วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ที่มาชื่อพันธบัตรชุด 'สุขกันเถิดเรา' มันคือ พันธบัตรเสนียดจัญไร






กระทรวงการคลังและ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กำลังจะเปิดขายพันธบัตรที่มีชื่อว่า พันธบัตรชุดสุขกันเถิดเรา ในวันที่ 12 ม.ค. 58 นี้

โดยเจตนาของพันธบัตรนี้ก็คือ จะเอาไปจ่ายหนี้จากโครงการจำนำข้าวที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ก่อหนี้เน่ามูลค่ามากกว่า 5 แสนล้านบาทไว้นั่นเอง



----------------

ทำไมไม่ควรซื้อพันธบัตรชุด สุขกันเถอะเรา

เหตุผลที่ไม่ควรซื้อพันธบัตรชุด สุขกันเถอะเรา ผมขอยกคำอธิบายเมื่อหลายวันก่อนของผม มาลงแล้วกันครับ






------------

ต่อไปนี้ขอให้อ่านข่าวประกอบการตัดสินใจ

กรุงเทพธุรกิจ

"คลัง" ประเดิมปี 58 ออกบอนด์ออมทรัพย์รุ่นพิเศษ "สุขกันเถอะเรา" วงเงิน 1 แสนล้านบาท อายุ 5-10 ปี เพื่อใช้หนี้โครงการจำนำข้าว 

ชูดอกเบี้ยสูงเฉลี่ย 3.8-4% เปิดขาย 12-23 ม.ค.นี้ หวังระดมเงินรีไฟแนนซ์เงินกู้ระยะสั้นโครงการรับจำนำข้าว และลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี เผยรัฐค้างหนี้ ธ.ก.ส. วงเงิน 2.3 แสนล้าน

กระทรวงการคลัง กำลังทยอยออกพันธบัตร เพื่อนำเงินที่ได้ไปรีไฟแนนซ์หนี้เงินกู้ที่เกิดจากโครงการจำนำข้าวในรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งขณะนี้เหลือวงเงินกู้ที่รอการชำระจำนวน 4.93 แสนล้านบาท 

โดยล่าสุดได้ประกาศเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ รุ่น "สุขกันเถอะเรา" วงเงิน 1 แสนล้านบาท เป็นพันธบัตรของกระทรวงการคลัง 5 หมื่นล้าน และเป็นพันธบัตรของ ธกส. อีก 5 หมื่นล้าน

ทั้งนี้ พันธบัตรของกระทรวงการคลัง มีอายุ 10 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเป็นแบบขั้นบันได คือ ในปีแรกถึงปีที่ 3 จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ส่วนปีที่ 4-7 จะอยู่ที่ร้อยละ 4 และ ปีที่ 8-10 จะอยู่ที่ร้อยละ 5 หรือ เฉลี่ยตลอด 10 ปี อยู่ที่ร้อยละ 4 จำหน่ายผ่านธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

ส่วนพันธบัตร ธ.ก.ส. มีอายุพันธบัตร 5 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 3.8 จำหน่ายผ่าน ธ.ก.ส. ทุกสาขา ทั้งนี้ จะเริ่มเปิดจำหน่ายในวันที่ 12 -23 ม.ค. 2558



โดยในจำนวนนี้ 5 หมื่นล้านบาท จะนำไปรีไฟแนนซ์เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงินในโครงการรับจำนำข้าวดังกล่าว

การทยอยออกพันธบัตร เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เงินกู้จำนำข้าวดังกล่าว เพื่อลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปีเพื่อมาชำระหนี้ เนื่องจากรัฐบาลต้องการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนให้มากขึ้น


ต้องใช้หนี้จำนำข้าว 30 ปี 

ขณะที่วงเงินงบประมาณมีจำกัด โดยรัฐบาลมีแผนจะใช้เวลาในการรีไฟแนนซ์หนี้ก้อนนี้ยาวถึง 30 ปี โดยระยะเวลาดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับเม็ดเงินชำระหนี้ที่ได้จากการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลด้วย


พันธบัตรดอกเบี้ยสูง ใครจ่าย ?

นายสมหมาย ภาษี มั่นใจว่า การเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษนี้ จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงเวลาเดียวกัน โดยพันธบัตรดังกล่าวมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น

"ผมมั่นใจว่า พันธบัตรล็อตนี้จะขายได้หมด เพราะอัตราดอกเบี้ยจูงใจ อย่างไรก็ดี เราแผนที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์อีกรอบในช่วงที่เหลือของปีนี้" นายสมหมาย กล่าว

รับภาระดอกเบี้ยสูงขึ้นเล็กน้อย

ด้านนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ส่วนของภาระหนี้จากการดำเนินโครงการจำนำข้าว ส่วนที่เป็นเงินกู้ 4.93 แสนล้านบาทนั้น มีหนี้ที่ครบกำหนดปีนี้ 1.54 แสนล้านบาท โดยที่ผ่านมาได้ออกพันธบัตรรีไฟแนนซ์หนี้ไปแล้ว 5.33 หมื่นล้านบาท

ล่าสุดออกพันธบัตรออกทรัพย์รุ่นพิเศษอีก 5 หมื่นล้านบาท จึงเหลืออีก 5.07 หมื่นล้านบาท ที่ต้องพิจารณารูปแบบการกู้เงินต่อไป ซึ่งจะเน้นปรับโครงสร้างหนี้จากระยะสั้นที่กู้แบบเทอมโลนจากสถาบันการเงิน มาเป็นพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น ขณะนี้มีสัดส่วนของพันธบัตรเพิ่มจาก 46% มาอยู่ที่ 64% หลังจากที่ออกบอนด์ออมทรัพย์ล่าสุด

ทั้งนี้ หลังออกพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษที่มีดอกเบี้ยสูง ทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้โครงการนี้สูงขึ้นเล็กน้อย จากปัจจุบันที่มีเงินกู้เฉลี่ย 3% ต่อปี


รัฐค้างหนี้ ธ.ก.ส. 2.3 แสนล้าน

ส่วนการชำระคืนเงินต้นทั้งจากการกู้ยืมและการใช้สภาพคล่องของธนาคาร ซึ่งขณะนี้ มียอดรวมที่รัฐบาลต้องใช้หนี้ ธ.ก.ส.อยู่จำนวน 2.3 แสนล้านบาท ก็ต้องรอเงินจากการขายข้าวและการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายในปีต่อไป หลังจากที่ปี 2558 ได้รับจัดสรรงบชะคืนเงินต้น 3 หมื่นล้านบาท และชำระดอกเบี้ยประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

สำหรับการขายข้าว ล่าสุดหลังจากสอบถามไปยังกฤษฎีกา และได้รับการยืนยันให้ขายข้าวในสต็อกรัฐบาลได้ เพื่อไม่ให้ข้าวมีคุณภาพเสื่อมลงไปอีก หากเก็บไว้นาน และเป็นภาระต้นทุนในการจัดเก็บ ทำให้ทางกระทรวงพาณิชย์ เริ่มระบายข้าวออกมาบางส่วนแล้ว น่าจะได้รับเงินเข้ามาอีกทางหนึ่ง แต่ต้องทยอยขาย เพื่อไม่ให้กระทบกับข้าวใหม่ที่ออกสู่ตลาดให้มีราคาลดลง

----------------------


ที่มาชื่อพันธบัตร "สุขกันเถอะเรา" 

นี่ครับ ที่มาของชื่อ พันธบัตรรัฐบาล "สุขกันเถิดเรา" ก็คงมาจากยิ่งลักษณ์เคยร้องเพลง สุขกันเถิดเรา นั่นเอง



ชื่อ สุขกันเถอะเรา คงหมายถึง พรรคพวกยิ่งลักษณ์มีความสุขกันเถอะเรา แต่ประเทศชาติต้องทนทุกข์แทนพวกมัน เพราะพันธบัตรดอกเบี้ยสูงนี้ ก็คือเงินภาษีชาติที่ควรจะนำไปพัฒนาประเทศ แต่กลับต้องมามาจ่ายทั้งต้นทั้งดอกสิ้นของหนี้เน่าก้อนนี้แทน เป็นเวลานานถึง 30 ปี

ผมว่า พันธบัตรใช้หนี้จำนำข้าวนี้ควรจะใช้ชื่อว่า พันธบัตรเสนียดจัญไร ถึงจะเหมาะสมกว่า !! 

นี้จำนำข้าวที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก่อไว้หลายแสนล้าน เธอยังหน้าด้านจะไปชี้แจงกับ สนช. ด้วยเหตุผลว่า โครงการจำนำข้าวที่รัฐบาลเธอต้องทำไปนั้น จะไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะรัฐบาลของเธอได้แถลงนโยบายนี้ต่อรัฐสภาไปแล้ว อีกทั้ง เป็นโครงการที่ช่วยเหลือชาวนา ชาวนาได้ประโยชน์

ประเด็นแรก ยิ่งลักษณ์อ้างว่า ได้แถลงการนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว

akecity ขออธิบายประเด็นแรกว่า "โครงการจำนำข้่าวแม้จะแถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว แต่เมื่อได้ทำไป 1 ฤดูกาล กลับพบว่า มีข้อเสียมากมาย และจะสร้างความเสียหายในอนาคตอีกมากมายตามมา จนทั้ง สตง. และ ป.ป.ช. ได้มีหนังสือเตือนหลายครั้งว่าควรยุติโครงการนี้

แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับยังดื้อแพ่ง ฝืนทำโครงการหายนะนี้ต่อไปจน 2 ปีกว่า ไม่ยอมยุติโครงการนี้ จึงเท่ากับว่า ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ีในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชาติ จึงเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 157"


ประเด็นที่ 2 ยิ่งลักษณ์อ้างว่า เป็นโครงการที่ช่วยเหลือชาวนา

akecity ขออธิบายประเด็นที่ 2 ว่า "ชาวนาที่ได้ประโยชน์จากโครงการจำนำข้าวนี้ จะต้องเป็นชาวนาที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวมาก ซึ่งโดยข้อเท็จจริง ๆ แล้วชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศนี้กลับไม่ได้เข้าร่วมโครงการจำนำข้าว แต่อย่างใด

อีกทั้งการอ้างว่าช่วยชาวนา แต่กลับทำให้ประเทศชาติโดยรวมต้องเสียหายมหาศาล ข้าวไทยซื้อมาขายไม่ออก แต่คนไทยทั้งประเทศกลับต้องกินข้าวแพงเกินควร เหตุผลของยิ่งลักษณ์ย่อมฟังไม่ขึ้น"

-------------

บทความผมคงไม่อาจยับยั้งคนไทยที่มีเงินเย็นนอนอยู่แห่ไปซื้อพันธบัตรสุขกันเถอะเราไม่ได้หรอก

เพียงแต่ว่า ผมอยากให้คนไทยได้รับรู้ว่า พวกเราควรมีส่วนร่วมในการปกป้องชาติไม่ให้คนชั่วลอยนวล

สุดท้ายฝากข้อเขียนของคุณสุนันท์ ศรีจันทรา คอลัมภ์นิสต์รู้ทันกลโกลหุ้น ไว้ว่า

"การทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เกิดความเสียหายที่ประเมินกันเบื้องต้นประมาณ 7 แสนล้านบาท จนต้องออกพันธบัตร กู้เงินนับแสนล้านบาท ทิ้งภาระให้ลูกหลานต้องร่วมกันชดใช้ นางสาวยิ่งลักษณ์ยังจะทำหน้าสวย ยังทำเป็นสาวไร้เดียงสา ไม่รับรู้การโกงอันมโหระทึกอย่างนั้นหรือ ตอนเริ่มต้นโครงการ แม้จะมีเสียงทักท้วงจากหลายฝ่าย ในความเสียหายที่จะตามมา แม้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างแหลกรานถึงการทุจริต แต่นางสาวยิ่งลักษณ์คนนี้ไม่ใช่หรือที่เถียงฉอดๆ ตลอดเวลา ตอนนี้จะมาโอดครวญแก้ตัวทำไม"




คลิกอ่าน พันธบัตรสุขกันเถอะเรา ก็คือ แชร์ลูกโซ่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น