วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

"ปากช่องโมเดล" จากโบนันซ่า บ้านพักสรยุทธ ถึง คีรีมายา








ขอเริ่มด้วยการบอกว่า อำเภอเขาช่องทั้งอำเภอ ได้ถูกประกาศเป็นป่าถาวร และเขตป่าสงวน มานานแล้ว

ย้ำ !! ทั้งอำเภอปากช่องล้วนอยู่ในเขตป่าทั้งสิ้น จะมียกเว้นแค่เขตเทศบาลเมือง และเขตนิคมสร้างตนเองลำตะคอง เท่านั้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตป่าถาวร และป่าสงวน หากใครมีที่ดินอยู่ใน 2 เขตนี้ ก็คือ ปลอดภัย !!!

ดังนั้น ใครที่มีบ้านพักตากอากาศในปากช่อง จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบแทบทั้งนั้นเป็นส่วนใหญ่

ดังนั้นขอแนะนำให้ดูคลิปข่าวจากไทยพีบีเอสสัก 3 รอบ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ครับ แนะนำว่า ใครมีบ้านพักในอำเภอปากช่องควรดูคลิปนี้สัก 3 รอบเป็นอย่างน้อย

นาทีที่ 22.41 เป็นต้นไป



ถ้าดูแล้วยังไม่ชัดเจน ผมขอสรุปคร่าวตามนี้


http://imgur.com/IeDuj1j

พ.ศ.2497 รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มาขอ ส.ค.1 เพื่อยืนยันการครอบครองที่ดิน

หากภายหลังได้ประกาศเขตป่าถาวร และป่าสงวนแล้ว ถ้าผู้ใดที่มี ส.ค.1 มีที่ดินในเขตป่า ก็จะได้รับการยกเว้นความผิด และได้โอกาสเปลี่ยนเป็นเอกสาร นส.3 ในการสำรวจ ใน พ.ศ. 2519 (กรุณาจำปี 2519 นี้ไว้ก่อนเพราะจะไปเทียบกับเรื่องโฉนดที่ดินของสรยุทธ)

พ.ศ. 2506 ทั้งอำเภอปากช่อง ถูกประกาศเป็นเขตป่าถาวร

พ.ศ. 2515 ประกาศเขตป่าสงวน จำแนกออกจากเขตป่าถาวร

พ.ศ. 2532  พ.ศ. 2536 ประกาศเขต ส.ป.ก. หรือ ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร แยกออกจากเขตป่าสงวน แต่ยังจัดทำไม่แล้วเสร็จ ยังไม่ได้จัดสรรให้แก้เกษตรกรรายใดเลย จึงยังไม่มีที่ดินใดถูกประกาศเป็นที่ดิน ส.ป.ก. อย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แล้วหากมีการออกเอกสารสิทธิใด ๆ บนพื้นที่ที่จะถูกประกาศเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ก็ค่อนข้างแน่ช้ดว่า เป็นเอกสารสิทธิที่ออกโดยมิชอบ

ทั้งนี้ ในส่วนผู้ถือครองที่ดินมีการอ้างการออกโฉนด น.ส.3ก. ในพื้นที่ ส.ป.ก. นั้น ยืนยันว่า สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และ ส.ป.ก. โดยเฉพาะในส่วน ส.ป.ก. ที่สามารถออก น.ส.3 ได้นั้น จะต้องมีการถือครองโดยชาวบ้านในพื้นที่มาก่อนปี 2497 เท่านั้น และต้องมีเอกสาร ส.ค.1 ยืนยันชี้แจงก่อนจะประกาศเป็นพื้นที่เขต ส.ป.ก. ด้วย ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขเดียวกับที่ประกาศพื้นที่ป่าสงวน

โดยกำหนดว่าหากประชาชนอยู่มาก่อนประกาศเขตป่า ก็สามารถแสดงสิทธิในการขอออก น.ส.3 ได้ตามกฎหมาย

-----------------------

กรณีโบนันซ่า สปีดเวย์

กรณี 1 หากที่ดินใดที่โบนันซ่า อ้างถือครองเอกสารสิทธิ นส.3ก. ซึ่งเจ้าหน้าที่พบว่า เป็นเอกสารสิทธิที่ออกโดยมิชอบ เพราะเป็นการออกเอกสารสิทธิในเขตป่าสงวนและเขตป่าถาวร ตรงจุดนี้รัฐก็ต้องเพิกถอนเอกสารสิทธินั้นไป

ถามว่าจะเอาผิดโบนันซ่าในเรื่อง นส.3ก. นี้ได้หรือไม่ ?

ขอบอกว่า ยาก เพราะโบนันซ่าอาจอ้างว่าซื้อต่อมาจากชาวบ้านอีกทอด เว้นแต่ไล่เรียงไปถึงเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยมิชอบจะซัดทอดมาถึงโบนันซ่าเอง

ส่วนรัฐก็ต้องไล่เอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบต่อไป (ซึ่งถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องนั้นเสียชีวิตไปแล้ว ก็ถือว่า จบ ไม่มีการเอาผิดใด ๆ ต่อไป)

กรณี 2 โบนันซ่าถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ตรงนี้ รัฐก็ต้องยึดที่ดิน ส.ป.ก. คืน และเรียกค่าเสียหายจากโบนันซ่า แต่ไม่มีโทษจำคุก

กรณี 3 โบนันซ่ารุกที่ป่าสงวนโดยไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ มาอ้างอิง  ตรงจุดนี้ก็โบนันซ่าโดนข้อหาบุกรุกที่ป่าเต็ม ๆ มีความผิดอาญา มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 15 ปี

ซึ่งทางตำรวจก็ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการบริษัทโบนันซ่า อินเตอร์เนชันแนล สปีดเวย์ จำกัดไปแล้ว ซึ่งคนที่โดนข้อหามากที่สุด ก็คือนายภูผา เตชะณรงค์ น้องชายนายสงกรานต์ เพราะเขาถือหุ้นในโบนันซ่า สปีดเวย์ถึง 99.40 %


---------------------

กรณีบ้านพักตากอากาศของสรยุทธ สุทัศนะจินดา

นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ได้ซื้อที่ดินจำนวน 8 ไร่ จากโครงการมูลแดนซ์ ตั้งแต่ปี 2551

ซึ่งที่ดินโครงการหรู ๆ เหล่านี้ ราคาขายประมาณไร่ละ 10 ล้านเป็นอย่างต่ำ ถ้าสรยุทธมี 8 ไร่กว่า ก็มูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท เมื่อรวมสิ่งก่อสร้างด้วย มูลค่าบ้านพักของสรยุทธ ก็ราว ๆ 100 ล้านบาท

โดยสรยุทธอ้างว่า มีโฉนดและใช้ชื่อตัวเองนั้น

ผลการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เป็นการออกโฉนดโดยมิชอบบนพื้นที่ ๆ จะกำลังจะแจกเกษตรกรเพื่อเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ต่อไป  แต่กลับมีการออกเอกสารโฉนดมาก่อน แสดงว่า กรณีนี้น่าะมีเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริตเกี่ยวข้องในการออกโฉนดโดยมิชอบ

กรณีของสรยุทธ รัฐก็จะต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิดังกล่าวและยึดที่ดินคืนแล้ว รัฐก็จะเรียกค่าเสียหายจากสรยุทธ เช่นค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

แต่สรยุทธก็จะไม่มีความผิดถึงขั้นจำคุกแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่การครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. โดยมิชอบโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เท่านั้น

ซึ่งกรณีนี้คล้ายกับกรณีบ้านของอดีตนายกฯ พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ที่ครอบครองที่ดินบนเขายายแพง

ส่วนสรยุทธ ก็ต้องไปไล่เบี้ยฟ้องร้องค่าเสียหายจากโครงการมูลแดนซ์เอาเองต่อไป



ส่วนเอกสารสิทธิ หรือ โฉนดที่ดินของสรยุทธ ที่ว่าออกโดยมิชอบนั้น ทางรัฐก็ต้องไปเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบต่อไป

สถานการณ์กรณีที่ดินสรยุทธอาจพลิกผัน !!

เพราะ !! สรยุทธเพิ่งแถลงในรายการเรื่องเล่าเช้านี้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558  โดยอ้างเอกสารว่า โฉนดที่ดินที่เขาซื้อมานั้น เจ้าของที่ดินดั้งเดิมคือ นางรุจิรา พานิช เคยมีเอกสาร นส.3ก. เลขที่29 ซึ่งแยกมาจากนส.3ก. เลขที่ 8 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2505 แล้วสรยุทธอ้างว่า ก่อนการประกาศเป็นป่าถาวรในปี 2506



ต่อมาเอกสาร นส.3ก. เลขที่ 90 ออกสืบเนื่องมาจากหลักฐานเดิมคือ นส.3ก.เลขที่ 29 ซึ่งออกก่อน มติ ครม. 2506 ก่อนการประกาศเป็นเขตป่าไม้ถาวร



ซึ่งโฉนดที่ดินของสรยุทธ มาจาก นส.3ก. เลขที่ 90 เดิม คือในส่วนโฉนดเลขที่ 15593 - 15597  จึงชอบด้วยกฎหมาย

แผนที่แปลงที่ดินของสรยุทธ


ดังนั้น ที่ดินของสรยุทธจึงได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย หากเอกสารที่สรยุทธนำมาอ้างเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ซึ่งก็ต้องตรวจสอบความถูกต้องกันต่อไป

ถ้าหากที่สรยุทธแถลงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ก็จะรอดจากการถูกเพิกถอนสิทธิเอกสารและรอดจากยึดที่ดินคืนคืนรัฐ

ข้อสังเกต คือ สรยุทธไม่มีการเอ่ยเรื่องเอกสาร ส.ค.1 เหมือนที่คลิปไทยพีบีเอส รายงานไว้ว่า ก่อน พ.ศ. 2506 จะมีเพียงเอกสาร ส.ค. 1 ที่ให้ชาวบ้านถือไว้เท่านั้น ตรงนี้ต้องตรวจสอบความคลาดเคลื่อนของข้อมูลของใครถูก ซึ่งเจ้าของที่ดินดั้งเดิมอาจมี ส.ค. 1 อยู่ก่อนก็ได้ แต่สรยุทธไม่ได้พูดถึง

ประเด็นสำคัญคือ มีการออก นส.3ก. ก่อนการประกาศเป็นป่าถาวรใน พ.ศ.2506 จริงหรือไม่ ?

คลิกที่นี่เพื่อดูคลิปที่สรยุทธแจกแจงโฉนดที่ตัวเองถือครอง

-----------------

กรณีคีรีมายา

พบว่า คีรีมายาซื้อที่ดิน นส.3ก. มาจากกรมบังคับคดี ที่ได้ยึดที่ดินมาจากธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด มาขายทอดตลาด รวม 36 แปลง เนื้อที่กว่า 700 ไร่ ซึ่งหากพบว่า เอกสารสิทธิ์ที่คีรีมายาถือครองเป็นเอกสารสิทธิที่ออกโดยมิชอบ ที่ดินในส่วนนี้ก็จะไม่ใช่ความผิดของคีรีมายา

แต่รัฐก็ต้องเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน และยึดที่ดินคืนรัฐ แถมรัฐอาจต้องจ่ายค่าชดใช้คืนในส่วนที่รัฐได้เงินจากการซื้อที่ดินของคีรีมายา มาแล้ว

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณี “คีรีมายา รีสอร์ท” ระบุว่า ซื้อที่ดินมาอย่างถูกต้องจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ว่า “หากผู้ซื้อที่ดินดังกล่าวเป็นผู้เสียหาย ตามหลักความเป็นธรรมจะต้องมีการเยียวยาให้กับผู้เสียหายเนื่องจากรัฐได้รับเงินจากการขายทอดตลาดไปแล้ว”

มีรายงานว่า ในส่วนของ “คีรีมายา รีสอร์ท” จากการตรวจสอบเอกสารสิทธิทั้ง 36 แปลง จากการรังวัดที่ดินเขตป่า ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้ แต่กลับมีนายหน้าเข้าไปใช้ชื่อชาวบ้านถือครองที่ดินเป็นเวลา 5 ปี ก่อนโอนขายกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินให้กับ “บริษัท เขาใหญ่เนอเชอรัล” ก่อนนำเอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ก. ไปยื่นจำนองกับธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน).หรือ บีบีซี เพื่อกู้ยืมเงินจากธนาคาร

“บริษัท เขาใหญ่เนอเชอรัล ทุนจดทะเบียน 330 ล้านบาท จดทะเบียน 1 กุมภาพันธ์ ปี 2533 ปัจจุบันล้มละลายไปแล้ว มีกรรมการบริหาร 12 คน กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ประกอบด้วย นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู นายเอกชัย อธิคมนันทะ นายวันชัย ธรรมธิติวัฒน์ นายราเกซ สักเสนา (ที่ปรึกษาบีบีซี) จึงเป็นข้อพิรุธว่าอาจเป็นการจัดตั้งบริษัทเพื่อขอกู้เงินจากบีบีซี”

ทั้งนี้ ยังเชื่อว่า เอกสารที่ดินดังกล่าวอาจมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิได้


อกจากนี้ จากภาพถ่ายทางอากาศพบว่า “คีรีมายา” มีเนื้อที่รวมกว่า 1,400 ไร่ แต่เอกสารสิทธิ ตาม น.ส. 3 ก. มีเพียงกว่า 700 ไร่เท่านั้น

ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบว่ามีการกว้านซื้อที่ดินเพิ่มเติม หรือนำ น.ส. 3 ก. ไปขอออกโฉนดเกินจากเนื้อที่ตาม น.ส. 3 ก. หรือไม่

ส่วนบริษัทที่ประมูลชื้อ ต่อมาก็คือ “บริษัท ร้อยแก้ว จำกัด” ต่อมาขายต่อ ให้บริษัท กอล์ฟ โฮม คันทรีคลับ แอนด์ รีสอร์ท ทั้ง 36 แปลง

“มีการโอนส่งมอบจากเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี ในคราวเดียว แต่กรมบังคับคดีไม่ทราบรายละเอียดว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของสนามกอล์ฟและรีสอร์ตคีรีมายาหรือไม่”

สรุปกรณีคีรีมายา สั้น ๆ คือ มีเอกสารสิทธิที่ซื้อจากองบังคับคดี เนื้อที่ประมาณ 700 กว่าไร่ ซึ่งตรงนี้คีรีมายาไม่มีความผิด

แต่ไอ้ส่วนที่ดินที่เกินกว่า 700 ไร่ไปนั้น อันนี้ต้องตรวจสอบเช่นเดียวกับกรณีโบนันซ่าครับว่า คีรีมายาได้เอกสาร นส.3ก. หรือออกโฉนดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือมีการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก.โดยมิชอบด้วยรึเปล่า

แล้วหากมีที่ดินบริเวณใดรุกเขตป่าสงวน ป่าถาวร คีรีมายาก็จะโดนข้อหาบุกรุกป่าเช่นเดียวกัน

-----------------

แจ๊ส ชวนชื่น ก็รวยจนมีบ้านพักแถวเขาใหญ่เหมือนกัน

ได้ดูรายการที่นี่หมอชิต พาไปเยี่ยมบ้านแจ๊ส ชวนชื่น ตลกที่กำลังฮอตที่สุดช่วงนี้ ที่บ้านพักตากอากาศแถวเขาใหญ่





เรียกว่า อินเทรน จริง ๆ เพราะช่วงนี้เรื่องบ้านพักตากอากาศแถวเขาใหญ่ โดยเฉพาะที่อำเภอปากช่อง กำลังโดนตรวจสอบทุกพื้นที่ว่า มีที่ดินใด รีสอร์ทใด ที่รุกที่ป่าถาวร ป่าสงวน และครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. โดยมิชอบบ้าง

คือ ในฐานะที่ผมเป็นแฟนตลกแจ๊ส ชวนชื่นมานานมาก ชอบตั้งแต่แจ๊สเป็นแค่ตัวประกอบเล็ก ๆ ในคณะชวนชื่น ตอนนั้นแจ๊สมักเล่นเป็นกระเทยเงียบ ๆ จนตอนนี้โด่งดังที่สุดในคณะไปแล้ว

เห็นแจ๊สได้ดี ก็ดีใจด้วย แต่ถ้าเผอิญบ้านพักตากอากาศของแจ๊ส เกิดไปซื้อที่ดินจากการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบล่ะก็ เสียดายเงินแทนเลยล่ะครับ

นี่ไม่ได้หมายความว่า บ้านพักของแจ๊สจะรุกที่ป่านะ แต่ที่ดินแถบนั้นมีโอกาสออกเอกสารโดยมิชอบซะเป็นส่วนใหญ่ ตามที่ผมอธิบายไปแล้ว

สรุปก็คือ ใครที่มีบ้านพัก มีที่ดินแถวปากช่องก็ร้อน ๆ หนาว ๆ ทั้งหมดล่ะครับพี่น้อง

ซึ่งปากช่องโมเดลนี้ จะขยายไปทั่วประเทศ ซึ่งมีโอกาสที่บ้านพักตากอากาศของบรรดาคนรวยในที่ดินทำเลงามอาจจะโดนรัฐยึดที่ดินคืนอีกมากมาย ซึ่งก็คงต้องไปไล่เบี้ยฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายคืนเป็นทอด ๆ กันเอง


-----------------

ถ้ายุค คสช. ทวงคืนผืนป่าไม่จบ ก็คงหวังจากพรรคการเมืองยาก

ที่ดินเฉพาะที่รุกป่าสงวน ป่าถาวร ประมาณการว่า มีประมาณ 4 ล้านไร่ทั่วประเทศ ซึ่ง คสช. ตั้งเป้าในปี 2559 นี้ไว้ว่า จะทวงคืนให้ได้ 4 แสนไร่

ซึ่งหากต่อไป คสช. หมดอำนาจไปแล้ว เราจะหวังนักการเมืองและพรรคการเมืองมาทวงคืนผืนป่าให้ชาติได้หรือไม่ ?

ก็ในเมื่อที่ผ่าน ๆ มาหลายสิบปี พวกนักการเมือง นายทุนการเมือง ต่างก็มีบ้านพักตากอากาศสวย ๆ ในทำเลงาม ๆ ใกล้ป่ากันทั้งนั้น


คลิกอ่าน ตรรกะลูกสาวโบนันซ่า เหมือนตรรกะธัมมชโย

คลิกอ่าน แอฟ ทักษอร ตอน อวสานโบนันซ่า




1 ความคิดเห็น: