การแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ 50 ที่มาสว.นั้น เนื้อหาที่แก้ไขหลัก ๆ คือ
1.ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ว.ไม่จำเป็นต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 5 ปี
2.ให้ที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้ง 200 คน
3. รวมทั้งผู้ที่เป็นคู่สมรส บุพาการี หรือเครือญาติของ ส.ส.สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ได้
เมื่อพิจารณาเนื้อหาแก้ไขทั้ง 3 ข้อรวมกัน
ย้ำ ! ว่า ศาล รธน. ได้พิจารณาเหตุผลของเนื้อหาทั้ง 3 ข้อประกอบกันว่า ที่มาสว. ในร่างแก้ไขแทบไม่มีอะไรที่แตกต่างจากที่มา สส. เลย ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกันมาก
นี่แหละ ที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า มันถอยหลังลงคลอง จะทำให้สภาสูงและสภาล่างมีที่มาเหมือนกัน ซึ่งจะทำให้หลักการถ่วงดุลอำนาจของ 2 สภาบกพร่อง กลายเป็นสภาผัวเมีย
ขอย้ำ ! ว่า ต้องมองทั้ง 3 ข้อรวมกันนะครับ อยากแยกดูเฉพาะข้อใดข้อหนึ่ง
ผมเชื่อว่า หากไม่มีการแก้ไขที่มา สว. โดยเฉพาะใน ข้อ 1 และ ข้อ 3 เพียงเท่านี้ก็อาจไม่มีใครไปยื่นให้ ศาล รธน. วินิจฉัยคดีนี้ก็ได้
ส่วนประเด็นที่ สว. ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมเชื่อว่า ทั้งฝ่ายค้านและวุฒิสภาบางส่วนที่คัดค้านน่าคงพอรับได้ และคงไม่ถึงกับต้องไปฟ้องศาล รธน.
แต่พวกเพื่อไทยและเสื้อแดง เอาเฉพาะข้อ 2 ไปเล่นเพื่อโจมตีศาล รธน. ว่า การเลือกตั้ง สว. จะไม่เป็นประชาธปไตยได้ยังไง ??
ดังนั้น ประเด็นแก้ไขที่มา สว. ตามเหตุผลข้อ 1 และข้อ 3 นี่แหละที่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด จนต้องมีการส่งเรื่องนี้จนเป็นคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญว่า ขัดต่อหลักการรัฐธรรมนูญ 2550
--------------------------
ถามว่า การออก พ.ร.บ. เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ ใช่ เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
ในเมื่อการออก พ.ร.บ. เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ศาล รธน. ก็มีอำนาจตรวจสอบว่า พ.ร.บ.นั้น ๆ ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาใช่หรือไม่ ?
คำตอบก็คือใช่
และเมื่อใช้ตรรกะและเหตุผลเดียวกันกับการออก พ.ร.บ.
ในเมื่ออำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของรัฐสภา ศาล รธน. ก็ย่อมมีอำนาจตรวจสอบตามคำร้องว่า ที่มาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรานั้น ๆ ได้มีการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เช่นกัน
ตามรูปนี้ อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ในข้อ 1 และข้อ 6 ที่ขีดเส้นใต้สีเหลืองไว้
(รูปจากเว็บศาล รธน.)
ขอให้พิจารณาทั้ง ข้อ 1 และ ข้อ 6 ไปพร้อม ๆ กัน เราจะเห็นทันทีว่า
ในข้อ 1 คำว่าร่างกฎหมาย ไม่ได้ระบุว่า กฎหมายอะไร แสดงความว่า ครอบคลุมทุกร่างกฎหมาย รวมถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
ในข้อ 6 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการวินิจฉัยว่ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ๆ มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?
ซึ่งก็มีการกระทำหลายอย่างของ สส.รัฐบาล ประธานและรองประธานรัฐสภาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่นการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน เป็นต้น
------------------------------
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้รับความคุ้มครองและผูกพันทุกองค์กร
ตามรูปนี้ ในมาตรา 27 รัฐธรรมนูญ 2550
และในมาตรา 216 วรรค 5 "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"
ผมยังไม่แน่ใจว่า คำว่า คำวินิจฉัยของศาลย่อมได้รับความคุ้มครอง นั่นหมายถึงอะไร ? ครอบคลุมแค่ไหน ?
ผมรู้แน่แค่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 27
แล้วใครก็ตามที่ประกาศไม่ยอมรับอำนาจและคำตัดสินของศาล ก็เท่ากับว่า กระทำขัดรัฐธรรมนูญ (มาตรา27) เป็นความผิดและมีโทษแน่นอน
-----------------------
นางธิดา นกแสก ได้ปราศัยบนเวทีเสื้อแดง ที่สนามรัชมังคลาฯ ว่า "อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา"
ก็ถูกต้อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ประโยคนี้ไม่ผิดแต่อย่างใด
แต่อำนาจในการตรวจสอบการกระทำใด ๆ โดยมิชอบรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ในเมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยตามคำร้องได้ตามมาตรา 68 ซึ่งผมเขียนอธิบายไว้แล้วในบทความ คลิกอ่าน ความโง่ของนิติราษฎร์ กับคดีแก้ไขรธน. ที่มา สว.
หากไม่อยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป ก็ควรทำตามหลักนิติธรรม ไม่กระทำการใดๆ โดยมิชอบรัฐธรรมนูญ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญแนะนำไว้นั่นแหละถูกต้องที่สุด
คลิกอ่าน อะไรเอ่ย ศาลรัฐธรรมนูญ กับ สส.เพื่อไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น