั้งมันเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันแบบแยกไม่ออก

เมื่อการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งทั่วไปก็ควรเป็นโมฆะ เพื่อให้ได้มีการจัดการเลือกตั้งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่

ซึ่งนักวิชาการแดง และนักกฎหมายฝ่ายรัฐบาล มันโง่ ระบบความคิดมันไม่ซับซ้อนพอที่จะคิดในเรื่องนี้ได้ครับ หรือมันอาจฉลาด แต่มันจะแถซะอย่างทำไงได้


(เลือกตั้ง 2540 ที่เป็นโมฆะ ก็ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อศาล รธน. วินิจฉัยเช่นกัน)


ซึ่งผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ไม่ควรก้าวคำวินิจฉัยล่วงหน้า หรือประกาศว่าจะไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล แบบที่คนในรัฐบาลชั่ว และพวกแดงถ่อยกำลังกระทำ

หากศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะหรือไม่เป็นโมฆะก็ตาม ทุกคนก็ควรยอมรับคำตัดสินของศาล

เหมือนผมมั่นใจมานานแล้วว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 ต้องเป็นโมฆะ ตามที่ผมได้เขียนไว้ในบทความเก่า "การเลือกตั้ง 2 ก.พ.ของรัฐบาลกบฏยิ่งลักษณ์ต้องเป็นโมฆะแน่นอน"

แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญกลับมีวินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 ไม่เป็นโมฆะ

ผมก็ยอมรับได้ เพราะนี่คือส่วนหนึ่งของวิถีประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

ส่วนบทความนี้ขอสรุปว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ในการยื่นเรื่องการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยครับ





คลิกอ่าน เหตุผลที่ศาล รธน. รับคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีเลือกตั้งเป็นโมฆะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น