วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดร.โกร่งและกิตติรัตน์ โกหกดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงเกินไป






นับตั้งแต่ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นมาแบบมากกว่าปกติ ดร.โกร่ง วีรพงษ์ ประธานกรรมการธปท. กับ นายกิตติรัตน์ รมว.คลัง ก็หาเรื่องกดดันนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. ได้แทบทุกวัน โดยเฉพาะพยายามจะกดดันให้ ธปท.และ กนง. ลดดอกเบี้ยเชิงนโยบายลง เพื่อแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง

ทั้งดร.โกร่ง และนายกิตติรัตน์ พยายามสร้างกระแสใหญ่โตว่า ภาคส่งออกเสียหายอย่างหนักจากการที่ ธปท.ไม่ยอมแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง โดยทั้งสองคนอ้างว่า เพราะดอกเบี้ยนโยบายของไทยสูง จึงทำให้เงินทุนจากนอกไหลบ่าเข้ามาเพื่อหวังกินส่วนต่างดอกเบี้ยที่สูงมากของไทย

นี่คือโกหกคำโตของดร.โกร่ง ประธานกรรมการธปท. แลนายกิตติรัตน์ รมว.คลัง ทั้งสิ้น

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ดอกเบี้ยนโยบายในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา เขาสูงหรือต่ำกว่าของไทย ??

ซึ่งในขณะนี้ดอกเบี้ยนโยบายไทย อยู่ 2.75 %


กราฟแสดงค่าดอกเบี้ยนโยบายประเทศในอาเซียน

ดอกเบี้ยนโยบายของมาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 3 %





ดอกเบี้ยนโยบายของฟิลิปปินส์ อยู่ที่ประมาณ 3.5 %






ดอกเบี้ยนโยบายของอินโดนีเซีย อยู่ที่ประมาณ 5.75 %






ดอกเบี้ยนโยบายของเวียดนาม อยู่ที่ประมาณ 9 %




ข้อมูลทั้งหมดจาก tradingeconomics


--------------------

เพื่อนบ้านในอาเซียนดอกเบี้ยสูงกว่าไทยทั้งนั้น

จากที่เราดูดอกเบี้ยนโยบายเพื่อนบ้านในอาเซียนของไทยแล้ว จะเห็นได้ว่า ทุกประเทศล้วนมีดอกเบี้ยสูงกว่าไทยอย่างมาก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และเวียดนาม

และทุกประเทศต่างก็มีค่าเงินที่แข็งน้อยกว่าไทยอย่างมาก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ค่าเงินรูเปียเพิ่งจะแข็งค่าเงินมาไม่ถึง 1 % ในปีนี้เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าห์สหรัฐ

แถมเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา อินโดนีเซียเพิ่งจะแทรกแซงค่าเงินของตัวเองเพราะ อ่อนลงมามากที่สุดในรอบ 16 ปีด้วยซ้ำ !!

คลิกที่รูปนี้เพื่ออ่านข่าว ธนาคารกลางอินโดฯประกาศเข้าแทรกแซงค่าเงินรูเปียห์ หลังอ่อนค่าครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี


อีกทั้งอินโดนีเซียได้ชื่อว่า เป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในอาเซียนในขณะนี้ รองลงมาคือเวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนไทยอยู่ในอันดับ 4

ส่วนไทยน่ะเหรอ น่าลงทุนเพื่อเก็งกำไรเป็นอันดับ 1 ต่างหาก ตามที่ผมเคยอธิบายไปแล้วในบทความเก่า

ดังนั้นการที่ทั้งดร.โกร่ง และนายกิตติรัตน์ รมว.คลัง พยายามตีโพยตีพายว่า ไทยเรามีดอกเบี้ยนโยบายสูงเกินไปจึงเป็นคำโกหก !!

เพราะหากเงินที่ไหลเข้าไทยหวังเรื่องดอกเบี้ยคงไม่มาไทยหรอกครับ เขาไปอินโดนีเซียไม่ดีกว่าเหรอ ?

นั่นแสดงว่า ในแต่ละประเทศเหล่านี้เขามีมาตรการในการควบคุมเงินทุนไหลเข้า-ออกที่ดี

ซึ่งผู้ว่าฯ ประสาร ได้พูดไว้เมื่อไม่กี่วันก่อนนี้ว่า กระทรวงการคลังน่าจะไปศึกษาดูว่า ทำไมประเทศเพื่อนบ้านของเรา ค่าเงินเขาถึงไม่ได้แข็งเหมือนเรา !!?

----------------------------

ทำไมค่าเงินบาทถึงแข็ง

ขอตอบว่า เพราะสถานการณ์การเมืองของไทยตั้งแต่ปี 2552-2553 และอุทกภัยใหญ่ 2554 ทำให้ค่าเงินบาทไทยทรงตัวอยู่นานเกินไป

ตามหลักแล้ว หลังจากประเทศไทยประสบวิกฤติในปี 2540 ค่าเงินบาทได้เคยตกลงไปจนถึง 58 บาทต่อดอลล่าห์ นั่นเพราะทุนสำรองและเงินคงคลังไทยแทบหมดเกลี้ยงจนต้องไปพึ่งไอเอ็มเอฟ

แต่เมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว ส่งออกดีขึ้น ทุนสำรองมากขึ้น เงินคงคลังมากขึ้น ค่าเงินบาทก็ทยอยแข็งค่าขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามลำดับ ซึ่งผู้ส่งออกก็ได้พยายามปรับตัวตามสภาพเศรษฐกิจไทยที่แข็งขึ้นมาโดยตลอดอย่างไม่มีปัญหา

การที่เศรษฐกิจประเทศใดดีขึ้น ค่าเงินย่อมแข็งขึ้นเป็นธรรมดา อย่างไทยเราเคยมีค่าเงินบาทที่ 25 บาทต่อดอลล่าห์ก็เคยมาแล้ว

จนเมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทั้งปัญหาการเมือง และภัยธรรมชาติ ทำให้ค่าเงินบาทจึงทรงตัวอยู่เป็นเวลานาน ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ยังเดินหน้าต่อไปได้

จนภาวะการเมืองและภัยธรรมชาติค่อนข้างสงบลงในปลายปี 2555 ต่อต้นปี 2556 พวกนักลงทุนตลาดเงินเริ่มมองเห็นว่า ค่าเงินไทยต่ำกว่าภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริง จึงหลั่งไหลเข้ามาเล่นเก็งกำไรค่าเงินบาทกัน

ดังนั้น ตอนแรกเราจะเห็นเงินทุนจะไหลเข้าไปที่ตลาดหุ้นอย่างมาก จนตลาดหุ้นไทยบูมสุดขีดจนเริ่มเห็นฟองสบู่

ต่อมานักลงทุนก็นำเงินมาพักรอที่ตลาดพันธบัตรและตราสารหนี้ แต่ไม่ได้หวังดอกเบี้ยหรอก แค่พักเงินเพื่อรอค่าเงินบาทแข็งตัวแล้วค่อยขายทำกำไร

จึงทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องออกมาขู่ว่า จะเก็บค่าธรรมเนียมพวกเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดตราสารหนี้มากขึ้น ซึ่งแค่เพียงขู่เท่านั้น ค่าเงินบาทก็รีบอ่อนตัวลงทันที

และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทก็ยังทรงๆ ตัวอยู่ที่ 29 บาทกว่า ซึ่งเป็นราคาที่เหมาะสมดีแล้ว ธปท. จึงยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาให้เกินความจำเป็น

แต่ทั้งดร.โกร่ง และนายกิตติรัตน์ ก็พยายามประโคมข่าวเว่อร์เกินจริงว่า ไทยเสียหายอย่างหนัก !!

ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าส่งออก การที่ค่าเงินบาทแข็งย่อมได้ประโยชน์มากกว่าด้วยซ้ำ !!

นั่นคือประหยัดเงินได้มากขึั้น

----------------

เหตุเพราะนักการเมืองต้องการปลดผู้ว่า ธปท. มากกว่า

ดังนั้นจึงมีนักวิชาการที่ซื่อตรงหลายคนออกมาคาดสถานการณ์ว่า ที่รัฐบาลเพื่อไทยอยากจะปลดผู้ว่าฯ ธปท. ไม่ใช่เรื่องเงินบาทแข็งหรอก เป็นแค่เหตุผลบังหน้าเท่านั้น

แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์อยากจะหาลิ่วล้อของตัวเองมาเป็นผู้ว่า ธปท. แทนมากกว่า

อีกทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยังสั่งให้ลิ่วล้ออีกคนที่ยังเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมอยู่ ออกมาช่วยผสมโรงกดดันถล่มผู้ว่า ธปท. อีกทางด้วย ทั้ง ๆ ที่ กรรมการสภาอุตสาหกรรมได้เคยลงคะแนนปลดประธานสภาอุตสาหกรรมคนนี้ออกไปแล้ว

การที่รัฐบาลนี้อยากจะปลดผู้ว่าฯ ธปท. อย่างมากนั้น ต้นเหตุน่าจะมาจาก รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องการจะนำทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมาใช้ในโครงการประชานิยมอีก แต่ถูกคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯ ธปท. คนปัจจุบันขวางไว้เต็มที่นั่นเองครับ

นี่แหละที่เขาถึงเรียกว่า ยุคคนชั่วครองเมืองที่เห็นแก่ประโยชน์พวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ


คลิกอ่าน ลดดอกเบี้ยนโยบายแก้เงินบาทแข็ง คือการปล้นเงินประชาชน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น