วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

ความโง่รัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่เป็นโมฆะ






รัฐบาลรักษาการของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ประกาศ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2557 ที่ผ่านมานั้น

มันกลับกลายเป็น พรก.ฉุกเฉินที่เป็นโมฆะ เพราะ รัฐบาลที่แท้จริงถูกยุบสภาไปแล้ว คงเหลือแต่ผู้ทำหน้าที่รักษาการแทนรัฐบาลเท่านั้น

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

มาตรา180 (2) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร


ผู้ที่จะประกาศ พรก.ฉุกเฉินได้ มีเพียงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี กฎหมายไม่ได้ระบุว่า สามารถออก พรก.ฉุกเฉินได้


และใน พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในมาตรา 5 ได้กำหนดว่า

มาตรา ๕ เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นและนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้ง ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อน แล้วดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ดำเนินการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำหนด หรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ให้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลา ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกินสามเดือน

เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น

----------------------

ถ้าใครยังคิดว่า ยังไม่ชัวร์ ก็ลองดู รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ข้อ(2) และข้อ(4)ได้กำหนดว่า

(2) รัฐบาลรักษาการ ต้องไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

(4) รัฐบาลรักษาการ ต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ เพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำใดอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการเลือกตั้งกำหนด




การประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ก็ต้องมีเบี้ยเลี้ยงฉุกเฉินให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.ฉุกเฉิน ฉะนั้นรักษาการรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ จึงกระทำขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ข้อ (2)

และการที่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ทั้งที่รัฐบาลรักษาการมีส่วนได้เสียในการเลือกตั้งด้วย ก็อาจเข้าข่ายกระทำขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ข้อ(4) ได้ด้วยเช่นกัน


เพราะใน พรก.ฉุกเฉิน มาตรา 9 (3) กำหนดว่า

(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่วราชอาณาจักร

จึงมีข่าวลือว่า รัฐบาลรักษาการได้ไปกดดัน กสทช. ให้ปิดสถานีทีนิวส์ และสถานีบลูสกาย ที่เป็นกระบอกเสียงต่อต้านรัฐบาลรักษาการ ซึ่งอาจทำให้พรรคเพื่อไทยมีคะแนนตกในการเลือกตั้งได้

----------------------

ยิ่งลักษณ์ ลงนามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ด้วยตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เพราะเมื่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้สิ้นสุดไปแล้วจากการยุบสภา คงเหลือแต่ตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

การที่ยิ่งลักษณ์ ลงนามด้วยการใช้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเหมือนเดิม จึงทำให้ พรก.ฉุกเฉิน ฉบับนี้เป็นโมฆะ !!



คลิกที่นี่เพื่อดูไฟล์ต้นฉบับในราชกิจจานุเบกษา


ถามว่า ทำไมยิ่งลักษณ์ไม่กล้าลงนามด้วยตำแหน่ง รักษาการนายกรัฐมนตรี ??

ก็เพราะ มันต้องการบิดเบือนกฎหมายไงครับ

----------------------

สรุปได้เลยว่า รัฐบาลรักษาการของยิ่งลักษณ์ ประกาศ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินฉบับวันที่ 21 ม.ค.57 จึงไม่ชอบด้วยกฏหมายสูงสุดของประเทศครับ

และถ้ารัฐบาลมีความผิดในการออก พรก.ฉุกเฉิน ฉบับนี้จริง โทษอาจสูงสุดถึงขั้นออกใบแดงให้คนของรัฐบาลในการเลือกตั้ง แล้วอาจพาลเลยไปถึงขั้นตัดสินยุบพรรคได้

ซึ่งหากออกมาในแนวนั้น ควายแดงก็จะใช้ตรรกะควาย ๆ เหมือนเดิมว่า อำมาตย์เผด็จการกลั่นแกล้งพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

ถุย!! ไอ้ฟายแดงโง่ไม่มีวันสร่าง

-------------------

สิ่งที่ผมกลัวคือ ศาล รธน. จะเกิดปอดขึ้นมา จนไม่กล้าทำความถูกต้องให้ปรากฎ เพราะเกรงกลียุคจากอันธพาลเสื้อแดง

v

v


ล่าสุด วันที่ 19 ก.พ. 57 ศาลแพ่งตัดสินไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตามคำตัดสินนี้

"การออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่รัฐบาลประกาศและบังคับใช้เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจของฝ่ายบริหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้จบโดยเร็ว แต่ห้ามนำประกาศ 9 ข้อที่ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ออกมาตามการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาใช้กับผู้ชุมนุม เพราะเป็นประกาศออกมาใช้บังคับแค่บางกลุ่มเท่านั้น และห้ามใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม เนื่องจากเห็นว่าผู้ชุมนุมได้ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ โดยให้มีผลบังคับใช้่ทันที"

ศาลสั่งห้าม ศรส. กระทำ 9 ข้อ ตามนี้

1.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ใช้หรือสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ใช้กำลังหรืออาวุธเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์ และประชาชนที่ได้ชุมนุมกันโดยสงบ และปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 63 วรรคหนึ่ง
2.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม มีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใดที่ได้ใช้ หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำการ หรือสนับสนุนการชุมนุมของโจทก์และประชาชน
3.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ออกคำสั่งตรวจค้นหรือถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางของโจทก์และประชาชน
4.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามการซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการชุมนุมของโจทก์และประชาชน
5.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามกระทำการอย่างใดๆ ที่เป็นการปิดการจราจร ปิดเส้นทางคมนาคม หรือกระทำการอื่นใด ที่ทำให้ไม่อาจใช้เส้นทางคมนาคมได้ตามปกติ ในทุกเขตพื้นที่ที่โจทก์และประชาชนใช้ในการชุมนุม
6.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ประกาศกำหนดพื้นที่ที่ห้ามมีการชุมนุมของโจทก์และประชาชน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
7.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะของโจทก์และประชาชนในการชุมนุม
8.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม ห้ามโจทก์และประชาชนใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ
9.ห้ามมิให้จำเลยทั้งสาม สั่งให้อพยพโจทก์และประชาชนออกจากพื้นที่การชุมนุม และห้ามมิให้ออกคำสั่งห้ามโจทก์และประชาชนเข้าไปในพื้นที่ชุมนุม



แม้ผมไม่เห็นด้วยกับศาลแพ่ง แต่ผมก็ยอมรับคำตัดสินของศาลแพ่ง เพราะสิ่งที่ศาลตัดสินนั้น แม้ไม่ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ก็ตาม

แต่ในคำสั่งศาลก็เท่ากับทำให้คำสั่ง ศรส. เริ่มเป็นง่อยแล้ว 555

ที่สำคัญ กปปส. สามารถฟ้องร้องเอาผิดไอ้พวก ศรส. ได้ เพราะมันสั่งสลายการชุมนุมเป็นการขัดคำสั่งศาล ถึงแม้พวกมันจะพยายามเลี่ยงบาลีว่า ไม่ได้สลายการชุมนุมก็ตาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น