วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

ผู้บริหารเศรษฐกิจไทยยังโง่ใช้วิธีการเดิม ๆ แก้เงินบาทแข็ง






เมื่อวานนี้ กนง. มีมติดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1.5 % ทั้ง ๆ ที่ เพิ่งจะลดไปเมื่อเดือนที่แล้วจาก 2 % เหลือ 1.75 % ไปหมาด ๆ ลดดอกเบี้ยนโยบายไปแค่ 10 วัน ค่าเงืนบาทมันก็เด้งกลับมาที่เดิม

คือ กนง. และ รมว.เศรษฐกิจไทย ทั้งหลาย ก็ยังคิดบนหลักการเดิม ๆ คิดแต่ในกรอบที่ไม่เคยแก้ปัญหาได้จริง

ผมคัดค้านการลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. มาตลอด ตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์มาแล้ว แล้วเป็นยังไง อ้างลดดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็ง แต่สุดท้ายก็ช่วยภาคส่งออกของไทยไม่ได้อยู่ดี แถมเงินบาทก็กลับมาที่แข็งจุดเดิมอีกหลังลดดอกเบี้ยนโยบายไปแค่ไม่กี่วัน ซึ่งพิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของคนไทยที่ต้องลดลง ก็เสมือนโดนปล้นไปไม่กลับคืน

เพราะต้นทุนการส่งออกของไทยนั้น ปัญหาหรือประเด็นหลักไม่ได้อยู่ที่ค่าเงินบาทแข็ง แต่มันอยู่ที่ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยต่างหาก เช่นค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้สินค้าส่งออกของไทยหลายชนิด ย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านแทน

เช่น การที่ค่าแรง 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ มันทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่อุตส่าห์ไปตั้งโรงงานในพื้นที่ห่างไกล ที่ ๆ เคยมีค่าแรงถูกกว่ากรุงเทพฯ กลับต้องกลายเป็นจ่ายค่าแรงแพงเท่ากรุงเทพฯ จึงทำให้ต้นทุนการผลิตเขาสูงขึ้นมาก เพราะไหนจะค่าขนส่งที่ไกลกว่า ซ้ำยังต้องแบกรับค่าแรงที่แพงเท่ากรุงเทพฯ อีก จึงทำให้อุตสาหกรรมหลายชนิดเขาอยู่ไม่ได้

เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยหลายโรงงานก็ย้ายฐานการผลิตไปเขมร ไปพม่า ไปลาว กันหมดแล้ว เพราะค่าแรงถูกกว่าไทยหลายเท่า


เพราะสินค้าส่งออกของไทยหลายชนิดที่ไม่ได้ใช้แรงงานฝีมือชั้นสูง จึงมีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งมาก ก็เลยทำให้ส่งออกไทยทรุดมาตลอด เพราะต้นทุนค่าแรงแพงนี่แหละ

จำได้ไหม โกหกสีขาวของไอ้โต้ง ต้องโกหกเรื่องการส่งออกโต เพราะอ้างว่ากลัวผู้คนจะแตกตื่น ??

ปัจจัยเรื่องเงินบาทแข็งแทบไม่มีผลต่อการส่งออกเท่าไหร่นักหรอก แต่ที่ต้องมาใช้การลดดอกเบี้ยนโยบายลง ก็เพราะผู้บริหารเศรษฐกิจประเทศไทยมันโง่มาตลอด ไม่มีปัญญาทำอะไรอย่างอื่นแล้ว ก็เลยต้องมาปล้นเงินออมของคนไทยไปพยุงช่วยผู้ส่งออกแทน

แล้วลดดอกเบี้ยมากี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ก็ไม่ช่วยทำให้ส่งออกไทยดีขึ้นแต่อย่างใด เพราะภาคส่งออกไทยทรุดมาตลอดตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศค่าแรง 300 บาท เหตุเพราะค่าแรงเพิ่มขึ้นเร็วแบบผิดธรรมชาติ แต่คุณภาพแรงงานไทยไม่พัฒนาให้สมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นพรวดเดียวทั่วประเทศ

นี่เห็นว่า ผู้นำแรงงานไทยกำลังจะเรียกร้องให้รัฐบาล คสช. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 360 บาทต่อวันอีกแล้ว เพราะอ้างว่า ไม่ได้เพิ่มมา 2 ปีกว่าแล้ว

เหอะ ๆ ถ้าเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำอีก ส่งออกไทยก็ยิ่งทรุดล่ะครับ เผลอ ๆ ธปท. คงลดดอกเบี้ยลงเรื่อย ๆ จนไม่ต้องมีดอกเบี้ยเงินฝากเลยล่ะมั้ง

แทนที่ ธปท. จะไปตรวจสอบดูว่า ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ กินดอกเบี้ยเงินกู้สูงไปไหม มีส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้แตกต่างกันมากแค่ไหน แต่กลับเอาภาระมาผลักลงที่คนฝากเงินออมก่อนทุกที

แล้วการกระตุ้นในคนไทยใช้จ่ายน่ะ เป็นแนวคิดที่ผิดมหันต์ เพราหนี้ครัวเรือนไทยสูงที่สุดในโลกไปแล้ว คือ หนี้ครัวเรือนสูงถึง 80 % ต่อจีดีพี

ฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลและ ธปท. ควรทำ คือต้องทำแตกต่างจากที่ผ่าน ๆ มา เรียกว่า ต้องคิดนอกกรอบเดิม ๆ คือ ไม่ต้องไปกระตุ้นการใช้จ่ายของคนไทย เพระคนไทยมีสันดานชอบใช้จ่ายอยู่แล้ว แต่ควรไปปรับอัตราดอกเบี้ยเงินออมเพิ่มขึ้น ถ้าคนไทยมีเงินออมได้ ก็แสดงว่า มีเงินเพิ่มขึ้น เมื่อมีเงินเพิ่มขึ้นการใช้จ่ายก็จะดีขึ้นเอง แถมใช้จ่ายอย่างสบายใจด้วย

นิสัยคนไทยชอบใช้จ่ายเงินอยู่แล้ว ขอเพียงให้มีเงินจริง ๆ เถอะ ดังนั้นภาครัฐไม่ควรมากระตุ้นเรื่องนี้หรอก เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคนไทยที่จนอยู่แล้วจะยิ่งไปกู้เงินมาใช้จ่าย  เช่น สงกรานต์ที่ผ่านมา เที่ยวกินกันจนแทบหมดตัว หลังสงกรานต์โรงรับจำนำคึกคักทันที แล้วสุดท้ายใครล่ะที่เดือดร้อน ??

คือ ผู้บริหารบ้านเมืองต้องคิดให้แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ฝรั่งบ้างเถอะ เพราะที่ผ่าน ๆ มา เดินตามตูดฝรั่งมาหลายครั้ง แต่ก็แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้


หลักการเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ?

ต้องส่งเสริมการออมของประชาขนให้มากขึ้น ไม่ใช่เอาแต่กระตุ้นให้ประชาชนใช้จ่าย  และไม่ใช่มาปล้นดอกเบี้ยเงินฝากของประชาชนไป

เช่น ผู้สูงอายุจำนวนมากที่ฝากเงินไว้ใช้จ่ายยามชรา กลับมาโดน ธปท. ปล้นไปให้ผู้ส่งออกซะงั้น 

ถ้าการฝากเงินแล้วไม่ได้ดอกเบี้ย ก็ยิ่งทำให้คนไทยจำนวนมากก็ยิ่งไม่เห็นความสำคัญของการออมเงิน นี่จะเป็นหายนะของประเทศไทยในระยะยาวแน่ ๆ

เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับเป็นหนี้มากขึ้นทุกปี พวก ธปท. และ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไทย พวกคุณแกล้งโง่หรือไง ไม่รู้หรือว่านี่คือกำลังเป็นหายนะ

การที่เงินบาทแข็ง สาเหตุหลัก ๆ คือ การปล่อยให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดหุ้นอิสระมากเกินไปนี่แหละ โดยเฉพาะจากมาตรการ QE ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทย

เมื่อมีเงินทุนไหลเข้าไทยมาก ก็ต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยมากขึ้น จึงทำให้เงินบาทแข็งตัวมากขึ้น

แต่พวกผู้บริหารบ้านเมืองนี้ไม่กล้าแตะตลาดหุ้น เพราะกลัวว่าตลาดหุ้นจะตก เพราะพอตลาดหุ้นตก ตัวเองก็จะโดนด่าหนัก เพราะนักเลงพนันในตลาดหุ้นมันมีปากที่มีพลังกว่าคนออมเงิน

ทั้งๆ  ที่ตลาดหุ้นไทยนี่แหละตัวดี ที่เคยร่วมสร้างความฉิบหายให้ประเทศไทยมาแล้ว ในวิกฤติฟองสบู่ปี 2540

สังเกตได้เลยว่า 3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยทรุดทุกด้าน แต่ตลาดหุ้นกลับไม่ตกลงก็เพราะส่วนใหญ่มันคือตลาดแห่งการพนันจากการเก็งกำไรนั่นเอง

ดังนั้น เมื่อเงินบาทแข็งมันเกิดจากตลาดหุ้นและตลาดค้าเงินเป็นหลัก มันต้องแก้ที่ตลาดหุ้น ไม่ใช่จะมาล้นที่คนออมเงินแทน เพราะถ้าไม่แก้ที่ตลาดหุ้น ถึงลดดอกเบี้ยไปก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะมันก็เป็นจะแค่นโยบายที่สร้างกระแสได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น

แล้วอีกไม่นานเงินบาทก็จะกลับไปแข็งค่าเช่นเดิม เพราะนักค้าเงินเขาสามารถปั่นให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งได้อีก ถ้าผู้บริหารประเทศไทยมันยังโง่ ๆ ด้วยวิธีการเดิม ๆ

ที่สำคัญดอกเบี้ยไทยไม่ได้สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ซึ่งผมเคยนำมาแสดงให้เห็นแล้วในหลายบทความ

--------------------

คือ ประเทศไทยมันไม่เจริญ สาเหตุหนึ่งก็คือ ผู้บริหารเศรษฐกิจไทยมันคิดนอกกรอบไม่เป็น แก้ปัญหาด้วยวิธีเดิม ๆ ทั้ง ๆ ที่ใช้แล้วมันก็แก้ไม่ได้ แต่ก็ยังจะทำแบบเดิม ๆ ต่อไป

อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 1.5 %


ส่วนอัตราดอกเบี้ยของอินโดนีเซีย คู่แข่งของไทยที่กำลังจะเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก อยู่ที่ 7.5%



บทความเก่าที่เกี่ยวข้อง


คลิกอ่าน กนง. ดีใจแบบโง่ ๆ ทำค่าเงินบาทอ่อนที่สุดในรอบ 5 ปี

คลิกอ่าน ดร.โกร่ง และ กิตติรัตน์ โกหกดอกเบี้ยไทยสูงเกินไป

คลิกอ่าน สมหมาย ภาษี คิดห่วยเสนอลดดอกเบี้ยรับ QE ของธนาคารกลางยุโรป

คลิกอ่าน เงินบาทแข็งโป๊ก เพราะแมงเม่าไทยมันแยะ




1 ความคิดเห็น: