วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ถ้าผู้สมัคร สส. ทุจริตเลือกตั้ง พรรคการเมืองต้นสังกัดต้องรับผิดชอบ








พอมีเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ เปิดเผยออกมา

เท่าที่ผมอ่านก็เห็นว่า ร่าง รธน. ฉบับนี้จะเน้นไปที่สกัดคนโกง หรือสกัดคนที่เคยต้องคดีคอร์รัปชั่นมาก่อนไม่ให้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง

คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่นเน้นป้องกันคนที่เคยมีประวัติด้านทุจริตไม่ให้มีโอกาสกลับมาเล่นการเมืองได้อีก

แต่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ กลับลืมว่า ถ้ากรณีคนที่ไม่เคยมีประวัติทุจริต หรือ โกง มาก่อนเลยล่ะ แต่กลับเพิ่งมาโกงในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง จะมีมาตรการลงโทษพรรคการเมืองต้นสังกัดอย่างไรบ้าง

ผมถึงจำเป็นต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรกำหนดบทลงโทษต่อพรรคการเมืองที่ไม่ใส่ใจในการเฟ้นหาคนดีเข้าสภาด้วยตามนี้

เรื่อง การตัดสิทธิผู้สมัคร สส. ที่ทุจริตเลือกตั้ง ต้องตัดสิทธิพรรคการเมืองต้นสังกัดด้วย

คือผมขอเสนอว่า นอกจากตัดสิทธิผู้สมัครที่ทุจริตการเลือกรายนั้น ๆ ไปแล้ว ก็ควรตัดสิทธิพรรคการเมืองในเขตนั้น ๆ ด้วยอย่างน้อย 5 ปี เช่น

สมมุติ ถ้าพรรคการเมือง A ส่งผู้สมัครชื่อนายใหม่ เมืองเอกลงในเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่

แล้วต่อมา กกต. ได้ให้ใบแดงแก่นายใหม่ เมืองเอก จากข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง และต่อมาศาลได้พิพากษาให้ตัดสิทธิทางการเมืองต่อนายใหม่ เมืองเอก ไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม รธน. ที่กำหนดไว้

ผมเห็นว่า รธน.ก็ควรกำหนดให้ตัดสิทธิพรรคการเมืองที่เป็นต้นสังกัดของนายใหม่ เมืองเอก ที่ต้องหมดสิทธิส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ ไปอีกอย่างน้อย 5 ปีด้วย เพื่อร่วมแสดงความรับผิดชอบ

ไม่ใช่แค่ตัดสิทธิเฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แล้วพรรคการเมืองต้นสังกัดไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบอะไรเลย

ยังปล่อยพรรคการเมืองนั้น ๆ ยังส่งผู้สมัครลงในเขตที่ลูกพรรคตัวเองมีปัญหาทุจริตได้เหมือนเดิม แบบนี้ไม่ถูกต้อง

เพราะพรรคการเมืองจะไม่เข็ดหลาบ และไม่ใส่ใจในการคัดสรรคัดกรองหาคนดีมาลงสมัครเลือกตั้งให้มากขึ้น

จึงเห็นควรกำหนดในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ต้องตัดสิทธิพรรคการเมืองต้นสังกัดของผู้สมัครที่ทุจริตหมดสิทธิส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในเขตที่มีปัญหาทุจริตไปอีกอย่างน้อย 5 ปี





----------------

แพ้คะแนนโหวตโน พรรคการเมืองต้นสังกัดก็ต้องถูกเว้นวรรค

เพราะรัฐธรรมนูญที่ผ่าน ๆ มา ไม่ให้ความสำคัญกับคะแนนโหวตโนเท่าที่ควร

เพราะสุดท้ายคนที่แพ้ตะแนนโหวตโนก็ยังสามารถกลับมาเลือกตั้งซ่อมใหม่ได้ เพื่อหา สส. เข้าสภาให้ได้ในที่สุด และพรรคการเมืองต้นสังกัดก็ไม่เคยมีส่วนรับผิดชอบอะไรเลย หากผู้สมัครของคนแพ้คะแนนโหวตโน

ดังนั้นผมถึงอยากเสนอว่า

ในกรณีคะแนนผู้สมัคจากพรรคการเมืองใดก็ตามที่มีคะแนนแพ้คะแนนโหวตโนในเขตนั้น ๆ พรรคการเมืองต้นสังกัดที่แพ้คะแนนโหวตโนในเขตนั้น ๆ ก็ต้องหมดสิทธิส่งผู้สมัครลงเพื่อเลือกตั้งซ่อมใหม่เพื่อหา สส. เข้าสภาในสมัยนั้นด้วย

หมายถึง พรรคการเมืองต้นสังกัดต้องเว้นวรรคการส่งผู้สมัครในเขตนั้นไปเลย ไว้รอสมัยหน้าจึงค่อยมีสิทธิส่งผู้สมัครได้ใหม่




คลิกอ่าน เจ้าอาวาสส้วมทอง คู่กับ นางโพยโฟร์ซีซั่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น