เพราะบล็อคมุมมองใหม่เมืองเอก ลิงค์มักมีปัญหาไลค์ไม่ได้ เลยมาเปิดบล็อคใหม่อันนี้แทนครับ
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557
วรเจตน์ นิติราษฎร์ บิดเบือนกฎหมายเลือกตั้งใส่ร้าย กกต.
ผมได้ดูการแถลงของนิติราษฎร์ กรณีการเลือกตั้ง 2 ก.พ.56 ซึ่งพวกนิติราษฎร์ที่นำโดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้ออกมาตำหนิ กกต. ในประเด็นทีว่า ทำไมไม่ขยายการเปิดรับสมัคร สส. ใน 28 เขตภาคใต้ที่ยังไม่มีผู้สมัครออกไปอีก
โดยที่นายวรเจตน์ อ้างว่า กกต.สามารถขยายวันรับสมัครออกไปได้อีก ไม่ได้เป็นอย่างที่ กกต.อ้างว่า ไม่มีกฎหมายรองรับ
-------------------
ก่อนอื่น ขอให้คุณผู้อ่านจำไว้เลยว่า พวกนิติราษฎร์ ต้องการให้มีการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ตามที่รัฐบาลต้องการ จึงพยายามหาเหตุผลแบบแถ ๆ มาบิดเบือนหลอกพวกฟายแดงที่นิยมนิติราษฎร์ ให้หลงเชื่อว่า กกต. พยายามเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล
นายวรเจตน์ อาศัยความเป็นอาจารย์กฎหมายชื่อดัง พูดไปเรื่อย โดยที่ผู้ฟังหากไม่เปิดดูรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.เลือกตั้ง ควบคู่ไปด้วย ก็คงหลงเชื่อคำพูดนายวรเจตน์โดยดี
ก็เพราะคนพวกนี้ใจพวกมันอยากจะเชื่ออยู่แล้ว เลยไม่สนใจว่านายวรเจตน์จะบิดเบือนกฎหมายอย่างไร เพราะนายวรเจตน์ใช้โวหารเลี่ยงกฎหมายบางข้อที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน แต่ไปยกข้อกฎหมายบางข้อมาอ้างเพื่อตีความเข้าข้างฝ่ายตนแทน
----------------------
ประเด็น เปิดรับสมัคร สส.แบบแบ่งเขตอีกรอบได้ไหม ?
ขอตอบว่า กกต.ไม่สามารถขยายเวลาการรับสมัครเลือกตั้งสส. แบบแบ่งเขตออกไปได้อีก หรือเปิดรับสมัครใหม่ได้อีก ก็เพราะ
ใน มาตรา 7 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. ๒๕๕๐ได้กำหนดไว้ตามนี้
มาตรา ๗ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินยี่สิบวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน
ทีนี้เรามาดูเรื่องเงื่อนไขของเวลากัน
พระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธุ์ 2556 ได้ประกาศใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม 2556
หากนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศใช้ไปไม่เกิน 20 วัน ที่ต้องเปิดให้มีการรับสมัครการเลือกตั้ง สส. แบบแบ่งเขต กกต. ก็จะต้องเปิดรับสมัครสส.แบบแบ่งเขตไม่เกินวันที่ 29 ธันวาคม 2556
แต่ กกต. ได้ประกาศให้วันที่ 28 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นวันรับสมัครเลือกตั้ง สส. แบบแบ่งเขตแล้ว (ซึ่งก็ไม่เกิน 20 วันหลังจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาประกาศใช้)
ซึ่งระยะเวลาการเปิดรับสมัครก็ไม่น้อยกว่า 5 วันตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพราะวันที่ 28 ธ.ค. 56 - 1 ม.ค.57 ก็เท่ากับ 5 วันพอดี
แต่เมื่อมี 28 เขตในภาคใต้ ไม่มีผู้สมัครเลือกตั้ง กกต.ก็ไม่สามารถเปิดรับสมัคร สส.แบบแบ่งเขตได้อีก เพราะเงื่อนไขของเวลามันครบไปหมดแล้ว
ถ้า กกต. เปิดรับสมัครใหม่อีกรอบ ก็จะเกิน 20 วันหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภามีผลบังคับใช้
อธิบายแบบนี้พอเข้าใจไหมครับ ?
-----------------------------------
วรเจตน์ อ้างว่า เมื่อใน 28 เขตภาคใต้ไม่มีผู้สมัคร กกต.ก็ควรใช้กฎหมายในมาตราอื่นมาเทียบเคียงใช้แทน
ซึ่งคือ พ.ร.บ.เลือกตั้งในมาตรา 88 ที่ว่าถ้าผู้สมัครได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ก็ให้ กกต.ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเปิดรับสมัคร สส.แบบแบ่งเขตใหม่ได้
วรเจตน์มันให้ กกต. เปิดรับสมัคร สส.แบบแบ่งเขตอีกรอบ โดยใช้มาตรา 88 มาเทียบเคียงใช้แทน
ดู ๆ มันทำ วรเจตน์มันพยายามจะแถ ซึ่งมาตรา 88 มันคนละเรื่องกับกรณี 28 เขตภาคใต้ไม่มีผู้สมัครเลย
วรเจตน์มันพูดง่าย เพราะมันไม่ใช่ กกต. เพราะถ้าหาก กกต. ไปเปิดวันรับสมัครใหม่ ก็จะผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง แล้วใครซวยล่ะ ?
แน่นอน กกต. ซวย!! แต่วรเจตน์ ไม่ได้ซวยด้วย
วรเจตน์ มันมีหน้าที่ออกมาบิดเบือนกฎหมายใส่ร้าย กกต. ให้เสื้อแดงโง่ ๆ คล้อยตามและหลงเชื่อเท่านั้น
--------------------
กรณี กกต.ลาออกทั้งหมด
ไอ้วรเจตน์ มันบอกว่า ถ้า กกต. ลาออก ก็ต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อไป เหมือนกรณี กกต.อยู่ครบวาระ ต้องอยู่ทำหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าจะมี กกต.ชุดใหม่มาแทน
ซึ่งนี่คือการตีความแถเข้าข้างฝ่ายตัวเองของวรเจตน์
เพราะในอดีตที่ผ่านมา เคยมี กกต. ลาออกก่อนครบวาระ ก็ไม่เห็นต้องอยู่ทำหน้าที่รักษาการใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น กรณีพลเอกศิรินทร์ ธูปกล่ำ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (21 ต.ค. 44 - 15 พ.ค. 45) ลาออกจากตำแหน่งเมื่อ 15 พฤษภาคม 2545 ก็ไม่ได้มาอยู่รักษาการใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะเมื่อไม่มี กกต. ก็สรรหาใหม่ ก็เท่านั้น
แล้วนายวรเจตน์ ก็ยังไปอ้างว่า "ถ้าใคร ๆ นึกลาออกจากหน้าที่ก็ทำได้ตามอำเภอใจ ต่อไปทหารเกณฑ์บอกขอลาออกจากการเป็นทหารเกณฑ์ก็ได้น่ะสิ จริงไหม?"
นายวรเจตน์ มันมั่วอีกแล้ว
เพราะกรณีทหารเกณฑ์นั้น จะนำมาอ้างเทียบเคียงกับอาชีพอื่น ๆ ไม่ได้ เพราะกรณีทหารเกณฑ์เป็นเพียงไม่กี่กรณีเท่านั้นที่กฎหมายบังคับว่า ต้องอยู่ทำหน้าที่จนครบวาระ จะมาลาออกกลางคันไม่ได้ เหมือนที่ผมเคยยกตัวอย่างกรณีกฎหมายการเกณฑ์ทหารในบทความ ตีความรธน. มาตรา 181 ตอน2
แต่อาชีพอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ไม่มีกฎหมายใดมาบังคับว่าไม่ให้ลาออก หรือหยุดทำหน้าที่ไม่ได้ เพราะนั่นจะขัดหลักการของเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน
ไอ้วรเจตน์ มันอ้างกฏหมายมั่วๆ เพื่อเข้าข้างฝ่ายตนเอง เพราะมันรู้ว่า มีแต่พวกควายเท่านั้นที่ฟังมันและเชื่อมันทันทีโดยไม่สนใจหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
------------------
กรณี กกต. เหลือแค่ 2 คน
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา8 ได้กำหนดว่า กกต.ต้องมีอย่างน้อย 3 ใน 4 ของจำนวนกกต.ที่มีอยู่ และต้องไม่น้อยกว่า 3 คน จึงจะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
ถ้าเกิดกรณี กกต.ลาออกไป 3 คนแล้วเหลือแค่ 2 คนล่ะ ?
ไอ้วรเจตน์ ก็อ้างอีกว่า ถ้ามี กกต.ที่ลาออกไป ก็ต้องอยู่ทำหน้าที่รักษาการต่อไป ห้ามหยุดทำหน้าที่
โถ ๆ ไอ้วรเจตน์นี่มันมั่วจริง ๆ ไม่มีกฎหมายไหนหรอกที่จะมาบังคับว่า คุณลาออกจากราชการไปแล้วก็ต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อไป ไม่งั้นจะถูกกฏหมายเรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มาเล่นงาน
ไปหามาเลยเคยมีกรณีไหนในประวัติศาสตร์บ้าง ที่อาชีพข้าราชการทั่วไปหรือข้าราชการการเมืองได้ลาออกไปแล้ว และไม่ขอรักษาการต่อไป จะมีกฏหมายมาลงโทษ
ต่อให้อยู่ครบวาระ แล้วกฎหมายกำหนดให้รักษาการต่อก็ตาม กฎหมายก็มาลงโทษไม่ได้ เพราะหน้าที่ตรงนี้มันมีสิทธิรวมอยู่ด้วย
ตัวอย่างเช่น รักษาการนายกรัฐมนตรี แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้อยู่รักษาการต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่มาก็ตาม
แต่หากอยากนายกจะลาออกจากรักษาการ ก็ย่อมกระทำได้ เพราะมันคือสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
(อ้างตามรัฐธรรมนูญในมาตรา182 เรื่องความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เช่น 1.ตาย 2.ลาออก)
เมื่อไม่มีรักษาการนายก รองนายกก็รักษาการแทนนายกได้ หรือถ้าลาออกจากรักษาการทั้งหมดรัฐบาลเลย ปลัดกระทรวงก็รักษาการแทนได้เพื่อรอรัฐบาลใหม่ต่อไป
การลาออกจากหน้าที่ ไม่มีบทลงโทษใด ๆ ทั้งสิ้น ทหาร ตำรวจ ก็ลาออกได้ หากไม่อยากทำหน้าที่ต่อไป
เพราะประมวลกฎหมายอาญา เรื่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา157 จะบังคับใช้ได้กับเจ้าพนักงานผู้ที่ยังไม่ลาออกจากราชการเท่านั้น
คลิกอ่าน ความโง่เสื้อแดงกับการเลือกตั้ง2ก.พ.ที่จะเป็นโมฆะ
คลิกอ่าน ความโง่ของเสื้อแดงและนิติราษฎร์ ต่ออำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผ่านมาเจอครับ นอกจากถ้อยคำหนักๆที่มีใส่มาบ้างเป็นครั้งคราวแล้ว ขอชื่นชมว่าคุณให้เหตุผลทางกฎหมายได้ดีมากนะครับ
ตอบลบนอกจากเรื่องที่คุณยกมาแล้ว ผมอยากจะเสริมอีกสัก 1- 2 ประเด็นครับ
1. ถ้าดูตัวบทในขั้นตอนของการสรรหากกต. เราจะพบมาตรา 206 ที่จะเห็นถ้อยคำสำคัญหนึ่ง คือ เวลาที่เสนอชื่อบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่ง กกต. จะต้องเสนอพร้อมกับ "ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ" ข้อความนี้สำคัญตรงที่ว่า คนที่จะเป็น กกต. เค้าต้องมีความเต็มใจ ที่จะดำรงตำแหน่งด้วย และเมื่อไหร่ที่เขาไม่อยากจะเป็น เขาก็สามารถลาออกได้ มันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาไม่มีความเต็มใจที่จะดำรงตำแหน่งนี้แล้ว มันจึงเป็นสิทธิและเสรีภาพของ กกต..ที่จะลาออกได้ อย่างที่คุณว่ามา
2. มาตรา 232 วรรคสอง ที่วรเจตน์อ้างถึงนั้น เขียนไว้ชัดเจนว่าเฉพาะ "กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ" เท่านั้น ที่ต้องอยู่รักษาการ แต่วรเจตน์ก็ตีความไปว่าเจตนารมณ์ให้ต้องมีการรักษาการ แล้วก็ขยายมาถึงกรณีลาออก ทั้งที่รัฐธรรมนูญเขียนจำกัดไว้กรณีเดียวเท่านั้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเป็นการพ้นตำแหน่งโดยเหตุอื่นล่ะครับ เช่น ขาดคุณสมบัติขึ้นมาพร้อมๆกัน หรือถูกคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกพร้อมๆกัน อย่างนี้ก็ต้องอยู่รักษาการต่อไปหรือ ผมแปลกใจที่ว่า วรเจตน์ชอบว่าคนอื่นทำอะไรโดยไม่อ้างตัวบทกฎหมายเสมอ แต่คราวนี้ดันมาขยายถ้อยคำในกฎหมายไปเอง ซึ่งไม่ใช่ว่่าทำไม่ได้นะครับ แต่เหตุผลของวรเจตน์มันไม่มีน้ำหนักพอจริงๆ
3. อย่างที่คุณยกมาแหละครับว่า ถ้าจะอ้างจริงๆ ต้องให้น้ำหนักไปกับประเด็นที่ว่า "กกต.ไม่มีสิทธิลาออก" แล้วก็อย่างที่คุณบอกแหละครับ ว่าทำไมถึงจะไม่มีสิทธิลาออก ในเมื่อไม่มีกฎหมายมาบังคับว่าต้องทำหน้าที่ ไปเอาเรื่องทหารเกณฑ์มาเทียบมันก็เทียบกันไม่ได้เพราะกฎหมายบังคับไว้อยู่แล้ว
ศักยภาพของวรเจตน์ สามารถพิจารณาแง่มุมพวกนี้ได้แน่นอน แตเขาเลือกที่จะไม่ทำ เพราะมีธงในใจอยู่แล้วว่าจะต้องเลือกตั้งให้ได้ จึงเลือกที่จะตัดสิทธิในการลาออกของ กกต. เพื่อรักษาสิทธิในการเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ. 57 (ย้ำว่าเป็นสิทธิเลือกตั้งในวันนี้นะครับ เพราะต่อให้กกต. ลาออกหมด ประชาชนชาวไทยก็ยังมีสิทธิเลือกตั้งอยู่ดี แต่ว่าไม่ได้เลือกในวันที่ 2 ก.พ. เท่านั้น)
ทั้งขยายตัวบท ทั้งเทียบกับเรื่องที่นำมาเทียบกันไม่ได้ เรื่องพวกนี้วรเจตน์และสหาย ชอบนำมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามเสมอ แต่วันนี้กลับกล้าทำเสียเอง
สุดท้าย ขอบคุณอีกครั้งนะครับ ที่คุณเขียนบทความนี้ อย่างน้อยให้ปรากฏการโต้แย้งทางเหตุผลกับคนกลุ่มนี้ไว้บ้าง คนที่พยายามหาคำตอบอาจจะได้เห็นอะไรขึ้นมาบ้างครับ