วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สันดานกิตติรัตน์ กับหนี้ครัวเรือน







ในหลายบทความที่ผ่านมา ผมได้เขียนว่า รัฐบาลที่มาจากพวกนายทุนมันไม่ต้องการให้คนไทยออมเงิน เพราะพวกมันจะเสียผลประโยชน์ เพราะพวกมันต้องการให้คนไทยใช้จ่ายเยอะ ๆ เป็นหนี้เยอะ ๆ โดยออกบัตรเครดิตมาล่อคนไทยหลากหลายอาชีพให้เป็นหนี้ โดยมันมีข้ออ้างที่เป็นประโยชน์แบบแถ ๆ หลอกควายที่หลงเชื่อมันได้เสมอ

ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนพุ่งจาก 40% ของจีดีพี มาเป็น 80% ของจีดีพี ซึ่งถือว่ามากเหลือเกิน รัฐบาลที่ดีควรหาทางให้ประชาชนประหยัด หาทางช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชน

แล้วเป็นไง ของแพงทั้งแผ่นดิน แต่พวกหลงเชื่อรัฐบาล เห็นกงจักรเป็นดอกบัวพวกมันยังไม่รู้สึก

ในการประชุมพ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 เมื่อหลายวันก่อน มีสส.ประชาธิปัตย์คนหนึ่งได้อภิปรายเรื่อง กองทุนการออมแห่งชาติ ว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ดำเนินการต่อ ทั้ง ๆ ที่กองทุนการออมนี้ควรเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 แล้ว แต่กลับไม่ได้การอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลเห้ จนกองทุนไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้

ซึ่งกองทุนการออมแห่งชาติก็คือ กองทุนที่สนับสนุนแรงงานนอกระบบประกันสังคม นอกระบบราชการ ฯ ให้สนใจมาออมเงิน โดยที่รัฐบาลจะร่วมสนับสนุนเงินสมทบด้วย

โดยที่รัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิกตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุน คือ

1. อายุ15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี

2. อายุ 30-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ต้องไม่เกิน 960 บาทต่อปี

3. อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี รัฐจะสมทบจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี

เมื่อรัฐบาลเห้ มันไม่สนับสนุนให้กองทุนนี้เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่กฎหมายได้ออกไปแล้ว จึงมีแรงงานนอกระบบได้ไปร้องศาลปกครองแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา

และไอ้ตัวการไม่ให้กองทุนการออมเกิดขึ้น ก็คือ ไอ้กิตติรัตน์ นี่แหละครับ

--------------------

หนี้ครัวเรือนในความหมายของไอ้โกหกสีขาว

ข่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

“กิตติรัตน์” ฉุน ธปท. ออกบทวิจัย “หนี้ครัวเรือนพุ่ง” ชี้ชัดผิดตั้งแต่ต้นเพราะใช้คำนิยามผิดจากหลักสากล

โดยนายกิตติรัตน์กล่าวว่า

“ผมเชื่อว่าสถาบันการเงินต่างๆ ทราบดีว่า การกู้จากประชาชนกลุ่มนี้ไม่ใช่หนี้ครัวเรือน เพราะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้เพื่อไปประกอบธุรกิจ และสุดท้ายก็จะมีเงินมาใช้คืนหนี้ และในส่วนของ ธปท.เอง เมื่อมันไม่ถูกมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น ในแง่การวิจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเอาจีดีพีไปคำนวณเปรียบเทียบกับอัตราหนี้ครัวเรือนของประเทศอื่น ก็อาจจะเกิดข้อผิดพลาด และเกิดความกังวล เพราะต้องเข้าใจด้วยว่ายังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่จะวิเคราะห์ได้"

"ตนเองไม่ต้องการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับบทวิเคราะห์ของ ธปท. จนอาจจะทำให้เกิดการขาดความเป็นประโยชน์ แต่อยากให้ไปดูบทวิเคราะห์ของสถาบันต่างๆ และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานของหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ทั้งหน่วยงานด้านสถิติต่างๆ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมไปถึงหน่วยงานในระดับสากลอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่มีการกำหนดคำนิยามของคำว่าหนี้ครัวเรือนไว้อย่างชัดเจน"

"เนื่องจากคำว่าหนี้ครัวเรือนที่สากลใช้กันนั้น ส่วนใหญ่จะหมายถึงหนี้ที่เกิดจากบุคคลธรรมดาที่มีความสามารถในการก่อหนี้เพื่อลงทุนในทรัพย์สินที่มีความจำเป็น และเป็นประโยชน์ในระยะยาว เช่น การซื้อบ้าน รถยนต์ หรือการดูแลคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ขณะที่ประชาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการกู้เพื่อนำไปประกอบกิจการ ต้องมีการนิยามหนี้ในกลุ่มนี้ใหม่ว่า เป็นสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจมากกว่า" ไอ้โต้งกล่าว


สรุปง่าย ๆ ก็คือ ไอ้โต้งจอมมุสา มันบอกว่า หนี้ครัวเรือนไม่ควรมากถึง 80% ของจีดีพี เพราะหนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ไปลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งตรงส่วนนี้ไม่ใช่หนี้ครัวเรือน แต่ควรจะเรียกว่าสินเชื่อเพื่อการลงทุน

-------------------------

ผู้ว่า ธปท. ต่อต่านรัฐบาลนายทุนสามานย์ ได้ตอบโต้ทันที

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าธปท. กล่าวว่า "นิยามหนี้ครัวเรือนของธปท. คือ สินเชื่อที่ปล่อยให้บุคคลธรรมดา และกิจการขนาดเล็กที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งเป็นนิยามเดิมที่ ธปท. ใช้ และเป็นไปตามหลักสากลเหมือนกับในต่างประเทศ"

"ประเด็นที่ ธปท. เป็นห่วงคือการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จาก 50% ของจีดีพี เป็น 80% ของจีดีพี หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาท จากมูลค่าจีดีพี 10 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน โดยประมาณ 2% เป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ซึ่งเมื่อมีการหักลบออกไปแล้วกลับมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูงอยู่ถึง 78% ที่มาจากสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และอุปโภคบริโภค ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ พบว่าหนี้ครัวเรือนเร่งตัวสูงกว่ารายได้มาก และเกรงว่าจะกระทบกับความสารถในการชำระหนี้ให้ลดลง"

"เป็นสัญญาณเตือนให้เฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ยังไม่เป็นปัญหาที่รุนแรง จนถึงขั้นที่ ธปท. ต้องออกมาตรการพิเศษมาดูแลหนี้ครัวเรือน เพราะการออกมาตรการจะต้องมีความระมัดระวัง เพราะอาจกระทบให้เศรษฐกิจภาพรวมยิ่งชะลอตัวลงแรง หากมีการใช้มาตรการแรงเกินไป เพราะในขณะนี้การอุปโภคบริโภคชะลอตัวลงมาก ซึ่งเป็นการปรับตัวของประชาชนที่ระมัดระวังการใช้จ่ายหลังจากที่มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น"

"เพราะหากปัญหาหนี้ครัวเรือนรุนแรงขึ้นจนถึงระดับ 85% ของจีดีพี ประเทศไทยอาจประสบปัญหาเหมือนสหรัฐ ที่มีปัญหาหนี้ครัวเรือนก่อเกิดวิกฤต เพราะไม่สามารถขายสินทรัพย์ เช่น บ้านและรถยนต์เพื่อเสริมสภาพคล่องได้" ผู้ว่า ธปท.กล่าว

สรุปก็คือ ต่อให้เอาหนี้จากสินเชื่อธุรกิจออกไป มันก็แค่ 2 % เท่านั้น หนี้ของบุคคลธรรมดาก็ยังมากถึง 78 % ของจีดีพี 

---------------------

พูดง่าย ๆ ว่า รมว.คลังของไทย มันเคยพยายามจะโทษเรื่องการส่งออกไปที่ ธปท. หาว่า ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้ค่าเงินบาทแข็ง ส่งออกทรุด

แต่พอ ธปท.ลดดอกเบี้ยลง ก็ไม่ได้ช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงแต่อย่างใด ไอ้โต้งมันก็อยากให้ลดดอกเบี้ยลงมาก ๆ อีก

ที่ไหนได้ พอกระแสมาตรการ QE ของสหรัฐทำท่าเริ่มลดลงเท่านั้น ค่าเงินบาทอ่อนลงทันที เพราะนักลงทุนนำเงินออกจากตลาดทุนเพื่อทำกำไร

เมื่อค่าเงินบาทอ่อนลงเป็นปกติแล้ว ส่งออกก็ยังทรุดเหมือนเดิม !!

ไอ้โต้งมันอยากจะปลดผู้ว่าคนนี้ออก เพื่อพวกมันจะได้ดำเนินแผนชั่วได้เต็มที่ ผลาญได้เต็มที่ 

ส่วนเรื่องหนี้ครัวเรือนสูง ก็เป็นอุปสรรคสำหรับพวกมัน เพราะมันอยากจะกู้อีกเยอะ ๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจให้คนไทยจับจ่ายใช้สอย แต่เป็นหนี้หัวโตก็ชั่งแม่มัน 

ขอแค่พวกนักการเมืองนายทุนอย่างพวกกูรวยก็พอ !!


คลิกอ่าน สกู๊ปฮารฺดคอร์ข่าว เห็นตรงกับผมเรื่องหนี้ครัวเรือน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น