วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความกลัวคือเหตุจูงใจให้ธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียมผ่าน app






สาเหตุที่ธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านแอพ

ผมล่ะขำ ที่ผู้คนตื่นตกใจข่าวที่ธนาคารใหญ่หลายธนาคารยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพของธนาคาร

คือผมรู้อยู่แล้วว่า ยังไง ๆ ก็ต้องถึงวันที่ธนาคารต้องทำเยี่ยงนี้ นั่นคือ กลยุทธ์ชิงเชือดเนื้อตัวเองก่อนเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้

เพราะอะไร ธนาคารต้องรีบทำเช่นนี้ ?

คุณผู้อ่าน จำข่าวเก่าเมื่อเดือนที่แล้วได้ไหม ที่มีข่าวลือว่า ต่อไป ธปท. อาจจะอนุมัติให้เซเว่นเป็นธนาคารได้ (สุดท้ายยังเป็นแค่ Banking agent เพราะยังมีการกีดกันขัดขวางการเกิดธนาคารเซเว่นอยู่)

ซึ่งถ้าในต่างประเทศเขามี 7-11 bank ไปแล้ว (ดูกรณี ธนาคาร 7-11 ของญี่ปุ่น ที่ https://bit.ly/2GkC0BQ )

นี่แหละครับ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคารไทยเริ่มขาสั่น กลัว 7-11 จะยึดธุรกรรมการเงินทุกช่องทางมากขึ้น

ถามว่า แล้วคนที่ไม่มีบัญชีเงินฝากในธนาคาร หรือขี้เกียจไปธนาคารล่ะ ถ้าเขาอยากใช้เงินดิจิตอลผ่านสมาร์ทโฟนบ้างล่ะ เขาจะทำไง ?

เขาก็โหลดแอพ True Money Wallet มาไว้บนมือถือซะ ซึ่งสามารถใช้กับเบอร์มือถือของทุกค่าย

เพียงเท่านี้ คุณก็จะทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่าน true money wallet ได้ทั้งหมด แถมสามารถโอนเงินจากธนาคารทุกธนาคารผ่านแอพทรูนี้ได้เหมือนกัน




ผมสรุปง่าย ๆ คือ ธนาคารไทยทุกธนาคารกำลังกลัวเซเว่นอีเวลพเว่นมากที่สุด เพราะเซเว่น ฯ เข้าถึงง่ายกว่า

เราซื้อทุกอย่างได้ที่ 7-11 แต่เราซื้อน้ำเปล่าสักขวดที่ธนาคารยังไม่ได้เลย จริงมะ ?

ธนาคารทยอยปิดสาขา แต่เซเว่นกลับยิ่งเปิดสาขา

แวะเติมเงินเข้าแอพที่เซเว่นก็ง่าย หรือซื้อบัตรเติมเงินทรูแล้วกลับมาเติมเข้าแอพเองก็ได้ หากเราไม่มีบัญชีในธนาคาร




ลองนึกถึงพวกอาชีพที่ไม่มีเงินเดือนประจำสิ เขาจะใช้บริการทางการเงินที่ไหนจะสะดวกที่สุด ?!

ถ้าคุณเคยโหลดแอพทรูมันนี่วอลเลทมาใช้ คุณจะเข้าใจที่ผมอธิบายว่า แอพนี้ทำได้มากกว่าแอพของธนาคารเสียอีก

ยิ่งถ้า true money wallet ฟรีทุกค่าธรรมเนียมได้เมื่อไหร่ แอพํของธนาคารหนาวแน่


จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ ค่าทางด่วน ผ่านแอพทรูมันนี่ ฟรีทุกค่าธรรมเนียม


----------

เมื่อสองวันก่อนมีข่าว ร้านค้าที่ติดเครื่องรูดบัตรสวัสดิการคนจน จะขอคืนเครื่อง เพราะกลัวว่าถ้าขายดีมาก ๆ รัฐจะให้ร้านค้านั้น ๆ ต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข่าวนี้บอกถึงอะไร ?

แล้วบริการ prompt pay ที่ผูกติดกับบัตรประชาชนผ่านบัญชีธนาคารและเบอร์มือถือ

นี่ก็ทำคนกลัวเรื่องข้อมูลรายได้ของตัวเองจะรั่ว กลัวจะเสียสิทธิคนจน กลัวรัฐรู้ว่าตัวเองรวย กลัวต้องจ่ายภาษีเงินได้ประจำปีให้รัฐ

ดังนั้นต่อไป โครงการ พร้อมเพย์ ที่รัฐสนับสนุนอาจจะไปไม่รอด อีกทั้งพร้อมเพย์ไม่สามรรถจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆ ได้

ทีนี้คุณผู้อ่านพอคิดต่อได้แล้วใช่ไหมว่า ที่จริงธนาคารกลัวอะไร ?!

ผมบอกเลยว่า ถ้าซีพีจะทำกิจการการเงินผ่าน true และ 7-11 จริง ๆ ธนาคารไทยทุกธนาคารจะเริ่มอยู่ยากมากขึ้นทุกวัน

------

ธนาคารไทยร่วมกันเอาเปรียบดอกเบี้ยกับคนไทย

เฟด หรือธนาคารกลางสหรัฐ ฯ เขาได้ประกาศเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากถึง 1.5 % แล้ว และว่าจะทยอยประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีนี้

แต่คนไทยยังก้มหน้ารับกรรมกับดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่สหรัฐ ฯ ต่อไป

คนไทยเราเจอธนาคารไทยจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ แต่คิดดอกเบี้ยเงินกู้สูง ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างกันมากเกินไป

นี่คือการร่วมกันเอาเปรียบประชาชนของบรรดาธนาคารไทย

ลองดูอัตรากำไรของทุกธนาคารที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีสิ รวยเอา ๆ แต่กลับร่วมกันกดดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำลง ๆ แต่กินดอกเบี้ยเงินกู้และค่าธรรมเนียมเงินกู้ยุบยับ (โดยมี ธปท. ร่วมฮั้วผ่านนโยบายดอกเบี้ย)

ดังนั้น ผมจึงชอบที่ตอนนี้ธนาคารไทยกำลังกลัว CP และ 7-11 มากขึ้น

ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่ที่การวิ่งเต้นกีดกันเซเว่น ฯ ของพวกธนาคารผ่านนโยบายของ ธปท.
.
สมรภูมิทางการเงินยังอีกยาวไกล
ยิ่งดุเดือดประชาชนยิ่งได้ประโยชน์
.
หมายเหตุ เคยลือกันว่า ซีพีอยากจะซื้อกิจการธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์(หรือธนาคารเล็ก ๆ สักธนาคาร) เพื่อหาทางเลี่ยงนโยบายกีดกันธนาคาร 7-11 ของ ธปท.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น