เพราะบล็อคมุมมองใหม่เมืองเอก ลิงค์มักมีปัญหาไลค์ไม่ได้ เลยมาเปิดบล็อคใหม่อันนี้แทนครับ
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
ค่าเงินบาทแข็ง คิดลดดอกเบี้ย คือมาตรการห่วยแตก
ช่วงนี้คือช่วงนี้ค่าเงินบาทแข็งค่า จากภาวะเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยจำนวนมาก
ผลกระทบที่เห็นชัดคือ เมื่อค่าเงินบาทแข็ง ผู้ส่งออกสินค้าของไทยจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น จากเมื่อก่อนเคยส่งออกสินค้ามูลค่า 1 ล้านดอลล่าห์ เคยได้เงิน 31 ล้านบาทกลับมา ก็อาจลดเหลือ ประมาณ 29.5 ล้านบาทเท่านั้น
ทีนี้มีผู้เสนอให้ธนาคารแห่ประเทศไทย ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เพื่อลดการไหลเข้าของเงินต่างชาติ และจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น รวมทั้งให้ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก (ดร.โกร่งนั่นแหละที่เสนอ)
คือ ผมมองว่า นี่คือหลักเศรษฐศาสตร์ที่มองพวกนายทุนสำคัญเป็นหลักไว้ก่อน คือห่วงแต่ผู้ส่งออก แต่ไม่ห่วงประชาชนจำนวนมากที่ออมเงินไว้ในธนาคาร เช่นผู้สูงอายุที่ฝากเงินไว้กินดอกเบี้ยยามแก่ เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในบ้านเรา ห่วงแต่ชนชั้นนายทุนเกินไป จนทำให้ประชาชนระดับล่างต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในบ้านเราใช้แต่หลักเศรษฐศาตร์ตะวันตก จนเป็นทาสวิชาการฝรั่งเกินไป
ทางแก้ที่ถูกต้องไม่ใช่การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง แต่ควรให้ผู้ส่งออกหัดพึ่งตนเอง ด้วยการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกันบ้าง ไม่ใช่เอะอะอะไร ก็ผลักภาระมาที่ประเทศชาติแทน
ด้วยวิธีลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เพื่อหวังให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว หรือให้ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทให้แข็งขึ้น นี่แสดงว่า ยังไม่เข็ดจำที่เคยพังเพราะการแทรกแซงค่าเงินบาทในปี 2540 มาแล้ว
พวกผู้ส่งออกไทยชั่งเห็นแก่ตัวกันจริงๆ มีหนทางประกันความเสี่ยงค่าเงิน ดันไม่ทำกัน แต่จะมาผลักภาระให้คนอื่นต้องเดือดร้อนแทน
-------------------
เศรษฐศาสตร์ระบบนายทุนเป็นใหญ่
การที่ประเทศไทยมีคนรวยกระจุก คนจนกระจาย เพราะนักเศรษฐศาสตรที่มีอำนาจมักคิดแต่เห็นประโยชน์ของนายทุนเป็นใหญ่เสมอ
ชอบเหลิอเกินที่จะกระตุ้นให้คนไทยใช้จ่ายมากๆ ยิ่งลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ก็มีส่วนทำให้คนไทยออมเงินน้อยลง
นี่คือวิธีคิดแบบนายทุนที่สนแต่ธุรกิจ สนแต่ให้ประชาชนบริโภคเยอะๆ จนตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ส่วนหนึ่งก็มาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งปีทั้งชาติของรัฐบาลอย่างพร่ำเพรื่อ จนคนไทยชอบเป็นหนี้กันมาก
เราควรหันมองไปที่ยุโรป และอเมริกา ที่ตอนนี้รัฐบาลของเขาพยายามลดค่าใช้จ่ายลง หรือที่เรียกว่า นโยบายรัดเข็มขัด
ส่วนของสหรัฐ ก็คือ นโยบายหน้าผาการคลัง นั้น ก็คือนโยบายตัดรายจ่ายแบบฮวบฮาบ จนเหมือนดิ่งลงเหว
นั่นเพราะที่ผ่านมารัฐบาลชาติตะวันตกใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินไป เพิ่มค่าแรงให้ประชาชนจนเกินไป จนทำให้ประเทศต้องประสบวิกฤติเศรษฐกิจ
ผมหวังว่า สักวันจะมีรัฐบาลไทยที่ยึดแนวเศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง มากกว่ายึดแนวเศรษฐศาสตร์ของตะวันตกมาใช้จริง ๆ มิใช่แค่เขียนนโยบายพอเพียงไว้ประดับสวยๆ แต่หาได้พอเพียงจริงๆไม่
เพราะปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกา คือเครื่องบ่งชี้เลยว่า เศรษฐศาสตร์ตะวันตก คือหลักการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมของโลก คือกระตุ้นให้คนบริโภคกันมากๆ เป็นสุขนิยม นี่แหละคือต้นเหตุปัญหาโลกร้อนเช่นกัน
-----------------
ฝากข่าวทิ้งไว้ให้คิดเมื่อ
นายกสิงคโปร์เริ่มเห็นถึงคุณค่าการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง แห่งสิงคโปร์เผยในวันจันทร์ 3 ธ.ค. 2012 ระบุ จะไม่ตั้งเป้าสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงแบบบ้าคลั่งดังเช่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ชี้ นับจากนี้สิงคโปร์จะเน้นสร้างความเติบโตแบบยั่งยืน เผย อัตราการเติบโตที่ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีก็เพียงพอแล้ว
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ วัย 60 ปี ซึ่งก้าวขึ้นครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2004 กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมของพรรคกิจประชา (People's Action Party) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล
โดยระบุ ในอดีต สิงคโปร์เคยหมกมุ่นอยู่กับการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและตั้งเป้าการเติบโตในแต่ละปีไว้สูงถึงราว 7-8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ขณะที่ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็ถูกกำหนดไว้ที่เฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
ผู้นำสิงคโปร์ระบุว่า นับจากนี้ หากปีใดที่เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้ถึงปีละ 3-4 เปอร์เซ็นต์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เนื่องจากสิงคโปร์กำลังจะต้องเผชิญปัญหาการลดจำนวนลงของประชากรวัยแรงงานในอนาคต ดังนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีนับจากนี้ จึงถือเป็นเป้าหมายที่น่าพอใจแล้ว และน่าจะเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสมและยั่งยืน
“ผมไม่ได้ต้องการให้เราเลิกให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ยังคงต้องการการเติบโต แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะหมกมุ่นกับการสร้างความเติบโตมากเกินไป นับจากนี้ผมเห็นว่า เราควรต้องหันมาสร้างค่านิยมใหม่ในเรื่องดังกล่าว” นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงกล่าว พร้อมย้ำว่า นอกจากการสร้างการเติบโตแบบยั่งยืนแล้ว สิ่งที่สังคมสิงคโปร์จะต้องยึดถือนั่นคือ “ระบบคุณธรรมนิยม” ที่เน้นการสร้างความสำเร็จโดยไม่ใช้สิทธิพิเศษทางชนชั้นต่างๆ
ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้ใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองจากการเป็นประเทศโลกที่ 3 ไปสู่การเป็นหนึ่งในดินแดนที่ร่ำรวยที่สุดของโลกโดยใช้เวลาเพียงครึ่งศตวรรษ และในปัจจุบันสิงคโปร์ซึ่งมีประชากรเพียง 5 ล้านคนถือเป็น 1 ใน 4 ศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดของโลก และเป็นเมืองท่าที่มีความคับคั่งของการขนส่งสินค้าติด 5 อันดับแรกของโลก
ที่มาข่าว http://astv.mobi/AbCfp5S
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น