วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ค่าเงินบาทแข็ง คิดลดดอกเบี้ย คือมาตรการห่วยแตก







ช่วงนี้คือช่วงนี้ค่าเงินบาทแข็งค่า จากภาวะเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยจำนวนมาก

ผลกระทบที่เห็นชัดคือ เมื่อค่าเงินบาทแข็ง ผู้ส่งออกสินค้าของไทยจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น จากเมื่อก่อนเคยส่งออกสินค้ามูลค่า 1 ล้านดอลล่าห์ เคยได้เงิน 31 ล้านบาทกลับมา ก็อาจลดเหลือ ประมาณ 29.5 ล้านบาทเท่านั้น

ทีนี้มีผู้เสนอให้ธนาคารแห่ประเทศไทย ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เพื่อลดการไหลเข้าของเงินต่างชาติ และจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น รวมทั้งให้ธปท.แทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก (ดร.โกร่งนั่นแหละที่เสนอ)

คือ ผมมองว่า นี่คือหลักเศรษฐศาสตร์ที่มองพวกนายทุนสำคัญเป็นหลักไว้ก่อน คือห่วงแต่ผู้ส่งออก แต่ไม่ห่วงประชาชนจำนวนมากที่ออมเงินไว้ในธนาคาร เช่นผู้สูงอายุที่ฝากเงินไว้กินดอกเบี้ยยามแก่ เป็นต้น

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในบ้านเรา ห่วงแต่ชนชั้นนายทุนเกินไป จนทำให้ประชาชนระดับล่างต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย เพราะนักเศรษฐศาสตร์ในบ้านเราใช้แต่หลักเศรษฐศาตร์ตะวันตก จนเป็นทาสวิชาการฝรั่งเกินไป

ทางแก้ที่ถูกต้องไม่ใช่การลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง แต่ควรให้ผู้ส่งออกหัดพึ่งตนเอง ด้วยการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกันบ้าง ไม่ใช่เอะอะอะไร ก็ผลักภาระมาที่ประเทศชาติแทน

ด้วยวิธีลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง เพื่อหวังให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว หรือให้ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทให้แข็งขึ้น นี่แสดงว่า ยังไม่เข็ดจำที่เคยพังเพราะการแทรกแซงค่าเงินบาทในปี 2540 มาแล้ว

พวกผู้ส่งออกไทยชั่งเห็นแก่ตัวกันจริงๆ มีหนทางประกันความเสี่ยงค่าเงิน ดันไม่ทำกัน แต่จะมาผลักภาระให้คนอื่นต้องเดือดร้อนแทน

-------------------

เศรษฐศาสตร์ระบบนายทุนเป็นใหญ่

การที่ประเทศไทยมีคนรวยกระจุก คนจนกระจาย เพราะนักเศรษฐศาสตรที่มีอำนาจมักคิดแต่เห็นประโยชน์ของนายทุนเป็นใหญ่เสมอ

ชอบเหลิอเกินที่จะกระตุ้นให้คนไทยใช้จ่ายมากๆ ยิ่งลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง ก็มีส่วนทำให้คนไทยออมเงินน้อยลง

นี่คือวิธีคิดแบบนายทุนที่สนแต่ธุรกิจ สนแต่ให้ประชาชนบริโภคเยอะๆ จนตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่มีนิสัยฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ส่วนหนึ่งก็มาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งปีทั้งชาติของรัฐบาลอย่างพร่ำเพรื่อ จนคนไทยชอบเป็นหนี้กันมาก

เราควรหันมองไปที่ยุโรป และอเมริกา ที่ตอนนี้รัฐบาลของเขาพยายามลดค่าใช้จ่ายลง หรือที่เรียกว่า นโยบายรัดเข็มขัด

ส่วนของสหรัฐ ก็คือ นโยบายหน้าผาการคลัง นั้น ก็คือนโยบายตัดรายจ่ายแบบฮวบฮาบ จนเหมือนดิ่งลงเหว

นั่นเพราะที่ผ่านมารัฐบาลชาติตะวันตกใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินไป เพิ่มค่าแรงให้ประชาชนจนเกินไป จนทำให้ประเทศต้องประสบวิกฤติเศรษฐกิจ

ผมหวังว่า สักวันจะมีรัฐบาลไทยที่ยึดแนวเศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง มากกว่ายึดแนวเศรษฐศาสตร์ของตะวันตกมาใช้จริง ๆ มิใช่แค่เขียนนโยบายพอเพียงไว้ประดับสวยๆ แต่หาได้พอเพียงจริงๆไม่

เพราะปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกา คือเครื่องบ่งชี้เลยว่า เศรษฐศาสตร์ตะวันตก คือหลักการที่ทำลายสิ่งแวดล้อมของโลก คือกระตุ้นให้คนบริโภคกันมากๆ เป็นสุขนิยม นี่แหละคือต้นเหตุปัญหาโลกร้อนเช่นกัน

-----------------

ฝากข่าวทิ้งไว้ให้คิดเมื่อ

นายกสิงคโปร์เริ่มเห็นถึงคุณค่าการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง แห่งสิงคโปร์เผยในวันจันทร์ 3 ธ.ค. 2012 ระบุ จะไม่ตั้งเป้าสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงแบบบ้าคลั่งดังเช่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ชี้ นับจากนี้สิงคโปร์จะเน้นสร้างความเติบโตแบบยั่งยืน เผย อัตราการเติบโตที่ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีก็เพียงพอแล้ว

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ วัย 60 ปี ซึ่งก้าวขึ้นครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2004 กล่าวระหว่างเข้าร่วมการประชุมของพรรคกิจประชา (People's Action Party) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล

โดยระบุ ในอดีต สิงคโปร์เคยหมกมุ่นอยู่กับการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและตั้งเป้าการเติบโตในแต่ละปีไว้สูงถึงราว 7-8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ขณะที่ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็ถูกกำหนดไว้ที่เฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ผู้นำสิงคโปร์ระบุว่า นับจากนี้ หากปีใดที่เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้ถึงปีละ 3-4 เปอร์เซ็นต์ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เนื่องจากสิงคโปร์กำลังจะต้องเผชิญปัญหาการลดจำนวนลงของประชากรวัยแรงงานในอนาคต ดังนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปีนับจากนี้ จึงถือเป็นเป้าหมายที่น่าพอใจแล้ว และน่าจะเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสมและยั่งยืน

“ผมไม่ได้ต้องการให้เราเลิกให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิงคโปร์ยังคงต้องการการเติบโต แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนเราจะหมกมุ่นกับการสร้างความเติบโตมากเกินไป นับจากนี้ผมเห็นว่า เราควรต้องหันมาสร้างค่านิยมใหม่ในเรื่องดังกล่าว” นายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุงกล่าว พร้อมย้ำว่า นอกจากการสร้างการเติบโตแบบยั่งยืนแล้ว สิ่งที่สังคมสิงคโปร์จะต้องยึดถือนั่นคือ “ระบบคุณธรรมนิยม” ที่เน้นการสร้างความสำเร็จโดยไม่ใช้สิทธิพิเศษทางชนชั้นต่างๆ

ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้ใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองจากการเป็นประเทศโลกที่ 3 ไปสู่การเป็นหนึ่งในดินแดนที่ร่ำรวยที่สุดของโลกโดยใช้เวลาเพียงครึ่งศตวรรษ และในปัจจุบันสิงคโปร์ซึ่งมีประชากรเพียง 5 ล้านคนถือเป็น 1 ใน 4 ศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดของโลก และเป็นเมืองท่าที่มีความคับคั่งของการขนส่งสินค้าติด 5 อันดับแรกของโลก

ที่มาข่าว http://astv.mobi/AbCfp5S





วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

โพลนั่งเทียน






ต่อจากบทความก่อน โพลจัดตั้ง โพลขี้ข้า

ในตอนนี้ผมจะพูดถึงโพลนักศึกษานั่งเทียน ก็แปลตรงตัวคือ อาจารย์จ้างนักศึกษาทำโพลเพื่อหารายได้พิเศษ หรือไม่ก็เป็นงานที่อาจารย์ใช้นักศึษาไปสำรวจโพลเพื่อแลกคะแนนหรืออะไรก็ตามแต่

นักศึกษาที่รับจ๊อบจากอาจารย์ทำโพล ตามหลักนักศึกษาก็ต้องไปสำรวจความคิดเห็นตามกลุ่มตัวอย่างจริงๆ

แต่สมัยนี้นักศึกษาจำนวนมาก ผมกล้าย้ำเลยว่า จำนวนมากโดยเฉพาะโพลการเมืองที่รับจ๊อบเป็นเงิน โดยมากจะมีการนั่งเทียนกันเอง คิดกันเอง

ยิ่งโพลการเมือง นักศึกษายิ่งชอบ เพราะมันง่ายมาก สุ่มก็ไม่ต้องสุ่ม คิดเองเออเอง แล้วเอาเงินค่าจ้างมากินเหล้าดีกว่า เรื่องอะไรจะไปสำรวจให้เมื่อย

ผมถามง่ายๆ ว่า คุณเคยโดนสำรวจโพลการเมืองกันบ้างไหม ?

เพราะจากข่าวโพลการเมืองที่รายงานมาทีไร สังเกตดูได้ ไม่ค่อยจะบอกว่า สำรวจที่ไหน สำรวจคนอายุเท่าไหร่ หรือกลุ่มอาชีพไหน เป็นต้น

หรือบางทีนักศึกษาก็ชี้นำเอาเองเลย ตัวเองชอบใครก็ชี้นำไปทางนั้น ก็นักศึกษาที่ทำโพล ทุกคนก็เคยเรียนมาทั้งนั้นว่า โพลสามารถชี้นำสังคมได้ โดยเฉพาะสังคมที่มีคนไม่ค่อยสนใจใฝ่หาวิชาความรู้จำนวนมาก เพราะสนใจแต่แชทๆๆๆ

โพลสามารถชี้นำให้สังคมคล้อยตามได้ มันจิตวิทยาสังคมแขนงหนึ่ง

หรือไม่ก็ถ้านักศึกษาที่ฉลาดหน่อย ก็จะตามเช็คข่าวว่า พรรคไหนนำอยู่ หากตัวเองชอบฝ่ายไหนอยู่แล้ว ก็อาจเสริมเติมแต่งไปอีกนิด ให้มันชี้นำมากขึ้น เป็นการสนองตัณหาความสะใจของตัวเองกลาย ๆ

หรือถ้าพรรคไหนสูสี บางทีก็ทำโพลนั่งเทียนให้ออกมาใกล้เคียงกันหน่อย โดยที่จะเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายที่ตัวเองชอบอยู่ดี

-------------------------

โพลการเมือง ยุคเลือกตั้งผู้ว่า '56

กรณีเลือกตั้งผู้ว่ากทม. สังเกตเลยว่า ไม่เห็นบอกสำรวจที่ไหน จำนวนคนเท่าไหร่ และคนกลุ่มไหน

บางทีนะ จ้างนักศึกษาไปสำรวจ แต่ส่วนใหญ่มักไปสำรวจจริงแค่วันแรก เท่านั้น เพราะกำลังขยันวันต่อมาก็ร้อน ก็ขี้เกียจ ที่เหลือเลยนั่งเทียนเอาเองต่อก็มี โดยยึดโพลที่ไปสำรวจจริงเป็นแม่แบบไว้ ทีนี้มันมีประเด็นนึงคือ

พวกนักศึกษามันชอบมักง่าย เช่นถามคนไม่กี่คน แถมถามคนใกล้ตัว เช่นถามญาติ ถามเพื่อน ถามมอไซค์วิน ถามพ่อค้าแม่ค้าที่ตัวเองรู้จัก

แบบนี้โพลจะยิ่งไม่ค่อยแม่น เพราะบางทีคนที่ถูกถาม ก็ไม่เคยไปเลือกตั้งเลย หรือไม่ก็คนที่ถูกถามไม่มีสิทธิเลือกตั้งด้วยซ้ำ เช่น เป็นคนตจว.มาหากินในกรุงเทพฯ

ยิ่งโพลสวนดุสิต โดยอาจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ ได้ออกมาบอกว่า ถ้าเป็นโพลการเมืองจะไม่มีใครจ้างให้ทำ ทำให้ฟรีๆ

ซึ่งหากเป็นแบบนั้นตามอาจารย์สุขุมว่าจริงๆ ผมยิ่งเชื่อกว่า นักศึกษาจะยิ่งนั่งเทียนกันใหญ่เลยล่ะครับ ก็ขนาดโพลที่จ้างให้ไปทำ นักศึกษายังมั่วนั่งเทียนเองมากมาย

แล้วโพลฟรี มีรึใครมันจะขยันไปถามให้เล่าอาจารย์ ??


--------------------------


ซึ่งมีตัวอย่างนึงคือ มีผู้สมัครหน้าโง่เป็นอดีตพระเอกละครดัง เดินหาเสียงตามตลาด ตามริมถนน มีพ่อค้าแม่ค้า ประชาชนสัญจรให้กำลังใจมากมาย บอกว่าจะไปเลือกให้ รับรองชนะแน่

สุดท้าย อดีตพระเอกคนนั้นแพ้ !! เพราะอะไรรู้มั้ย ?

ก็เพราะคนเดินถนนเป็นคนต่างจังหวัดทั้งนั้น และพ่อค้าแม่ค้าจำนวนมาก ก็ไม่ค่อยไปเลือกตั้งนั่นเอง

แต่ก็อย่างว่า เมื่อก่อนยุคที่คุณสมัคร สุนทรเวชยังมีชีวิต คุณสมัครเคยต่อต้านไม่ให้ทำโพลชี้นำพวกนี้ เพราะคุณสมัครรู้ว่า โพลมันจัดตั้งได้ โพลมันชี้นำได้ มันเป็นโพลรับจ้างซะเยอะ

จึงเคยมีข้อห้ามทำโพลการเมืองอยู่ยุคนึง โดยห้ามเผยผลโพลก่อนจะพ้น3โมงเย็นของวันเลือกตั้งไปแล้ว

(กฎหมายเลือกตั้ง สส. สว. จะห้ามการทำโพลก่อนวันเลือกตั้ง แต่กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นกลับไม่ห้าม)

นั่นเพราะโพลชี้นำสังคมไทยได้ เราจึงไม่แปลกใจที่ยุคนี้มีโพลการเมืองกลับมาโลดแล่นอีกก่อนการเลือกตั้ง ก็เพราะว่า คนไทยเก่งเสพเทคโนโลยีนะ ซึ่งดูเหมือนเจริญนะ แต่จริงๆ แล้ว คนไทยจำนวนมากไม่่ค่อยรู้เรื่องวิชาการหรอก แปลง่ายๆ คือ โดนโพลชี้นำได้ง่ายมาก

ก็ขนาดคนขายนมเปรี้ยวแถวบ้านผม เรียนจบแค่ป.6 ยังมีไอโฟน4s นั่งเล่นเฟซบุ๊คระหว่างขายของแทบตลอดเวลาเลย คือผมไม่ได้ดูถูกอะไรหรอก

แต่อยากจะบอกว่า การมีของใช้ไฮเทคไม่ได้แปลว่า ประเทศไทยเจริญ หรือคนไทยเก่งอะไรเลย คนไทยก็แค่นักซื้อติดระดับโลกเท่านั้น คนไทยก็แค่ทาสเทคโนโลยีเท่านั้น

คือถ้าฉันมีของไฮเทคใช้ ก็มักจะคิด(ไปเอง)ว่า ตัวฉันฉลาดขึ้น ^^

จำได้ไหม เอ๊กซิสโพลในการเลือกตั้งใหญ่คราวที่แล้ว โพลบอกว่า พรรค...จะแพ้ในกรุงเทพฯอย่างราบคาบ สุดท้ายกลับตาลปัตร!!  พรรคที่ว่าจะแพ้ กลับชนะขาดลอยเลยครับ

akecity





วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาโรงไฟฟ้าจากขยะและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ทำให้คนไทยไม่ยอมรับ






ความจริง ปัญหาขยะกองโตเป็นภูเขาจนกำจัดไม่หมด จริงๆ แล้วการขยะกำจัดไม่ยากหรอกครับ นั่นคือ การสร้างโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ โดยให้เลียนแบบจากโรงไฟฟ้าพลังงานชยะของญี่ปุ่น ที่เขาทำได้ครบวงจร และแทบไม่เกิดมลพิษเลย

แต่ไฉน โรงไฟฟ้าแบบนี้กลับไม่ค่อยเกิดขึ้นง่าย ๆ ในประเทศไทย ?

หรือแม้กระทั่งโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ที่เกิดจากการเผาเศษวัชพืช เศษขยะจากการเกษตร เช่น ฟาง แกลบ ชานอ้อย กาบปาล์ม และวัสดุเหลือใช้แล้วต้องทิ้งทางการเกษตรอื่น ๆ อีกมากมาย

แล้วทำไม โรงไฟฟ้าชีวมวล จึงไม่ค่อยเกิดขึ้นในเมืองไทยง่ายๆ เช่นกัน ?

-----------------

ขยะที่เกิดในกรุงเทพ เมื่อไปถึงเตาเผาขยะ ส่วนใหญ่ก็เผาทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ได้แปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเลย เสียพลังงานจากการเผาไปเปล่าประโยชน์

แล้วพอ กทม. จะทำเป็นโรงไฟฟ้าจากพลังงานเผาขยะแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นใช้ ก็จะมีกลุ่มชาวบ้านออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย เพราะเกรงมลภาวะเป็นพิษในชุมชน

แต่ในขณะที่ปล่อยให้มีกองขยะใหญ่เท่าภูเขาที่ทั้งเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สะสมเชื้อโรค แถมวันดีคืนดีกองขยะก็เกิดลุกไหม้ติดไฟเองจนเป็นข่าวบ่อยครั้ง นั่นยิ่งสร้างมลภาวะอันตรายยิ่งกว่า

แต่คนไทยกลับยอมให้มีกองขยะเท่าภูเขาได้มากกว่าจะยอมให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

คิดดูถ้า กทม. มีโรงไฟฟ้าจากขยะแบบที่ญี่ปุ่น เราจะได้ทั้งไฟฟ้า ได้ทั้งกำจัดขยะ ได้ทั้งผงคาร์บอนหรือขี้เถ้าที่ได้จากการเผาขยะ แล้วนำขี้เถ้าเหล่านี้เอาไปถมทะเลกรุงเทพฯ ด้านบางขุนเทียน ที่กำลังถูกน้ำทะเลรุกคืบกัดเซาะได้เป็นอย่างดี เพราะที่ญี่ปุ่นเขาเอาผงคาร์บอนไปสร้างแผ่นดินให้งอกทุกปีเช่นกัน

นั่นก็เท่ากับว่า แค่มีโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ ก็จะได้ช่วยคืนแผ่นดินให้กรุงเทพฯ ด้วย คิดดูสิว่ามันจะดีขนาดไหน ?

หรือแม้แต่ในหลายจังหวัด ที่จะมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อจะได้นำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตไฟฟ้า ย่อมดีกว่าให้ชาวบ้านเผาทิ้งกันเองจนเกิดมลภาวะเป็นพิษทางอากาศแบบควบคุมไม้ได้ แบบที่เราเห็นเป็นข่าวเป็นประจำนั้น

แล้วสาเหตุที่โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แบบล้วนก็เกิดขึ้นได้ยาก สาเหตุทั้งหมดมาจากอะไรรู้ไหมครับ ?

------------------------

เพราะชาวบ้านเขาไม่ไว้ใจข้าราชการ ไม่ไว้ใจรัฐบาล รวมทั้งไม่ไว้ใจนักลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า จนมันเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกลงในสังคมไทยมานานแล้ว

สาเหตุก็เพราะ ข้าราชการไทยยังคอรัปชั่น แล้วไปร่วมมือกับนักลงทุนที่ไม่จริงใจต่อประชาชนและประเทศชาติ

เพราะที่ผ่านมา ต่างก็บอกว่าจะสร้างโรงงานที่ไม่ก่อมลภาวะเป็นพิษ หรือบอกว่าจะสร้างโรงงานที่ทันสมัยที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

แต่สุดท้าย ชาวบ้านก็มักจะโดนหลอกเหมือนเดิมซ้ำ ๆ  ทำให้พอรัฐบาลคิดจะสร้างโรงไฟฟ้า หรือโรงกำจัดขยะเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใดก็ตาม ก็มักเกิดกระแสต่อต้านจากชาวบ้านในพื้นที่อยู่เสมอ

แต่เรื่องราวทำนองนี้กลับไม่มีเกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นเลย นั่นเพราะข้าราชการญี่ปุ่นเขาไม่คอร์รัปชั่น นักลงทุนเขาก็ไม่เห็นแก่เงินจนลดต้นทุนการประกอบการ จนนำมาซึ่งมลภาวะเป็นพิษต่อชุมนุม

ผมเคยเห็นข่าวโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อมมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ระบบราชการไทยทำได้แค่ตักเตือน สั่งปิดโรงงานแค่ชั่วคราวเพื่อให้แก้ปัญหาหมักหมมเดิม ๆ  แล้วพอโรงงานนั้นกลับมาเปิดกิจการอีก ก็กลับมาทำลายสิ่งแวดล้อมอีกเหมือนเดิม วนเวียนกันแบบนี้ไม่รู้จบ

ผมแทบไม่เคยเห็นเจ้าของโรงงานที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสักโรงงานเดียว ต้องติดคุก หรือต้องจ่ายค่าเสียหายในราคาสูงให้ชาวบ้านที่เดิอดร้อนเลยจริง ๆ สักราย

เมื่อกฎหมายเอาผิดคนทำชั่วมันห่วยแตก ประชาชนก็คือผู้รับเคราะห์ ด้วยการตายผ่อนส่งฟรี ๆ

นี่แหละคือรากเหง้าของปัญหาสิ่งแวดล้อมไทย

(หรืออย่างคดีสารตะกั่วของของลำห้วยคลิตี้ล่าง ต้องใช้เวลานับ 19 ปีกว่าศาลจะตัดสินให้บริษัทต้องจ่ายค่าเสียหาย จนผู้เสียหายได้ตายไปแล้วไม่รู้กี่คน)

----------------------

หากข้าราชการไม่คอร์รัปชั่น นักลงทุนก็จะไม่กล้าทำผิดเรื่องสิ่งแวดล้อมง่าย ๆ

โรงไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก ทั้งโรงไฟฟ้าจากการเผาขยะ และโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน หรือถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า ถ้ามีได้ทุกจังหวัดหรือมีให้ได้แทบทุกตำบล คิดดูประเทศไทยเราจะดีขึ้นขนาดไหน

ปัญหาขยะก็ได้รับการแก้ไข ปัญหาชาวบ้านเผาวัสดุทางการเกษตรกันเองจนเกิดปัญหามลพิษหมอกควันก็จะหมดไปด้วย เพราะได้นำขยะเหล่านี้ไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าแทน แถมราคาถูกด้วย

แต่ที่มันเกิดได้ยาก เพราะรัฐบาลไทย ข้าราชการไทยมันห่วย จนชาวบ้านไม่กล้าไว้ใจนั่นเองครับ





ในเมื่อไฟฟ้านับวันต้องใช้มากขึ้น ยิ่งรัฐบาลชอบเชิญชวนให้นักลงทุนมาตั้งโรงงานมากขึ้น ไทยเราก็ต้องจัดหาพลังงานไฟฟ้ามารองรับมากขึ้น แถมต้องเป็นไฟฟ้าราคาถูกมากด้วย ถึงจะจูงใจนักลบทุนให้มาลงทุน

แต่พอจะสร้างโรงงานไฟฟ้าทีไร มันก็จะมีกระแสชาวบ้านออกมาต่อต้านเสมอ

ผมถามง่ายๆว่า ถ้ามีโรงงานไฟฟ้าจากขยะ ไปตั้งที่พื้นที่ใด ทำไมไม่ให้คนในพื้นที่นั้นเขาได้ใช้ไฟฟ้าฟรี หรือมีส่วนลดพิเศษสำหรับค่าไฟฟ้า เพื่อเป็นการตอบแทนพวกเขาบ้างล่ะครับ ??

ในเมื่อชาวบ้านเขาคิดว่า เขามีแต่เสียกับเสีย ก็ไม่มีชาวบ้านที่ไหน เขาอยากจะได้โรงไฟฟ้าไปตั้งในหมู่บ้านเขาหรอกครับ จริงไหม

-------------

สาเหตุที่ลึกกว่าที่คิด !!

และสาเหตุที่เราอาจคาดไม่ถึง นั่นก็คือ พวกนักการเมืองและพวกข้าราชการที่ได้ผลประโยชน์จากการที่ ปตท. ขายแก๊สให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต พวกมันจะคอยขัดขวางการเกิดโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวล

รวมไปถึงพวกนักการเมืองที่ไปส่งเสริมให้พม่าขายแก๊สให้ไทย พวกนี้กลัวตัวเองจะเสียเงินใต้โต๊ะที่พม่าจ่ายให้ทั้งทางตรงทางอ้อม จึงพยายามปลุกปั่นคนไทยให้หวาดกลัวโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ

แต่พวกนักการเมืองและทุกรัฐบาลจะสนับสนุนโรงไฟฟ้าจากถ่านหินแทน

-----------------------

วิธีแก้ปัญหาคือ

รัฐควรส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ศึกษาระบบโรงงานไฟฟ้าเหล่านี้ และรัฐบาลก็ลงทุนให้ชาวบ้านได้ดูแลบริหารจัดการโรงไฟฟ้าเหล่านี้ด้วยตัวพวกเขาเอง นี่แหละคือการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ที่เรียกว่า "โรงไฟฟ้าจากขยะชุมชน" แก้ปัญหาขยะในท้องที่ และ "โรงไฟฟ้าชีวมวลประจำตำบล" แก้ปัญหาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

เพราะชาวบ้านเขาย่อมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ๆ พวกเขาเกิดเขาอาศัยหรอก



คลิกอ่าน วิกฤติพลังงานไฟฟ้าไทย กับนโยบายส่งเสริมการลงทุน


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงการรถคันแรก ในสายตาคนรวยผิดไหม ?






คือในช่วงที่โครงการรถคันแรกยังไม่สิ้นสุดโครงการ ก็มีดาราอย่างณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ. อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ แพรวา 9 ศพ หรืออย่าง นายกรณ์ จาติกวณิช ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้

ส่วนสื่อฟายแดงอย่างข่าวปด เอ้ย ข่าวสด ได้พาดหัวข่าวเสียดสีทำนองว่า คนมีรถ 6 คัน อย่างนาย กรณ์ ดันออกมาวิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับโครงการรถคันแรก

ถ้าเรามองอย่างผิวเผินอย่างฟายแดง ก็ต้องด่า 2 คนนี้ว่า ก็พวกเอ็งมันรวยนี่หว่า มีรถหลายคันได้ แต่ดันมาห้ามไม่ให้คนจนมีรถคันแรกบ้าง ?

นั่นคือ การมองอย่างตื้นๆ แบบฟายแดง และความจริงถ้าใครจนก็ไม่ควรเป็นหนี้เพิ่มเพื่อสนองกิเลสในการมีรถ และจริงๆ แล้วคนซื้อรถส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนหรอก แต่เป็นคนชั้นกลางมากกว่าที่ซื้อรถ

ถามว่า จริงๆ แล้วประเด็นอยู่ตรงไหน ? คนรวยมีรถหลายคัน ไม่เห็นด้วยกับโครงการรถคันแรกผิดหรือไม่ ?

ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้นหรอก เพราะทุกคนต่างมีสิทธิที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้

และต่อให้คนรวยมีรถมากมายก่ายกองแค่ไหน อย่างนายกรณ์มีรถ 6 คันนั้น

ถามว่า คนเราขับรถพร้อมกันทีเดียว 6 คันได้ไหม ? ก็ไม่ได้ใช่มั้ย คนเราไม่ว่าจะรวยหรือจน ก็ขับรถได้ทีละคันเท่านั้น ฉะนั้นถึงมีรถหลายคัน ก็ไม่ได้ทำให้รถติดมากกว่าเดิมในเวลาเดียวกันหรอก

แต่ถามว่า คนรวยเขาซื้อรถหรู ยิ่งแพงมาก ก็ยิ่งจ่ายภาษีมาก แถมคนรวยเวลากลับบ้าน เขาก็จอดรถในบ้านของเขา ใช่ไหม?

คนรวยเขาไม่ได้เอารถมาจอดเกะกะริมถนนเหมือนคนจำนวนไม่น้อย ที่บ้านตัวเองไม่มีที่จอดรถ แต่ดันซื้อรถ และเอารถมาจอดทิ้งให้เกะกะทางสาธารณะใช่หรือไม่ ?

เท่ากับว่า มาเบียดเบียนทางสาธารณะในเวลาที่ตัวเองไม่ได้ขับรถ!!

การที่รัฐบาลเอาภาษีที่ควรเข้ารัฐไปเป็นส่วนลดให้บริษัทรถยนต์ขายดีขึ้นถูกแล้วหรือ ?

มีรัฐบาลประเทศนี้ประเทศเดียวในโลกที่คิดค้นโครงการที่ทำลายมากกว่าสร้างสรรค์แบบนี้ได้

------------------

รถมากขึ้น รถติดมากขึ้น ใครเดือดร้อนมากที่สุด ?

เราคงไม่ต้องไปใส่ใจพวกคนรวยว่าจะเดือดร้อนเพราะรถจะติดมากขึ้นหรือไม่ ?

เพราะคนรวยเขาไม่เดือดร้อนเรื่องค่าน้ำมัน หรือแม้รถจะติดมากขึ้น คนรวยก็ติดอย่างสบายในรถราคาแพง

เรามามองที่ความลำบากของคนจนดีกว่า ?

คนจนต่างหากที่ต้องมาทนรถติดมากขึ้น ต้องทนอยู่บนรถเมล์ รถสาธารณะนานขึ้น ต้องทนสูดดมมลพิษในอากาศมากขึ้น พวกเขาต้องมาทรมานมากขึ้น เพราะโครงการรถคันแรกของรัฐบาลนั้น

เรามาเห็นใจคนจนจำนวนมากดีกว่า ว่าพวกเขาได้อะไรจากโครงการรถคันแรกของรัฐบาล

หากใช้ตรรกะที่ว่า ทีคนรวยมีรถหลายคันได้ รัฐบาลเลยมาช่วยคนชั้นกลางมีรถคันแรกเพื่มขึ้น

ตรรกะแบบนี้เลวมาก !!

ตามความจริง หากเราไม่พอใจที่คนรวยมีรถหลายคัน แทนที่จะเอาภาษีไปสนับสนุนในคนชั้นกลางมีรถมากขึ้น

สู้มาคิดเก็บภาษีหนักๆ สำหรับคนที่มีรถหลายคันไม่ดีกว่าเหรอ ? ใครที่ยิ่งมีรถมาก ก็ต้องเสียภาษีให้มากขึ้นเป็นทวีคูณดีกว่าไหม ?

แล้ว ปู มีรถกี่คัน โอ๊ค มีรถกี่คัน พจมานมีรถกี่คัน ? คนพวกนี้มันไม่ออกโครงการที่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนหรอก

การจะคิดโครงการอะไร ควรเห็นใจคนที่เดือดร้อนให้มาก และสงสารโลกใบนี้ให้มาก นั่นแหละคือ รัฐบาลที่ดี

ไม่ใช่สักแต่ออกโครงการที่ไปเพิ่มพูนความลำบากให้คนจนและโลกของเราเพิ่มขึ้น

--------------------------

ปัญหารถติด คือปัญหาโลกแตกของคนกรุงเทพ

จงอย่าได้เชื่อว่า ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ จะแก้ไขได้ เพราะมันไม่มีทางแก้ไขได้อย่างแน่นอน

ตราบใดที่จำนวนรถมันเพิ่มเร็วมากเกินกว่าถนนจะรองรับได้

ยิ่งรัฐบาลไปเร่งให้คนมีรถมากขึ้นเร็วเกินไป รถย่อมติดมากขึ้นเป็นธรรมดา

หากต้องสร้างถนนมากขึ้น สร้างเท่าไหร่ก็ตามจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นทุกวันไม่ทันหรอกครับ

และหากต้องสร้างถนนไม่จบไม่สิ้น สักวันบ้านของคุณก็อาจถูกเวรคืนเพื่อตัดถนนก็ได้ เพราะบ้านคนกำลังจะไม่สำคัญเท่ากับรถยนต์แล้ว

ก็เช่นที่ ม.เกษตรศาสตร์ ยังจะโดนทางด่วนรุกล้ำเลยครับ จริงมะ สักวันก็อาจเป็นบ้านของคุณเช่นกัน

akecity





วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

โพลจัดตั้ง โพลขี้ข้า






คุณเคยมีโพลการเมือง มาสำรวจความคิดเห็นของคุณบ้างหรือไม่ ?

ผมเคยนะ แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มีการโทรมาถามถึงบ้าน สัมภาษณ์อยู่ประมาณ 5 นาที

ส่วนโพลการเมืองในเมืองไทย ผมขอบอกว่า ยังเชื่อถือไม่ได้ทุกโพลนั่นแหละ เพราะคนไทยจำนวนมากยังมีการวิเคราะห์ด้วยปัญญาและเหตุผลค่อนข้างด้อยประสิทธิภาพ

ลองคิดดูนะ  สังคมที่พอเห็นรูปมนุษย์ต่างดาวในรูปถ่าย ก็เชื่อว่าว่าถ่ายติดมนุษย์ต่างดาว จนเป็นข่าวฮือฮา และคนถ่ายรูปดันเป็นตำรวจเสียด้วย

สังคมที่นิยมกราบไหว้สัตว์เกิดมาพิการ หรือเจอถุงเจลลดไข้ ก็แตกตื่นนึกว่าหนอนต่างดาว

สังคมที่มีสภาพแบบนี้จึงเชื่อได้ว่า ผู้คนยังเชื่อถือในเรื่องที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าที่ควร ย่อมจะถูกชักจูงชี้นำจากคนชั่วที่ฉลาดกว่าได้อย่างง่ายดาย


-------------------------

โพลจัดตั้ง คือโพลที่รับสินบนเพื่อการชี้นำสังคม 

ผู้ที่ต่อต้านการทำโพลการเมือง ก่อนมีการเลือกตั้งมากที่สุด คือ คุณสมัคร สุนทรเวช จนกระทั่งภายหลัง ได้มีการห้ามไม่ให้ทำโพลก่อนจะผ่านพ้นการเลือกตั้งไปแล้ว หรือสามารถบอกผลโพลหลัง 3 โมงเย็นในวันเลือกตั้งได้เท่านั้น

เพราะประเทศที่มีคนโง่จำนวนมาก ที่ไม่มีความรู้เรื่องการสำรวจความเห็นตามหลักวิชาการดีพอ มักจะถูกชี้นำจากโพลจัดตั้งได้มาก

แต่พอคุณสมัคร จากไปไม่กลับ หลับไม่ตื่นแล้ว อยู่ๆ โพลจัดตั้งชี้นำการเมืองมันได้กลับมามีบทบาทในการชี้นำประเทศที่มีการจบปริญญาตรีที่มากด้วยปริมาณ แต่กลับด้อยคุณภาพอีกครั้ง

ตัวอย่างเช่น

ผลโพลนิด้า บอก คุณชายหมูมีคะแนนนิยมนำ
ส่วน ผลโพลขี้ข้า บอกว่า เสาไฟฟ้าคะแนนนิยมนำ

ใครเชื่อโพลนิด้า ก็มีปัญญาระดับ บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
แต่ถ้าใครเชื่อ โพลขี้ข้า ก็มีปัญญาระดับ เอแดก(หญ้า) หรือเอแบก(ขี้)


(กฎหมายเลือกตั้ง สส. สว. จะห้ามการทำโพลก่อนวันเลือกตั้ง แต่กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นกลับไม่ห้าม)


akecity




ความห่วยของ กกต. ยุค อภิชาติ กับ สดศรี






กกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยุคที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ เป็นประธาน กกต. และมี นางสดศรี สัตยธรรม เป็นกกต. ยุคนี้มันรับใช้พรรคการเมืองชั่ว

เพราะความจริงนั้นพรรคเพื่อไทยมันทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ตั้งแต่หาเสียงเรื่อง ค่าแรง 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรีหมื่นห้าแล้วล่ะครับ นั่นคือสัญญาว่าจะให้ เป็นตัวเงิน แม้จะเป็นเงินจากภาษีชาติก็ตาม

หรือแม้แต่ครงการรับจำนำข้าวตันละหมื่นห้า เป็นการหาเสียงที่ไม่สนเรื่องความเสียหายของกลไกตลาดที่จะตามมา เพราะมันสนแต่คะแนนเสียงเพื่อได้มาซึ่งอำนาจเท่านั้น

แต่ กกต.ยุคนายอภิชาติและนางสดศรี เสือกตีความการหาเสียงแบบประชานิยมของพรรคเพื่อไทยว่า เป็นเพียงนโยบายพรรคไม่ใช่การซื้อเสียง

-----------------

กฎหมายเลือกตั้ง

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรา ๕๓ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใด

(๒) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม แก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด

(๓) ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
(๔) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
(๕) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด

ความผิดตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถือว่าเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจส่งเรื่องให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้

เป็นความผิดมีโทษจำคุก ๑ ปี – ๑๐ ปี และปรับ ๒๐,๐๐๐ บาท – ๒๐๐,๐๐๐ บาท
และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๑๐ ปี (มาตรา ๕๓ ประกอบมาตรา ๑๓๗)


----------------------

การหาเสียงที่ถูกต้องเป็นอย่างไร 

การหาเสียงต้องหาเสียงเรื่องนโยบายแก้ปัญหา ไม่ใช่บอกจะให้เงิน หรือให้สิ่งของแก่ประชาชน ที่ค่าเป็นรูปตัวเงินได้ เพราะนั่นเหมือนการซื้อเสียงล่วงหน้าด้วยภาษีชาติแท้ ๆ

เช่นการบอกจะลดภาษีรถคันแรกจะคืนให้สูงสุด 1 แสนบาทต่อคัน นี่ก็คือสัญญาว่าจะให้ ถือเป็นการซื้อเสียงรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

หรือ เช่นให้แท็บเล็ตเด็กป. 1 ก็คือสัญญาว่าจะให้ ถือเป็นการซื้อเสียงเช่นกันครับ เพราะเป็นการให้สิ่งของ

เหมือนอย่างในอดีตที่ ผู้สมัคร สส. สัญญาว่า ถ้าได้เป็น สส. จะเอางบมาสร้างถนนให้ชาวบ้าน เป็นต้น นี่ก็คือการซื้อเสียง ซึ่งผิด กม. เลือกตั้ง และเคยเอาผิดได้มาแล้วในอดีต

การหาเสียงต้องพูดเรื่องนโยบายในการแก้ปัญหา หรือมีนโยบายอะไรที่จะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขั้น โดยต้องไม่สัญญาว่าจะให้เงินหรือสิ่งของ ครับ

เพียงแค่ดูนโยบายของพรรคการเมือง ก็รู้ถึงคุณภาพของประชาชนในประเทศนั้นๆ แล้วว่า มีคุณภาพอย่างไร !!

หากไม่มีการปฏิรูปคณะกรรมการการเลือกตั้ง และการหาเสียงด้วยประชานิยมแบบผิด ๆ  

ต่อไปหากพรรคชั่วมันจะหาเสียงคราวหน้าว่า จะรับจำนำข้าวตันละ 2 หมื่นบาท ก็จะมีคนไทยหรือชาวนาไทยเห็นแก่ตัวเลือกพวกชั่วเข้ามาทำลายชาติอีกรอบ 

ดังนั้น กกต. ยุคนางสดศรี คือจุดเริ่มต้นของปัญหาหายนะของชาติทั้งมวล