วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

ความโง่ของกิตติรัตน์ กับวิกฤติค่าเงินบาทแข็ง







บทความนี้เขียนต่อเนื่องจาก 2 บทความที่ผ่านมา คือ
ค่าเงินบาทแข็ง คิดลดดอกเบี้ยคือมาตรการห่วยแตก และ
เงินบาทแข็งโป๊ก เพราะแมงเม่าไทยมันแยะ


ตั้งแต่ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่า นายกิตติรัตน์ รมว.คลัง ก็กระสันคิดอยากจะลดดอกเบี้ยอยู่ท่าเดียว คิดอย่างอื่นไม่เป็น ทั้ง ๆ ที่มีวิธีการแก้ไขอื่นๆ ยังมี คงเพราะผลประโยชน์ทับซ้อนของตัวเองจากการลดดอกเบี้ยมันเยอะ จึงทำให้นายกิตติรัตน์คิดแต่เรื่องลดดอกเบี้ยเท่านั้น

ต่อมานายกิตติรัตน์ก็คิดแต่อยากจะปลดผู้ว่า ธปท. ที่ไม่ยอมลดดอกเบี้ยให้สมใจสักที จนให้สัมภาษณ์ออกมาว่า ตนคิดอยู่ทุกวันว่าอยากจะปลดผู้ว่า ธปท. แต่มันก็ทำไม่ได้ เพราะ ธปท. เป็นอิสระจาก รมว.คลัง

และที่สำคัญ ทางธปท. เขารู้ดีว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งนั้น ปัจจัยสำคัญไม่ได้อยู่ที่ดอกเบี้ยไทยสูง แต่เป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติหวังเขามาเก็งกำไรตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และการเก็งกำไรค่าเงิน มากกว่าสนใจอัตราดอกเบี้ยในบ้านเรา



จากตารางคือผลวิจัยของ ธปท. เกี่ยวกับตัวแปรที่มีผลต่อการไหลเข้าของทุนต่างชาติ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ตัวแปรเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยมีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ มีผลแค่ 3 %เท่านั้น

ส่วนตัวแปรที่มีผลมากกว่าจนเป็นอันดับ 1 ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงความกังวลของนักลงทุน ซึ่งหมายถึง พวกนักเก็งกำไรระยะสั้นทั้งสิ้น ที่ได้รับผลกระทบจากตัวแปรชนิดนี้ อย่างเช่น แค่มีข่าวว่า ธปท. จะคิดค่าธรรมเนียมถือครองตราสารหนี้สูงขึ้นสำหรับผู้ถือครองระยะสั้น แต่จะเก็บค่าธรรมเนียมน้อยลง หรือไม่เก็บเลย หากถือครองระยะยาว

แค่มีข่าวปล่อยออกมาแค่นี้ ย้ำ !! ว่า เป็นแค่ข่าวปล่อย ยังไม่ได้มีมาตรการนี้จริง ๆ ก็ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงค่อนข้างมากทันที

นี่แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในไทยส่วนใหญ่คือ พวกเก็งกำไรระยะสั้นทั้งสิ้น ถึงได้หวาดกลัวต่อข่าวปล่อยนี้

ส่วนตัวแปรอันดับ 2 คือ แนวโน้มแข็งของค่าเงินบาท นี่หมายถึง ปัจจัยโดยตรงของพวกเก็งกำไรจากค่าเงินบาท ที่หวังให้ค่าเงินบาทแข็งมากขึ้นเพื่อทำกำไร

เพราะทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กำลังใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือ Quantitative Easing ในการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ และช่วยให้ค่าเงินตัวเองอ่อนลงเพื่อหวังยอดส่งออกในประเทศเพิ่มขึ้น

ซึ่งเงินที่พิมพ์ใหม่ ๆ เหล่านี้ก็ล้วนชอบมาซื้อเงินบาทไทย จนค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น ทำให้นักค้าเงินได้กำไรจากการเก็งกำไรค่าเงินบาท

ซึ่งพวกเก็งกำไรค่าเงินก็ไม่ได้สนใจเรื่องส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่นัก เพราะขึ้นชื่อว่านักเก็งกำไรย่อมต้องการผลตอบแทนระยะสั้นและกำไรสูง ผลต่างดอกเบี้ยจึงไม่อยู่ในสายตาคนพวกนี้

ที่สำคัญยังมีเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยอีกจำนวนมาก ได้ล่อให้แมงเม่าไทยออกมาเล่นหุ้นกันเยอะ นั่นก็ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งมากขึ้น ตามที่ผมเขียนในบทความที่แล้ว

กับคำถามที่ว่า ทำไมค่าเงินบาทไทยเฉลี่ยแข็งที่สุดในเอเซีย ?

คำตอบไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจไทยดีเด่นอะไรนักหรอก แต่เพราะแมงเม่าไทยมันโลภและกลวงที่สุดในเอเซียต่างหาก เพราะสันดานแมงเม่าไทยก็เหมือนคนไทยทั่วไปที่ชอบเล่นหวยนั่นแหละ นั่นคือ ชอบรวยเร็ว ชอบอบายมุข ชอบการเก็งกำไร ประเทศไทยเลยเจ๊งเพราะแมงเม่าเมื่อคราววิกฤติปี 40 มาทีนึงแล้ว


ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลล่าห์ แข็งขึ้นมาประมาณ 6.69% (ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน 20%)

ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในเอเซีย และอาเซียนค่าเงินเปลี่ยนแปลงไม่มาก เช่นริงกิตมาเลเซีย แข็งขึ้นมาไม่ถึง 1% ทั้ง ๆ ที่ในตอนนี้มาเลเซียถูกจัดอันดับความน่าลงทุนสูงกว่าไทยด้วยซ้ำ

แต่ค่าเงินของมาเลย์กลับแข็งขึ้นน้อยมาก ?

การที่นายกิตติรัตน์ไม่มองหนทางอื่นในการสกัดเงินทุนนอกไหลเข้า คิดแต่จะลดดอกเบี้ยลูกเดียว นั่นเพราะ มาตรการอื่น ๆ จะไปสกัดนักเก็งกำไรในตลาดหุ้น ซึ่งนายกิตติรัตน์มีผลประโยชน์มากในตลาดหุ้นนั่นเอง

ในเมื่อเงินบาทแข็งเกิดจากพวกเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่ ก็ต้องหาวิธีแก้ด้วยการสกัดพวกเก็งกำไร จึงจะเป็นหนทางแก้ปัญหาที่ถูกจุด

-----------------------

การลดดอกเบี้ยกลับสร้างปัญหาอีกด้าน

ผู้ว่าธปท. ได้รับคำชมจากต่างชาติพอควรกับการมีวินัยการคลัง ที่ไม่ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจนักการเมือง

ในขณะที่ภาครัฐกำลังก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากโครงการประชานิยมต่าง ๆ มากขึ้น ก็ควรต้องส่งเสริมให้ภาคประชาชนออมเงินฝากไว้ให้มากขึ้น เพื่อความมั่นคงของประเทศในอนาคต

หากภาครัฐเกิดดำเนินนโยบายผิดพลาด ก่อหนี้สาธารณะมหาศาล แต่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้ม ถ้าภาคประชาชนยังเข้มแข็งมีเงินออมมากอยู่ ภาคประชาชนก็ยังมีส่วนช่วยพาให้ชาติรอดวิกฤติไปได้

เหมือนที่เกาหลีใต้เคยประสบมาแล้ว ประเทศเกือบเจ๊ง แต่รอดได้เพราะคนเกาหลีใต้นำเงินออมออกมาช่วยประเทศเอาไว้

ในขณะที่กรีซ ประเทศกำลังเจ๊ง แถมประชาชนก็ฟุ้งเฟ้อมาตลอดจนเงินออมก็ไม่มี ประเทศกรีซจึงยังไม่เห็นทางรอดจากวิกฤติ แถมปัญหานับวันยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้น

ฉะนั้น หากประเทศไทยลดดอกเบี้ยนโยบายลง ก็ยิ่งทำให้คนไทยแห่ถอนเงินไปลงทุนด้านอื่นมากขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นฟองสบู่ในอีกด้านก็ได้ (ทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้ภาคครัวเรือน และหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้เงินเฟ้อภายในประเทศขยายตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรงได้)

อีกทั้งถ้าดอกเบี้ยเงินฝากน้อย ก็ไม่จูงใจให้คนอยากออมเงิน แต่คนจะหันไปใช้จ่ายมากขึ้นแทน กลายเป็นว่า รัฐไปส่งเสริมให้คนไทยฟุ้งเฟ้อมากขึ้น ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ทุกวันนี้ เราจึงเห็นปัญหาเงินกู้นอกระบบรุนแรงมาก เพราะคนไทยไม่พอเพียงนี่แหละครับ

ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่ที่ร้อยละ 0.25 อัตราดอกเบี้ยของยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 0.1 อัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ร้อยละ 2.75 จึงจะเห็นได้ว่าถึงแม้ไทยจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสัก 1% ตามขอเสนอของนายกิตติรัตน์ก็ตาม แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศสูงอยู่ดี

ดังนั้นการลดดอกเบี้ยเชิงนโยบายไม่ได้ช่วยให้หยุดการไหลเข้าของเงินต่างประเทศได้ แต่จะไปช่วยให้เอสซีแอสเสทขายบ้านดีขึ้นมากกว่า

หากมองแค่ภาคส่งออกด้านเดียวก็จะเห็นว่า เงินบาทแข็งเป็นปัญหา แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออก จึงขาดดุลการค้ามหาศาลทุกปี การที่ค่าเงินบาทแข็ง ก็มีส่วนทำให้ซื้อของจากนอกได้ถูกลง ก็เท่ากับว่า เสียเงินน้อยลงเช่นกัน

อย่างเช่นเดือน พ.ค.-ส.ค. นี้ ค่าไฟฟ้าเอฟที ก็จะลดลง เพราะค่าเงินบาทแข็งขึ้น การนำเข้าน้ำมันและแก๊ส จึงถูกลงไปด้วย เมื่อต้นทุนพลังงานถูกลง ต้นทุนจากวัตถุดิบจากต่างประเทศถูกลง ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมหลายอย่างถูกลงไปด้วย

และแทนที่รัฐบาลไทยเคยนำเงินไปซื้อพันธบัตรต่างชาติเช่นพันธบัตรของสหรัฐอเมริกา จนขาดทุนยับจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์มาแล้ว ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็ง แต่ราคาทองตก รัฐก็น่าจะทยอยนำเงินบาทแข็งไปซื้อทองราคาตก น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าเอาเงินบาทไปไล่ซื้อเงินดอลล่าหเพื่อพยุงค่าเงินบาท

เพราะเปรียบเสมือน รัฐบาลอเมริกาพิมพ์เงินกระดาษออกมาง่าย ๆ ส่วนไทยกลับเอาน้ำพักน้ำแรงที่เหนื่อยยากกว่าจะได้เงิน ไปซื้อเงินกระดาษของอเมริกาแทน ดูมันไม่ค่อยคุ้มค่าเลย

ล่าสุด ธปท. แถลงว่า เงินทุนสำรองไทยลดลงไปแล้ว800ล้านดอลล่าห์ จากการไปซื้อเงินดอลล่าห์เพื่อพยุงค่าเงินบาท


---------------

ก่อนจบ ผมอยากให้ดูคำพูดโง่ ๆ ของแกนนำเสื้อแดงที่พาคนไปกดดันหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ว่าธปท.ลาออก

นายหนึ่งดิน วิมุตตินันท์ เลขานุการ สหกรณ์เกษตรอินทรีสุพรรณบุรี และในฐานะทนายความชมรมผู้รักความเป็นธรรม ผู้สนับสนุนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง

“การทำหน้าที่ของผู้ว่าการ ธปท. ควรเห็นประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ต้องทำอะไรให้ประชาชนอุ่นใจ อย่าทำงานแบบมีธง หรือทำหน้าที่รับใช้ฝ่ายการเมือง ผมเห็นว่าถ้าท่านทำหน้าที่ไม่ได้ ไม่ทำหน้าที่ในการลดดอกเบี้ยลงเพื่อดูแลค่าเงินบาทตามข้อเสนอของ รมว.คลัง ถ้าลดดอกเบี้ยสักอาทิตย์ หรือ 2 อาทิตย์ค่อยปรับขึ้นก็ได้ ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย หรือทำมาตรการออกมา 4 ข้อ เพื่อดูแลก็ไม่เป็นผล ท่านก็ควรลาออกไปเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถมาทำหน้าที่แทน ผมว่าเงินบาทแข็งค่ามันกระทบภาคอุตสาหกรรม ทำให้ขาดทุน และอาจจะทำให้เกิดการตกงานเป็นแสน ๆ คน ประชาชนเดือดร้อน ไม่มีกำลังจับจ่ายใช้สอย และทำให้ชาวนาขายข้าวไม่ได้ และทำให้ราคาปุ๋ยแพง” นายหนึ่งดินระบุเหตุผลที่เดินทางมายื่นหนังสือขับไล่ผู้ว่าการ ธปท.

เฮ่อ.. เหตุผลทื่แกนนำแดงคนนี้พูดมา ตอนแรกก็ยังดูไม่รู้หรอกว่าโง่ แต่พอมาตรงสองสามประโยคสุดท้ายเลยรู้ว่า โง่แท้ เช่น

1. ชาวนาขายข้าวไม่ได้ ?
ข้าวมันขายไม่ได้ตั้งแต่นโยบายจำนำข้าวแพงกว่าราคาตลาดโลกต่างหาก

2. ทำให้ปุ๋ยราคาแพง ? 
อันนี้โง่ชัดเจน เพราะวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมีมากกว่าร้อยละ90 ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นหากเงินบาทแข็ง วัตถุดิบปุ๋ยต้องถูกลง แต่ที่ปุ๋ยยังแพงขึ้น มันแพงขึ้นมาตั้งแต่เริ่มนโยบายจำนำข้าวนั่นแหละ ไอ้ทุยแดงเอ๋ย ^^

3. กระทบภาคอุตสาหกรรม ?
มันกระทบหนักตั้งแต่ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศแล้ว ทุยแดงเอ๋ย !! มีความรู้ต่ำแต่อยากได้ค่าแรงสูง ก็ตกงานสิครับ


คลิกอ่าน ผลประโยชน์ทับซ้อนของกิตติรัตน์ ในตลาดหุ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น