วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

ดูความงกของบริษัท RS ในยุคไร้เฮียจั๊ว กรณีฟอร์ด สบชัย







พอดีได้เห็นเอกสารที่แชร์ในเฟสบุ๊ค เกี่ยวกับบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้ฟ้องร้องเจ้าของงานแต่งงานที่จ้างคุณฟอร์ด สบชัย ไกรยูรเสน นักร้องและนักแต่งเพลงไปร้องในงานแต่งงาน ในเพลง "หยุดตรงนี้ที่เธอ"

ตามเอกสารนี้


http://imgur.com/gPqJxab,nD2T0Fh#1


ผู้แชร์รูปคนแรกน่าจะเป็นคุณเตชะ ทับทอง


รุปก็คือ บ.อาร์เอส ต้องการฟ้องผู้ว่าจ้างคุณฟอร์ด หรือก็คือเจ้าภาพงานแต่งงานที่ได้จ้างคุณฟอร์ดไปร้องเพลงหยุดตรงนี้ที่เธอ จึงให้ตำรวจออกหมายเรียกเชิญคุณฟอร์ด มาให้การเป็นพยานเอาผิดเจ้าภาพที่ว่าจ้างคุณฟอร์ดไปร้องเพลง

ทั้ง ๆ ที่คุณฟอร์ด เป็นผู้ร้องเพลงหยุดตรงนี้ที่เธอ เวอร์ชันออริจินอลแท้ ๆ แถมยังอาจเป็นผู้แต่งเพลงหยุดตรงนี้ที่เธอเองอีกด้วย (ตรงนี้ผมยังไม่แน่ใจว่าคุณฟอร์ดแต่งเพลงนี้หรือไม่) และแม้คุณฟอร์ดจะขายลิขสิทธิ์การเผยแพร่เพลงให้บริษัทอาร์เอส ก็ตาม

หากการกระทำของบริษัทอาร์เอส (มหาชน) ในยุคเฮียฮ้อคุมอำนาจ เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายจริง ๆ ต่อไปใครจะจ้างนักร้องไปร้องเพลงในงาน หรือคนในงานร้องเพลงอาร์เอสกันเองในงานเลี้ยง ก็คงต้องทำเรื่องขออนุญาตบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนทุก ๆ เพลงใช่ไหม ?

คดีนี้ผมเองอยากให้เจ้าภาพงานแต่งงานนี้สู้คดีให้ถึงที่สุดจริง ๆ เพราะจะได้เป็นคดีตัวอย่างว่า การจ้างนักร้องที่เป็นนักร้องเจ้าของเพลงต้นฉบับนี้เองหรือเป็นทั้งนักแต่งเพลงด้วยไปร้องจะละเมิดลิขสิทธิ์จริงหรือไม่ ?

เพราะถ้า RS ถูก ต่อไปคุณฟอร์ดคงหากินลำบากล่ะครับ เพราะคงไม่มีเจ้าภาพรายไหนอยากยุ่งยากกับคดีความ

----------------

ถ้าตามความเห็นผมสำหรับกรณีนี้ของคุณฟอร์ด

ผมว่า บริษัท RS ไม่น่าจะเอาผิดผู้ว่าจ้างคุณฟอร์ดได้ เพราะคุณฟอร์ดมีอาชีพนักร้อง ได้รับการว่าจ้างไปร้องเพลงของตัวเองเท่านั้น และเจ้าภาพงานแต่งก็ไม่ได้นำเพลงนี้ไม่ทำจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรใด ๆ ก็แค่เชิญเจ้าของเพลงมาร้องเพลงในงานเท่านั้น

ซึ่งเข้าข่ายข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์มาตรา 36 และมาตรา 32

มาตรา 36 การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจาก การจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม และนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ การสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง

มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

ให้สังเกตคำว่า เกินสมควร และคำว่า เพื่อหากำไร

ถามว่า เจ้าภาพงานแต่งงานจ้างนักร้องต้นฉบับไปร้องเพลงในงานถือว่าเกินสมควรหรือไม่ ?  และถือว่าเจ้าภาพทำไปเพื่อหากำไร หรือไม่ ?? แม้นักร้องต้นฉบัยจะได้รับค่าตอบแทนก็ตาม  แต่แค่องค์ประกอบ 2 อย่างคือ "ไม่เกินสมควร" และ "ไม่หากำไร" ก็น่าจะถือว่า ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว


อีกทั้งคุณฟอร์ดก็ถือว่า เป็นเจ้าของเพลงตัวจริง เพราะ กรณีของคุณฟอร์ดเข้าลักษณะสิทธิของลูกจ้างอาร์เอส  คือเขียนเพลงให้อาร์เอสที่เป็นนายจ้าง ทางอาร์เอส จึงมีสิทธิก๊อปปี้เพลงหยุดตรงนี้ที่เธอไปขายต่อได้ หรืออนุญาตให้ใครมาร้องเพลงนี้อีกก็ได้

และสมมุติว่า คุณฟอร์ดอาจจะขายเพลงหยุดตรงนี้ที่เธอ ให้เป็นสิทธิขาดแก่บริษัทอาร์เอสแล้วก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า กฎหมายลิขสิทธิ์ยังคงยกเว้นในกรณีที่คุณฟอร์ดซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์เพลงหยุดตรงนี้ที่เธอเป็นคนแรก ย่อมได้รับการยกเว้นทางลิขสิทธิ์ ไม่ว่าคุณฟอร์ดจะนำเพลงที่เขาร้องเวอร์ชันออริจินอลไปร้องในสถานที่ใด ๆ ก็ตาม (ทำให้อาร์เอสเลยต้องไปเล่นงานเจ้าภาพแทน)

ลองดูเปรียบเทียบกับกฎหมายลิขสิทธิ์ว่าด้วย ลิขสิทธิ์ของลูกจ้างเทียบเคียงดูครับ

กฎหมายลิขสิทธิ์ของลูกจ้าง 
"ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์นั้นผู้สร้างสรรค์งานจะเป็นเจ้าของชิ้นงานทันทีที่สร้างมัน บางกรณีอาจมีข้อสงสัยว่า ถ้าเจ้านายสั่งให้พนักงานสร้างงานขึ้น เช่น บรรณาธิการให้ลูกน้องเขียนบทความใส่หนังสือของตนเอง ใครจะเป็นเจ้าของงานเขียนชิ้นนั้น เป็นต้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธิ์นำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์ของการจ้างแรงงาน

ดังนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้แตกต่างจากกฎหมายและต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน ลูกจ้างซึ่งเขียนบทความย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่บรรณาธิการมีสิทธิ์นำงานเขียนนั้นไปใช้ในกิจการของตนซึ่งผู้เขียนเป็นลูกจ้างอยู่ได้ ด้วยหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ด้านความเป็นเจ้าของชิ้นงานของลูกจ้าง จึงทำให้นายจ้างบางคนทำข้อตกลงระหว่างตนกับลูกจ้างไว้ว่า ถ้าผลิตชิ้นงานในขณะเป็นลูกจ้าง นายจ้างจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มิใช่แค่มีสิทธิ์นำงานออกเผยแพร่เท่านั้น ผู้สร้างสรรค์งานจึงต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิ์ตามกฎหมายกับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่า สิ่งใดมีประโยชน์สูงสุดต่อตนหรือต่อสังคม"

ากกรณีของคุณฟอร์ด ผมเชื่อว่า คุณฟอร์ดในฐานะที่เป็นนักร้องและนักแต่งเพลง เพลงหยุดตรงนี้ที่เธอ ย่อมไม่โง่ขายงานตัวเองให้เป็นสิทธิขาดของอาร์เอสแต่ผู้เดียวแน่นอน  เพราะคุณฟอร์ดยังต้องหากินกับเพลงของตัวเองไปตลอดชีวิต

นักร้องเจ้าของเพลงเวอร์ชันออริจินอล ย่อมไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์

และเท่าที่ผมเคยทราบมา แม้นักร้องผู้ร้องเพลงเวอร์ชันออริจินอลหรือร้องเป็นคนแรก เคยออกอัลบั้มด้วยเพลงนั้นมาแล้ว แม้จะไม่ได้แต่งเพลงนั้น ๆ เองก็ตาม แต่หากนักร้องร้องเพลงของตัวเองไม่ว่าจะไปร้องในงานจ้างใด ๆ ก็จะไม่ถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือว่า ร้องเพลงของตัวเอง เพียงแต่ว่า ห้ามนำเพลงไปก๊อปปี้ขายเท่านั้น เพราะลิขสิทธิ์การขายเพลงเป็นของบริษัทต้นสังกัด

ดังนั้นเมื่อนักร้องร้องเพลงตัวเองย่อมไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว เจ้าภาพงานที่จ้างนักร้องเจ้าของเพลงนั้นไปร้อง ก็ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน

แต่ถ้าจ้างนักร้องที่ไม่ใช่เจ้าของเพลง มาร้องเพลงของคนอื่นโดยไม่ขออนุญาตก่อน จึงจะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งนักร้องและเจ้าภาพ

กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น  แต่เป็นการปกป้องสิทธิของศิลปินด้วย เพราะถ้านักร้องเจ้าของผลงานออริจนอลนำเพลงของตัวเองไปร้องในงานใด แล้วอาจทำให้เจ้าภาพต้องเดือดร้อน คงไม่ใช่เจตนารมย์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ 

ย้ำว่า ตรงนี้คือความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมก็รอให้ผู้เชี่ยวชาญมาอธิบายเหมือนกัน

----------------------

ล่าสุดคุณฟอร์ด สบชัย ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ว่า

เพิ่งจะเห็นหนังสือเชิญจากตำรวจฉบับนี้เมื่อวันศุกร์นี่เอง และงานแต่งนั้นก็เป็นงานฉลองสมรสพระราชทาน ที่คู่บ่าวสาวเพื่อนของคุณฟอร์ดเอง โดยคุณฟอร์ดได้รับเชิญให้ไปร้องเพื่อเซอร์ไพรส์เท่านั้น โดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่อย่างใด และก็ร้องแค่เพลงเดียวเสร็จก็ออกจากงานเลย

โดยส่วนตัวคุณฟอร์ดเชื่อว่า ตนเองเป็นเจ้าของเพลงด้วยคนนึง แต่หากกฎหมายกำหนดว่า ตนเองต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วยหากจะนำไปร้องในงานใด โดยส่วนตัวก็อยากทำให้ถูกต้อง แต่ที่ผ่านมา ตนเองคิดว่า การร้องในงานที่ไม่ได้ขายบัตรหากำไร ก็ไม่น่าจะผิด



เนื่องจากผมยังไม่แน่ใจว่า เพลงหยุดตรงนี้ที่เธอ คุณฟอร์ดแต่งเองหรือไม่

ผมจึงได้ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คไปถามคุณฟอร์ดว่า ได้แต่งเพลงหยุดตรงนี้ที่เธอเองหรือไม่ ?

ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบ แต่มีคุณผู้อ่านแจ้งมาทางช่องแสดงความเห็นข้างล่างว่า คุณฟอร์ดไม่ได้แต่งเพลงนี้เอง

แต่ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้ร้องเพลงเวอร์ชันออริจินอล ย่อมได้รับความคุ้มครองให้ยกเว้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้ว

ส่วนข้อยกเว้นการละเมิดฯ ในกรณีเจ้าภาพนั้น จะต้องเข้าองค์ประกอบ 2 ประเด็นหลักคือ

1. ต้องเป็นนักร้องเจ้าของเพลงออริจินอลมาร้องเอง และ
2. งานนั้นไม่ได้แสวงหากำไร จึงจะครบองค์ประกอบข้อยกเว้นครับ

สิ่งนี้คือสิ่งที่นักร้องอาชีพเจ้าของเพลงเวอร์ชันออริจินอล ก็เชื่อตามนี้มาตลอดว่าเขาไดัรับการยกเว้นทั้งตนเองและเจ้าภาพที่จ้างไป

ซึ่งหากไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไร กรมคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาควรออกมาชี้แจงในกรณีแบบนี้ เพื่อจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องให้ทราบโดยทั่วกัน


คุณบี พีระพัฒน์ โพสเกี่ยวกับเรื่องนี้

http://imgur.com/vgXOKqG
---------------------

เฮียจั๊ว พี่ชายเฮียฮ้อ ถอนหุ้นจากอาร์เอสหมดแล้ว

เฮียจั๊ว นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ พี่ชายของเฮียฮ้อ ผู้ก่อตั้งบริษัทอาร์เอส จำกัด มหาชน ได้ถอนหุ้นทั้งหมดออกจาก บ.อาร์เอส ไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2555 และปัจจุบันนี้เฮียจั๊วก็ไม่ได้เป็นแม้กระทั่งกรรมการในบริษัทอีกด้วย

คณะกรรมการบริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ณ.สิ้นปี 2557


ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ทำให้ตอนนี้เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จึงมีอำนาจสูงสุดในบริษัทอาร์เอส เพราะดำรงตำแหน่งเป็นทั้งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รวมทั้งยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของบริษัทอีกด้วย


ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นปี 2557


คลิปเมื่อเดือนมกราคม 2556 เฮียฮ้อพูดถึงเฮียจั๊วถอนหุ้นทั้งหมดออกจากอาร์เอส 


มิน่าล่ะ นับตั้งแต่เฮียจั๊วถอนหุ้นทั้งหมดออกจากอาร์เอสไป บริษัทอาร์เอสก็ดูจะเขี้ยวลากดินมากขึ้นทุกวัน ตั้งแต่เรื่องถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกมาแล้ว

ผมเข้าใจนะว่า อาร์เอสตีความกฎหมายมาตรา 36 ตรงประโยคที่ว่า "และนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" 

พออาร์เอสเห็นว่า ถ้านักร้องแม้จะเป็นนักร้องต้นฉบับเองได้รับค่าจ้างจากการร้อง อาร์เอสจึงหันไปเอาเรื่องเจ้าภาพงานว่าละเมิดลิขสิทธิ์แทน

แต่แค่งานแต่งงาน แค่เนี้ย เฮียฮ้อคืนกำไรให้แก่สังคมบ้างไม่ได้เหรอ

เฮียฮ้อ เคยได้ยินพระราชดำรัสนี้ไหมเฮียฮ้อ "ขาดทุนคือกำไร"




แหม คนรวยนี่เลือดฝาดดีจังเลยนะ
http://imgur.com/lmLxLtd

---------------------

ล่าสุดผู้บริหารอาร์เอส ออกมาบอกว่า นักร้องทุกคนต้องจ่ายลิขสิทธิ์ให้อาร์เอส

22 ม.ค. 58 เอเอสทีวีรายงานว่า



เณร ศุภชัย นิลวรรณ รองกรรมการ ผอ.อาวุโส - กลุ่มธุรกิจเพลง บริษัท อาร์เอสฯ ที่เข้ามาดูแลบริหารจัดการภาพรวมธุรกิจเพลงทั้งหมดของอาร์เอส รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวพันกับเพลง และในเรื่องการจัดเก็บลิขสิทธิ์ในเชิงกลยุทธ์ต่างๆ เจ้าตัวก็ได้เปิดใจถึงเรื่องดังกล่าว ยืนยันคนไทยไม่คุ้นเคยกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง ทั้งที่ปฏิบัติยึดหลักสากล เผยไม่ทำเกินกว่าเหตุกรณีฟอร์ด แต่รับกังวลว่าคนจะมองภาพองค์กรติดลบ

เผยนักร้องทุกคนต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลง หากออกจากอาร์เอสเอาเพลงไปร้องก็ต้องจ่าย “ใบเตย” ก็ไม่เว้น

“นักร้องทุกคนโดยหลักการแล้วเขาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทุกคนแม้กระทั้งนักร้องปัจจุบันในอาร์เอสเองเราเก็บนะ แต่เก็บในรูปแบบของสัญญาที่เราหักเขาอยู่แล้ว 30 เปอร์เซ็นต์มันครอบคลุมหมดในเรื่องของลิขสิทธิ์เพลงด้วย วันใดวันหนึ่งที่เขาไม่ได้อยู่กับเราถ้าเขาเอาเพลงเราไปใช้เขาก็ต้องจ่าย เพราะเราต้องจ่ายคนอื่นๆ ทีมงานอะไรอีก คือทุกอย่างมันมีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ว่าคนทั่วเข้าใจว่านักร้องไม่ได้จ่ายอะไร แต่จริงๆ แล้วเขาจ่าย ออกไปร้องโชว์ตามงานเราก็เก็บ เราเก็บมาให้นักแต่งเพลง เราเองหักเงินนักร้องมาแบ่งให้ให้นักแต่งเพลง 10 เปอร์เซ็นต์ เรื่องพวกนี้มันยิบย่อยมาก สำหรับโชว์ของนักร้องอาร์สยามเองผมเก็บนักร้อง 10 เปอร์เซ็นต์ ให้ทีมงานและคนทำเพลง สมมุติค่าตัวใบเตย 2 แสนบาท เราหัก 2 หมื่นบาทเข้าทีมงานต่อโชว์ 1 ครั้ง เพื่อเป็นค่าดำเนินการตรงนี้เนื่องจากปัจจุบันค่าซีดีค่าดาวน์โหลดอะไรพวกนี้มันไม่ได้อะไรแล้วเราต้องเข้าใจธุรกิจตรงนี้ด้วย" นายศุภชัย นิลวรรณกล่าว

ซึ่งยึดตามหลักที่ผู้บริหารอาร์เอสพูด ก็แสดงว่า คุณฟอร์ด ก็ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้อาร์เอสด้วย !! หากนำเพลงของอาร์เอสไปร้องโดยรับค่าจ้าง

แต่อาร์เอสกลับอ้างว่า จะขอให้คุณฟอร์ดมาเป็นพยานเพื่อเอาผิดผู้ว่าจ้างคุณฟอร์ด (ซึ่งก็คือเจ้าภาพงานแต่งงาน)

ปกติคนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการเพลง ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับเพลง เขาไม่รู้หรอกว่า จะต้องจ่ายลิขสิทธิ์เพลงนี้ให้ใคร หรือเพลงนี้ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

ดังนั้น อาร์เอสต้องไปไล่เบี้ยที่นักร้องเอง ไม่ใช่ไปไล่เบี้ยกับเจ้าภาพที่ไม่ได้นำเพลงไปหากำไร เพื่อให้นักร้องบวกค่าลิขสิทธิ์เพลงรวมไปในค่าจ้างด้วย

สรุปก็คือตรรกะของผู้บริหารอาร์เอสเริ่มสับสนกำกวม เพราะคุณศุภชัย นิลวรรณ ทีแรกอ้างว่า ขนาดใบเตยยังต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลง และนักร้องที่ออกจาก RS ไปแล้ว จะนำเพลงไปใช้ก็ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงให้อาร์เอสด้วย

แต่กรณีนี้ของคุณฟอร์ด อาร์เอสกลับจะไปเรียกค่าลิขสิทธิ์กับเจ้าภาพงานแต่งแทนที่จะเรียกกับคุณฟอร์ด แปลกดีไหม ??

ฉะนั้น ถ้านักร้องไม่สามารถร้องเพลงต้นฉบับที่ตัวเองร้องได้ วงการเพลงไทยมาถึงทางตันแล้วครับ !!

-----------------------

ปฏิรูปกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยใหม่เถอะ 

ถึงเวลาแล้วที่ เราต้องมาสังคายนากฎหมายลิขสิทธิ์เสียใหม่ เพราะถ้ายึตตามการตีความกฎหมายของอาร์เอส ก็แปลว่า ถ้าใครนำเพลงอาร์เอสไปร้อง ก็ต้องเสียลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น เพราะอาร์เอสขายเพลงไว้ให้คนซื้อใช้ฟังได้เท่านั้น แต่คนซื้อห้ามร้องเพลงอาร์เอส ไม่งั้นอาจโดยกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ที่อาร์เอสตีความในวันนี้เพื่อผลประโยชน์นายทุนมากกว่าปกป้องศิลปิน และเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการร้องเพลงเพื่อสันทนาการด้วย



http://imgur.com/82OUm1n

http://imgur.com/Yi6d9H9

เสก โลโซ พูดในรายการออนเดอะโรดทูเดอะดรีม ของอั่ม อัมรินทร์ เมื่อคืนวันที่ 26 ม.ค. 58


คลิกอ่าน ควันหลงกรณี ช่อง 3 ทำโลโก้ทับโลโก้ช่อง 8 ของเฮียฮ้อ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น