วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาโรงไฟฟ้าจากขยะและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ทำให้คนไทยไม่ยอมรับ






ความจริง ปัญหาขยะกองโตเป็นภูเขาจนกำจัดไม่หมด จริงๆ แล้วการขยะกำจัดไม่ยากหรอกครับ นั่นคือ การสร้างโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ โดยให้เลียนแบบจากโรงไฟฟ้าพลังงานชยะของญี่ปุ่น ที่เขาทำได้ครบวงจร และแทบไม่เกิดมลพิษเลย

แต่ไฉน โรงไฟฟ้าแบบนี้กลับไม่ค่อยเกิดขึ้นง่าย ๆ ในประเทศไทย ?

หรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ที่เกิดจากการเผาเศษวัชพืช เศษขยะจากการเกษตร เช่น ฟาง แกลบ ชานอ้อย กาบปาล์ม และวัสดุเหลือใช้แล้วต้องทิ้งทางการเกษตรอื่น ๆ อีกมากมาย

แล้วทำไม โรงไฟฟ้าชีวมวล จึงไม่ค่อยเกิดขึ้นในเมืองไทยง่ายๆ เช่นกัน ?

-----------------

ขยะที่เกิดในกรุงเทพ เมื่อไปถึงเตาเผาขยะ ส่วนใหญ่ก็เผาทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเลย เสียพลังงานจากการเผาไปเปล่าประโยชน์

แล้วพอ กทม. จะทำเป็นโรงไฟฟ้าจากพลังงานเผาขยะแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นใช้ ก็จะมีกลุ่มชาวบ้านออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะเกรงมลภาวะเป็นพิษในชุมชน

แต่ในขณะที่ปล่อยให้มีกองขยะใหญ่เท่าภูเขาที่ทั้งเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สะสมเชื้อโรค แถมวันดีคืนดีกองขยะก็เกิดลุกไหม้ติดไฟเองจนเป็นข่าวบ่อยครั้ง นั่นยิ่งสร้างมลภาวะอันตรายยิ่งกว่า

แต่คนไทยกลับยอมให้มีกองขยะเท่าภูเขาได้มากกว่าจะยอมให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

คิดดูถ้า กทม. มีโรงไฟฟ้าจากขยะแบบที่ญี่ปุ่น เราจะได้ทั้งไฟฟ้า ได้ทั้งกำจัดขยะ ได้ทั้งผงคาร์บอนหรือขี้เถ้าที่ได้จากการเผาขยะ แล้วนำขี้เถ้าเหล่านี้เอาไปถมทะเลกรุงเทพฯ ด้านบางขุนเทียน ที่กำลังถูกน้ำทะเลรุกคืบกัดเซาะได้เป็นอย่างดี เพราะที่ญี่ปุ่นเขาเอาผงคาร์บอนไปสร้างแผ่นดินให้งอกทุกปีเช่นกัน

นั่นก็เท่ากับว่า แค่มีโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ ก็จะได้ช่วยคืนแผ่นดินให้กรุงเทพฯ ด้วย คิดดูสิว่ามันจะดีขนาดไหน ?

หรือแม้แต่ในหลายจังหวัด ที่จะมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อจะได้นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตไฟฟ้า ย่อมดีกว่าให้ชาวบ้านเผาทิ้งกันเองจนเกิดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศแบบควบคุมไม้ได้ แบบที่เราเห็นเป็นข่าวเป็นประจำนั้น

แล้วสาเหตุที่โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แบบล้วนก็เกิดขึ้นได้ยาก สาเหตุทั้งหมดมาจากอะไรรู้ไหมครับ ?

------------------------

เพราะชาวบ้านเขาไม่ไว้ใจข้าราชการ ไม่ไว้ใจรัฐบาล รวมทั้งไม่ไว้ใจนักลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า จนมันเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกลงในสังคมไทยมานานแล้ว

สาเหตุก็เพราะ ข้าราชการไทยยังคอรัปชั่น แล้วไปร่วมมือกับนักลงทุนที่ไม่จริงใจต่อประชาชนและประเทศชาติ

เพราะที่ผ่านมา ต่างก็บอกว่าจะสร้างโรงงานที่ไม่ก่อมลภาวะเป็นพิษ หรือบอกว่าจะสร้างโรงงานที่ทันสมัยที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แต่สุดท้าย ชาวบ้านก็มักจะโดนหลอกเหมือนเดิมซ้ำ ๆ  ทำให้พอรัฐบาลคิดจะสร้างโรงไฟฟ้า หรือโรงกำจัดขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใดก็ตาม ก็มักเกิดกระแสต่อต้านจากชาวบ้านในพื้นที่อยู่เสมอ

แต่เรื่องราวทำนองนี้กลับไม่มีเกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นเลย นั่นเพราะข้าราชการญี่ปุ่นเขาไม่คอร์รัปชั่น นักลงทุนเขาก็ไม่เห็นแก่เงินจนลดต้นทุนการประกอบการ จนนำมาซึ่งมลภาวะเป็นพิษต่อชุมนุม

ผมเคยเห็นข่าวโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อมมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ระบบราชการไทยทำได้แค่ตักเตือน สั่งปิดโรงงานแค่ชั่วคราวเพื่อให้แก้ปัญหาหมักหมมเดิม ๆ  แล้วพอโรงงานนั้นกลับมาเปิดกิจการอีก ก็กลับมาทำลายสิ่งแวดล้อมอีกเหมือนเดิม วนเวียนกันแบบนี้ไม่รู้จบ

ผมแทบไม่เคยเห็นเจ้าของโรงงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสักโรงงานเดียว ต้องติดคุก หรือต้องจ่ายค่าเสียหายในราคาสูงให้ชาวบ้านที่เดิอดร้อนเลยจริง ๆ สักราย

เมื่อกฎหมายเอาผิดคนทำชั่วมันห่วยแตก ประชาชนก็คือผู้รับเคราะห์ ด้วยการตายผ่อนส่งฟรี ๆ

นี่แหละคือรากเหง้าของปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย

(หรืออย่างคดีสารตะกั่วของของลำห้วยคลิตี้ล่าง ต้องใช้เวลานับ 19 ปีกว่าศาลจะตัดสินให้บริษัทต้องจ่ายค่าเสียหาย จนผู้เสียหายได้ตายไปแล้วไม่รู้กี่คน)

----------------------

หากข้าราชการไม่คอร์รัปชั่น นักลงทุนก็จะไม่กล้าทำผิดเรื่องสิ่งแวดล้อมง่าย ๆ

โรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ทั้งโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ และโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน หรือถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า ถ้ามีได้ทุกจังหวัดหรือมีให้ได้แทบทุกตำบล คิดดูประเทศไทยเราจะดีขึ้นขนาดไหน

ปัญหาขยะก็ได้รับการแก้ไข ปัญหาชาวบ้านเผาวัสดุทางการเกษตรกันเองจนเกิดปัญหามลพิษหมอกควันก็จะหมดไปด้วย เพราะได้นำขยะเหล่านี้ไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแทน แถมราคาถูกด้วย

แต่ที่มันเกิดได้ยาก เพราะรัฐบาลไทย ข้าราชการไทยมันห่วย จนชาวบ้านไม่กล้าไว้ใจนั่นเองครับ





ในเมื่อไฟฟ้านับวันต้องใช้มากขึ้น ยิ่งรัฐบาลชอบเชิญชวนให้นักลงทุนมาตั้งโรงงานมากขึ้น ไทยเราก็ต้องจัดหาพลังงานไฟฟ้ามารองรับมากขึ้น แถมต้องเป็นไฟฟ้าราคาถูกมากด้วย ถึงจะจูงใจนักลบทุนให้มาลงทุน

แต่พอจะสร้างโรงงานไฟฟ้าทีไร มันก็จะมีกระแสชาวบ้านออกมาต่อต้านเสมอ

ผมถามง่ายๆว่า ถ้ามีโรงงานไฟฟ้าจากขยะ ไปตั้งที่พื้นที่ใด ทำไมไม่ให้คนในพื้นที่นั้นเขาได้ใช้ไฟฟ้าฟรี หรือมีส่วนลดพิเศษสำหรับค่าไฟฟ้า เพื่อเป็นการตอบแทนพวกเขาบ้างล่ะครับ ??

ในเมื่อชาวบ้านเขาคิดว่า เขามีแต่เสียกับเสีย ก็ไม่มีชาวบ้านที่ไหน เขาอยากจะได้โรงไฟฟ้าไปตั้งในหมู่บ้านเขาหรอกครับ จริงไหม

-------------

สาเหตุที่ลึกกว่าที่คิด !!

และสาเหตุที่เราอาจคาดไม่ถึง นั่นก็คือ พวกนักการเมืองและพวกข้าราชการที่ได้ผลประโยชน์จากการที่ ปตท. ขายแก๊สให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต พวกมันจะคอยขัดขวางการเกิดโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล

รวมไปถึงพวกนักการเมืองที่ไปส่งเสริมให้พม่าขายแก๊สให้ไทย พวกนี้กลัวตัวเองจะเสียเงินใต้โต๊ะที่พม่าจ่ายให้ทั้งทางตรงทางอ้อม จึงพยายามปลุกปั่นคนไทยให้หวาดกลัวโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ

แต่พวกนักการเมืองและทุกรัฐบาลจะสนับสนุนโรงไฟฟ้าจากถ่านหินแทน

-----------------------

วิธีแก้ปัญหาคือ

รัฐควรส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ศึกษาระบบโรงงานไฟฟ้าเหล่านี้ และรัฐบาลก็ลงทุนให้ชาวบ้านได้ดูแลบริหารจัดการโรงไฟฟ้าเหล่านี้ด้วยตัวพวกเขาเอง นี่แหละคือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ที่เรียกว่า "โรงไฟฟ้าจากขยะชุมชน" แก้ปัญหาขยะในท้องที่ และ "โรงไฟฟ้าชีวมวลประจำตำบล" แก้ปัญหาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

เพราะชาวบ้านเขาย่อมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ๆ พวกเขาเกิดเขาอาศัยหรอก



คลิกอ่าน วิกฤติพลังงานไฟฟ้าไทย กับนโยบายส่งเสริมการลงทุน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น